ถอนฟัน เจ็บไหม?

ถอนฟัน เจ็บไหม? ดูแลตัวเองหลังถอนฟันอย่างไร?

คุณกำลังประสบปัญหาปวดฟันอยู่หรือเปล่า? หรือกำลังสงสัยว่า ถอนฟัน เจ็บไหม บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักการถอนฟันให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทั้งประเภทของการถอนฟัน เหตุผลต่างๆ ว่าทำไมฟันของคุณต้องถูกถอน ขั้นตอนการถอนว่าคุณหมอจะทำอะไรบ้าง ถอนฟัน ราคาเท่าไหร่ รวมทั้งวิธีการปฏิบัติตัวหลังถอนฟัน และการดูแลแผลถอนฟันให้ถูกวิธี

การถอนฟัน เป็นหัตถการทางทันตกรรมที่มีความเจ็บปวด และสร้างความกังวลให้กับคนไข้อยู่ไม่น้อย การรับทราบข้อมูล และขั้นตอนต่างๆ จะช่วยให้คุณลดความกังวลลงได้ และทำให้ประสบการณ์ในการเข้ารับการถอนฟันไปเป็นด้วยความราบรื่น และรู้สึกสบายที่สุด – เอาหล่ะ พร้อมแล้วเริ่มอ่านกันเลย!

สารบัญเนื้อหา

ถอนฟัน คืออะไร

ถอนฟัน คือ การนำฟันออกจากเบ้าในกระดูกขากรรไกร ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกสุดท้ายของคุณหมอ เมื่อไม่สามารถเก็บฟันธรรมชาติไว้ใช้งานได้ การถอนฟันมีทั้งแบบธรรมดา ซึ่งใช้ในถอนซี่ที่โผล่พ้นเหงือกมาแล้ว และการถอนฟันรวมกับการผ่าตัด หรือที่เราคุ้นชินกับคำว่า ผ่าฟันคุด โดยนับเป็นหนึ่งในทันตกรรมที่หลายคนต้องเคยทำสักครั้งหนึ่งของชีวิต


การถอนฟันต้องทำโดยทันตแพทย์ทั่วไป หรือศัลยแพทย์ช่องปาก โดยจะฉีดยาชาบริเวณรอบฟัน เพื่อลดความเจ็บปวด และความรู้สึกไม่สบาย หลังเสร็จแล้วคุณจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลแผลถอนฟัน และการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน

ถอนฟันกราม คืออะไร ต่างจากถอนฟันปกติไหม

ถอนฟันกราม คือ การนำฟันที่งอกอยู่ท้ายสุดของแถวฟันออก โดยฟันกรามจะมีทั้งแถวบนและแถวล่าง มีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่าฟันซี่อื่น เมื่อถอนไปแล้วจะไม่มีการขึ้นใหม่มาทดแทนซี่ฟันเดิม ส่วนขั้นตอนการถอนฟันกรามไม่ได้แตกต่างจากการถอนฟันซี่อื่น


หากฟันกรามงอกมาเบียดฟันซี่ข้างเคียง หรืองอกออกมาได้แค่บางส่วน มีส่วนที่ติดอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อนหรือกระดูกขากรรไกร เราจะเรียกฟันกรามดังกล่าวว่า ฟันคุด ทันตแพทย์ต้องทำการผ่าออก หรือผ่าฟันคุด ซึ่งขั้นตอนมีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าการถอนฟันแบบธรรมดา

อาการแบบใดที่ทำให้ต้องถอนฟัน

ฟันธรรมชาติ เป็นฟันชุดที่ดีที่สุดที่คุณจะมีได้ ดังนั้นคุณหมอจะพยายามใช้หัตถการทางทันตกรรมอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการถอนฟัน และช่วยให้คุณสามารถเก็บฟันธรรมชาติไว้ใช้งานได้ อย่างไรก็ตามในบางกรณีคุณหมอก็มีความจำเป็นต้องถอนฟันของคุณออก ได้แก่

ฟันคุด

ฟันผุ

ฟันที่ผุ หรือติดเชื้อมากเกินกว่าจะรักษาด้วยการ อุดฟัน ครอบฟัน หรือ รักษารากฟัน เป็นหนึ่งในเหตุผลที่คุณจำเป็นต้องถอนฟัน

ฟันซ้อน

ฟันซ้อน

เมื่อขากรรไกรมีพื้นที่ไม่เพียงพอสำหรับฟันทุกซี่ของคุณ ก็อาจส่งผลให้เกิดฟันซ้อนได้ หากเข้ารับการ จัดฟัน ในบางกรณีคุณอาจต้องถอนฟันเพื่อให้ฟันที่เหลือมีพื้นที่พอสำหรับการเรียงฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นระเบียบและสวยงาม
ฟันคุด

ฟันคุด

ฟันกรามที่ขึ้นไม่เต็มที่ อาจต้องถอนออกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือเนื้อเยื่อโดยรอบ

อุบัติเหตุ

อุบัติเหตุ

กรณีเกิดอุบัติเหตุทำให้ฟันหักจนไม่สามารถบูรณะขึ้นมาใหม่ได้

ฟันที่มีพยาธิสภาพ

ฟันที่มีพยาธิสภาพ

เช่น มีถุงน้ำ (Cyst) หรือเนื้องอก

ก่อนถอนฟัน เตรียมตัวอย่างไรดี

  • แจ้งคุณหมอเกี่ยวกับโรคประจำตัว รวมทั้งยาทั้งหมดที่รับประทานอยู่ โดยเฉพาