ชวนหาคำตอบฟันคุดมีทุกคนไหม ต้องดูอย่างไรว่ามีฟันคุดหรือไม่
ฟันคุดเป็นปัญหาทางทันตกรรมที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่และวัยรุ่น แต่หลายคนอาจสงสัยว่า “ฟันคุดมีทุกคนไหม?” เพราะบางคนก็ไม่ทราบว่าตัวเองมีฟันคุดหรือไม่ เพราะบางครั้งฟันคุดก็ไม่ได้แสดงอาการใด ๆ ออกมา จนกว่าจะเริ่มมีปัญหา เช่น ปวดบวม หรือติดเชื้อ ทำให้หลายคนสงสัยว่าฟันคุดมีทุกคนไหม เพราะบางคนถึงขั้นไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองมีฟันคุด จนกว่าจะไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากประจำปี บทความนี้ Smile Seasons จะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟันคุด พร้อมวิธีสังเกตและตรวจสอบว่าฟันคุดมีทุกคนไหม เพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างถูกต้อง

ฟันคุด คืออะไร

ฟันคุดมีทุกคนไหม เป็นตำถามที่หลาย ๆ คนสงสัย และต้องการหาคำตอบ ฟันคุด คือ ฟันที่พยายามจะงอกขึ้น แต่ขึ้นไม่ได้ เพราะเอียงไปชนกับฟันซี่ข้างเคียง และมีพื้นที่กระดูกขากรรไกรไม่พอให้ฟันงอกขึ้นได้ โดยทั่วไปจะเป็นฟันกรามล่างซี่ในสุด ปกติฟันซี่นี้จะขึ้นในช่วงอายุ 16-25 ปี ซึ่งหากไม่ขึ้น ก็จะกลายเป็นฟันคุด ฟันคุดบางซี่จมอยู่ใต้กระดูกบางส่วน บางซี่อาจมองไม่เห็นเลย เพราะจมอยู่ใต้เหงือก ทำให้หลาย ๆ คนเกิดความสงสัยว่า “ฟันคุดมีทุกคนไหม” ซึ่งคำตอบคือ ฟันคุดไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ส่วนมากมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 16 ปี และส่วนใหญ่จะเกิดในฟันกรามล่างซี่ในสุด
ฟันคุดมีทุกคนไหม
ไม่ใช่ทุกคนจะมีฟันคุด เราพบว่ามีคนประมาณ 30% ที่ไม่มีฟันคุดเลย เนื่องมาจาก 2 เหตุผล คือฟันคุดไม่โผล่ขึ้นมาที่เหงือก ฟันคุดประเภทนี้จะฝังอยู่ใต้กระดูกหรือที่เรียกว่า impacted tooth ส่วนอีกเหตุผลคือไม่มีฟันคุดจริงๆ ซึ่งมักเกิดจากกรรมพันธุ์
เหตุผลที่บางคนมีฟันคุด
เมื่อทราบแล้วว่าฟันคุดมีทุกคนไหม ไปดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้บางคนมีฟันคุดเกิดจากอะไร ฟันคุดเกิดจากหลายปัจจัย โดยสาเหตุหลักคือพันธุกรรมที่ส่งผลต่อขนาดของขากรรไกรและขนาดของฟัน สำหรับผู้ที่มีขากรรไกรเล็กเกินไป ทำให้ไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับฟันกรามซี่ที่สาม นอกจากนี้ วิวัฒนาการของมนุษย์ที่ทำให้ขากรรไกรเล็กลง แต่จำนวนฟันยังคงเท่าเดิม ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การบาดเจ็บหรือการติดเชื้อในช่องปาก ก็อาจส่งผลให้ฟันขึ้นผิดตำแหน่งจนกลายเป็นฟันคุดได้เช่นกัน
เหตุผลที่บางคนไม่มี
ฟันคุดมีทุกคนไหม? สำหรับบางคนที่ไม่มีฟันคุดโผล่ขึ้นมา อาจเป็นเพราะมีขากรรไกรใหญ่พอที่จะรองรับฟันกรามซี่ที่สามได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นผลมาจากพันธุกรรม นอกจากนี้ บางคนอาจเกิดมาโดยไม่มีฟันกรามซี่ที่สามตั้งแต่แรก ซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า Hypodontia ในบางกรณี การได้รับการดูแลทันตกรรมตั้งแต่เด็ก เช่น การจัดฟัน อาจช่วยป้องกันการเกิดฟันคุดได้ ที่สำคัญ ปัจจัยด้านโภชนาการและสุขภาพช่องปากที่ดีก็อาจมีส่วนช่วยให้ฟันขึ้นได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
ฟันคุดมีกี่แบบ
ฟันคุดแบ่งออกตามลักษณะของฟันคุดที่ขึ้นภายในช่องปาก ดังนี้
- ฟันคุดชนิดล้มไปข้างหน้า มีลักษณะเอนไปด้านหน้าจนเบียดกับฟันซี่หน้า อาจเป็นฟันคุดโผล่พ้นเหงือก หรือยังถูกเหงือกปกคลุมอยู่ก็ได้
- ฟันคุดชนิดวางตัวในแนวราบ มีลักษณะเป็นแนวนอน ฝังตัวอยู่ในเหงือก หรือใต้แนวกระดูก ถือเป็นฟันคุดที่เอาออกยากที่สุด
- ฟันคุดชนิดตั้งตรง ฟันคุดโผล่พ้นเหงือกขึ้นมาได้บางส่วน โดยจะตั้งตรงเหมือนฟันซี่ปกติ ไม่เอียงไปดันฟันซี่ข้างเคียง ส่งผลกระทบน้อยกว่าฟันคุดแบบอื่น ๆ
- ฟันคุดชนิดล้มไปด้านหลัง มีลักษณะเอนไปทางด้านหลัง อาจเป็นฟันคุดโผล่พ้นเหงือก หรือยังฝังตัวอยู่ในเหงือก หรือใต้แนวกระดูกก็ได้
ฟันคุดจำเป็นต้องถอนไหม ต้องถอนเมื่อไร
โดยส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะแนะนำให้ถอน หรือผ่าฟันคุดออก เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่เกิดตามมา เช่น ฝันผุ ปวดฟัน ปวดเหงือก เหงือกอักเสบ เป็นต้น โดยหลังจากตรวจพบสามารเอาออกได้ทันที ไม่จำเป็นต้องรอให้เห็นฟันคุดโผล่ขึ้นมา
ฟันคุดแบบไหนต้องถอน แบบไหนต้องผ่า
ขึ้นอยู่กับว่า ฟันคุดที่พบมีลักษณะอย่างไร หากฟันคุดงอกพ้นเหงือกมาได้ จะใช้วิธีการถอนฟันคุดซี่นั้นออกแบบเดียวกับถอนฟันซี่อื่นๆ แต่ถ้าฟันคุดฝังตัวอยู่ในเหงือก มีเหงือกหนาปกคลุมอยู่ ทันตแพทย์มักจะใช้วิธีการผ่าแทน
ฟันคุดโผล่ขึ้นตรง ต้องถอนไหม
ฟันคุดขึ้นตรง อาจไม่ได้สร้างปัญหา เพราะไม่เบียดกับฟันซี่อื่นๆ ทำให้อาจไม่ต้องผ่าออก แต่อย่าลืมว่า ฟันคุดอยู่ภายบริเวณที่ทำความสะอาดได้ยาก หากปล่อยเอาไว้ เศษอาหารอาจสะสมอยู่ที่ช่องว่างฟันคุดและฟันซี่ข้างเคียง ทำให้ฟันผุและเกิดกลิ่นปากได้ ทันตแพทย์ส่วนใหญ่จึงแนะนำให้ถอนออกจะดีที่สุด
ผ่าฟันคุด เพื่ออะไร
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า การถอน หรือผ่าฟันคุดออกช่วยป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดตามมา ปัญหาที่ว่าจะมีอะไรบ้าง ตามไปดูพร้อมกัน
ป้องกันอันตรายจากเหงือกอักเสบ
เมื่อเกิดฟันคุดขึ้นแล้ว มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่บริเวณซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันซี่ที่ติดกัน ทำให้ทำความสะอาดได้ยาก ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่จะทำให้เหงือกเกิดการอักเสบ ปวด บวม จนร้ายแรงถึงขั้นเป็นหนองและลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆ เช่น ใต้คาง หรือใต้ลิ้นได้
ป้องกันอาการปวด
เนื่องจากฟันคุดเป็นฟันที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือก หรือโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน และมักเกิดขึ้นในตำแหน่งของฟันกรามด้านในสุด ทำให้เกิดแรงดันบริเวณขากรรไกร จนเกิดอาการปวดฟันขึ้นได้

ป้องกันการละลายตัวของกระดูกหุ้มรากฟัน
นอกจากแรงดันจากฟันคุดจะทำให้เกิดอาการปวดแล้ว แรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกที่หุ้มรากฟันถูกทำลายไป ถ้าหากเราผ่าหรือถอนฟันคุดออกช้าเกินไป กระดูกรอบรากฟันหรือรากฟันข้างเคียงอาจละลายตัว จนทำให้ฟันซี่นั้นตายได้
ป้องกันการเกิดถุงน้ำ
หากเราปล่อยฟันคุดทิ้งไว้นานเกินไป เนื้อเยื่อที่หุ้มอยู่รอบๆ ฟันที่คุดอาจจะขยายใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นถุงน้ำ ซึ่งหากถุงน้ำนี้โตขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้ใบหน้าบวม เอียงผิดรูปและส่งผลให้ขากรรไกรข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่งได้
ป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก
การที่ฟันคุดไม่สามารถขึ้นตรง และโผล่พ้นเหงือกขึ้นมาได้ จะทำให้เกิดแรงดันบริเวณขากรรไกรโดยรอบ ทำให้กระดูกขากรรไกรในบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งเมื่อเกิดการกระทบกระแทกหรือได้รับอุบัติเหตุ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ขากรรไกรบริเวณนั้น จะหักง่ายกว่าส่วนอื่นๆ
ช่วงอายุที่เหมาะกับการผ่าฟันคุดๆ
อายุ 18-25 ปี เนื่องจากเป็นช่วงที่กระดูกขากรรไกรและรากฟันยังมีพัฒนาการอยู่ รากฟันยังไม่ยาวพอ ส่วนกระดูกจะยืดหยุ่นและนิ่ม ทำให้ง่ายต่อการกรอกระดูกและตัดฟัน นอกจากนี้ การผ่าฟันคุดในช่วงอายุเท่านี้แผลจะหายเร็ว และพักฟื้นน้อยกว่าวัยอื่นๆ
ฟันคุดโผล่ครึ่งเดียวไม่เต็มซีกควรผ่าออกไหม
การตัดสินใจผ่าฟันคุดโผล่ครึ่งเดียวขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หากฟันคุดโผล่ขึ้นเอียงและไม่สามารถขึ้นได้เต็มซี่ ควรพิจารณาถอนหรือผ่าออก แต่ถ้าตำแหน่งตรงและมีพื้นที่เพียงพอ ฟันอาจขึ้นได้เต็มซี่ ระหว่างที่รอการตรวจจากทันตแพทย์ควรรักษาความสะอาดอย่างดีเพื่อป้องกันการอักเสบ ทั้งนี้ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อประเมินอาการในแต่ละคน
ผลกระทบและความเสี่ยงที่เกิดจากการมีฟันคุด
- เกิดกลิ่นปากและฟันผุ เนื่องจากการทำความสะอาดทำได้ยาก
- เหงือกอักเสบและติดเชื้อ อาจลุกลามเป็นอันตรายถึงชีวิต
- ทำให้ฟันเรียงตัวผิดปกติ เนื่องจากแรงดันจากฟันคุด
- เสี่ยงต่อการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอกในขากรรไกร
สังเกตอาการแบบไหนเป็นสัญญาญของฟันคุด
สัญญาณของการเกิดฟันคุดนั้นอาจไม่ชัดเจนหากฟันยังไม่โผล่พ้นเหงือก แต่อาการที่บ่งชี้ได้แก่ ปวดฟันบริเวณท้ายขากรรไกร เหงือกบวมแดงหรืออักเสบ ปวดศีรษะหรือขากรรไกร มีกลิ่นปาก หรือรู้สึกกดเจ็บเวลาเคี้ยวอาหาร บางรายอาจมีอาการบวมที่แก้มหรือลำคอ อ้าปากลำบาก หรือกลืนน้ำลายแล้วเจ็บ หากสงสัยว่ามีฟันคุด ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยด้วยการเอกซเรย์ เพื่อหาแนวทางในการรักษาต่อไป
อาการปวดฟันคุดเป็นแบบไหน
อาการปวดฟันคุดมักเป็นความเจ็บปวดตื้อๆ ที่ลึกในขากรรไกร อาจรู้สึกปวดร้าวไปถึงหู คอ หรือขมับ ความเจ็บปวดอาจรุนแรงขึ้นเมื่อเคี้ยวอาหารหรือสัมผัสบริเวณนั้น บางครั้งอาจมีอาการปวดเป็นจังหวะตามการเต้นของชีพจร โดยเฉพาะเมื่อมีการติดเชื้อร่วมด้วย
ถอนฟันคุดหน้าเปลี่ยนไหม
ความเข้าใจที่ว่าเมื่อถอนฟันคุด หรือผ่าฟันคุดแล้วหน้าจะเร็วเล็กลงนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด การถอนฟันคุดมีจุดประสงค์ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคทางทันตกรรมรวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
การผ่าฟันคุดเป็นหัตถการทางทันตกรรมที่มีความซับซ้อนไม่เท่ากัน ในบางกรณีที่ฟันคุดอยู่ในตำแหน่ง หรือเรียงตัวผิดปกติมาก ก็อาจทำให้การผ่าฟันคุดมีความยาก ต้องใช้ทั้งเวลาในการรักษา รวมถึงพักฟื้นนานหลายวัน คนไข้อาจรับประทานอาหารได้ไม่สะดวก ทำให้มีน้ำหนักลดบ้าง จึงเป็นที่มาของโครงหน้าดูเรียวขึ้น
รูปร่างของโครงหน้ามีปัจจัยสำคัญคือกระดูกขากรรไกร กล้ามเนื้อ และปริมาณไขมัน ซึ่งการผ่าฟันคุดไม่ได้ปรับ หรือแก้ไขปัจจัยดังกล่าว จึงไม่สามารถปรับรูปหน้า หรือกรามได้อย่างถาวร

การจัดฟันทำให้หน้าเรียวเล็กลงจริงหรือ
การจัดฟันในเด็กโดยเฉพาะในช่วงอายุ 12-16 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่กระดูกใบหน้า และขากรรไกรอยู่ในช่วงกำลังเจริญเติบโต สามารถทำให้สัดส่วนของโครงหน้าสมส่วนและสวยงามขึ้นได้ โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีความผิดปกติของการสบฟัน และรูปร่างของกระดูกขากรรไกร ก็จะเห็นผลชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากบุตรหลานของคุณอยู่ในช่วงวัยรุ่น และกำลังยากจัดฟัน นี่คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเข้ามาพบคุณหมอจัดฟัน เพื่อรับคำปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับในผู้ใหญ่สาเหตุที่ทำให้รูปหน้าเปลี่ยนไปหลังการจัดฟันมักมาจากการจัดฟันร่วมกับการถอนฟัน เพราะการถอนฟันออกไปทำให้เพิ่มพื้นที่การดึงฟันให้มาสบกันมากขึ้น หรือการดึงฟันล่างเข้า เพื่อทำให้กระดูกขากรรไกรดูยื่นน้อยลง ทำให้คางดูชัดเจนมากขึ้น ส่วนปากที่เคยอูมออกมาก็จะดูยุบลงตามฟันที่ถูกจัดระเบียบตามไปด้วย ทำให้ใบหน้าดูเหมือนจะเรียวขึ้นหรือดั้งโด่งขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ดีรูปร่างของกระดูกขากรรไกรจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากไม่ได้รับการผ่าตัด
ใครที่ถอนฟันคุด หรือจัดฟันแล้วมีโอกาสหน้าเปลี่ยน
สำหรับผู้ที่มีโอกาสจัดฟันแล้วหน้าเปลี่ยน มักจะอยู่ในกลุ่ม ดังต่อไปนี้
- ผู้ที่จัดฟันในช่วงอายุน้อย
ผู้ที่จัดฟันในขณะอายุน้อย หรือในช่วงอายุประมาณ 12-16 ปี จะมีโอกาสทำให้หน้าดูเล็กเรียวขึ้นมากกว่าการจัดฟันในวัยผู้ใหญ่ แต่ก็อาจช่วยได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- ผู้ที่มีปัญหาฟันหน้ายื่นจนทำให้ปากอูม
สำหรับคนที่มีปัญหาฟันหน้ายื่น จนส่งผลให้รูปปากอูมผิดปกติ ซึ่งหากทำการรักษาด้วยการจัดฟันแล้ว ปากก็จะยุบลง จนทำให้ใบหน้าดูเรียวและเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
- ผู้ที่มีปัญหาฟันซ้อนเก
ผู้ที่มีปัญหาฟันซ้อนหรือฟันเก คุณหมอมักจะแนะนำให้ถอนฟันร่วมกับการจัดฟัน ซึ่งจะทำให้ฟันเรียงตัวสวยเป็นระเบียบ เมื่อจัดฟันเสร็จจึงอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนทำให้ใบหน้าดูเรียวขึ้นได้
- ผู้ที่มีปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบน
ปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบนนั้นเป็นความผิดปกติในการเรียงตัวของฟันที่พบกันบ่อยๆ เมื่อรักษาจนฟันกลับมาสบกันเป็นปกติแล้ว ก็จะทำให้หน้าเรียว หรือเข้ารูปมากขึ้น
- มีความผิดปกติของการสบฟันมาก
สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของการสบฟันมากและต้องเข้ารับการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร การรักษาแบบนี้สามารถปรับรูปหน้าให้สมส่วนสวยงามขึ้นได้มาก รวมถึงทำให้ปัญหาในการบดเคี้ยวอาหารลดลงด้วย
สรุปฟันคุดมีทุกคนไหม
หลาย ๆ คนเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คงได้คำตอบแล้วว่า ฟันคุดมีทุกคนไหม จะเห็นได้ว่าฟันคุดไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และมีหลายรูปแบบที่แตกต่างกันไป การรักษาฟันคุดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ทั้งตำแหน่ง ทิศทาง และอาการที่เกิดขึ้น บางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องถอนออกหากฟันคุดไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่ควรได้รับการติดตามอย่างสม่ำเสมอจากทันตแพทย์
อย่างไรก็ตาม หากพบว่าฟันคุดของคุณเริ่มมีอาการผิดปกติ เช่น ปวด บวม หรือมีการติดเชื้อ ไม่ควรรอให้อาการรุนแรงขึ้น เพราะอาจนำมาซึ่งปัญหา หรือผลข้างเคียงต่างๆ ที่น่าปวดหัวตามมาได้ คุณควรเข้ารับการรักษาโดยเร็ว อย่าปล่อยทิ้งไว้ หากคุณมีคำถามสงสัย หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราเพื่อทำนัดเข้ามาปรึกษากับทันตแพทย์ของ Smile Seasons ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
- Wisdom teeth., Available from: https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/wisdom-teeth
- Wisdom Teeth: Why Do We Have Them Anyway?., Available from: https://my.clevelandclinic.org/health/body/23223-wisdom-teeth
- What You Should Know About Wisdom Teeth., Available from: https://www.webmd.com/oral-health/ss/slideshow-wisdom-teeth
- What are Wisdom Teeth?., Available from: https://www.news-medical.net/health/What-are-Wisdom-Teeth.aspx
ตรวจบทความโดย

ทพญ.เบญจพร วรปาณิ
ประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ม.มหิดล
ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ (เกียรตินิยมอันดับ 2)
รีวิวจากคนไข้ของเรา



โปรโมชั่นอื่นๆ

จัดฟันคืออะไร มีกี่แบบ รวมข้อมูลการดัดฟันที่ต้องรู้
ดูแลโดยทีมคุณหมอที่มีประสบการณ์เปลี่ยนแปลงรอยยิ้มให้กับคนไข้หลายพันคน – โปรโมชั่นมีทั้งจัดฟันครั้งแรก กับรอบสอง ก้าวแรกแห่งรอยยิ้มที่สวยงามเริ่มต้นที่นี่คลิกเลย

รีเทนเนอร์ ราคาเท่าไหร่ คืออะไร จำเป็นต้องใส่ไหม
รีเทนเนอร์ ราคาเท่าไหร่ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร มีกี่ประเภท จำเป็นต้องใส่ไหม ต้องใส่เป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ ถ้าไม่ใส่จะเป็นยังไง

ฟอกสีฟัน ราคาเท่าไหร่ ฟอกฟันขาวได้จริงไหม มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
ฟอกสีฟัน ฟอกฟันขาว ราคาเท่าไหร่ ช่วยให้ฟันขาวได้จริงไหม ฟันขาวขึ้นได้ขนาดไหน มีแบบไหนให้เลือกบ้าง

จัดฟันราคาเท่าไหร่ มีแบบไหนบ้าง รวมรายละเอียดค่าใช้จ่ายในทุกขั้นตอน
จัดฟันราคาเท่าไหร่ มีประเภทไหนบ้าง รายละเอียดค่าใช้จ่ายแบบแจกแจงเป็นอย่างไร แบ่งออกเป็นทั้งหมดกี่ช่วง

รีเทนเนอร์ (retainer) คืออะไร รวมความรู้เกี่ยวกับรีเทนเนอร์ที่ทุกคนต้องรู้ จากทันตแพทย์
รีเทนเนอร์ ราคาพิเศษ 2,999 สีเยอะ ลายเพียบ หรือจะออกแบบเองก็ได้ ใส่ Glitter เลือกสียางด้านหน้าได้ มีทั้งแบบเหล็ก และแบบใส – ดูแลโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อ่านรายละเอียดที่นี่

ทำฟันเบิกประกันสังคมกับเรา ลุ้นรับ iPhone 14 PRO!
ใกล้สิ้นปีแล้ว Smile Seasons ชวนคุณมาขูดหินปูน เบิกประกันสังคมแบบไม่ต้องสำรองจ่าย แถมลุ้นรับ iPhone 14 PRO – หมดเขต 30 พ.ย. 65 – อย่ารอช้า! จองคิวคุณหมอได้เลย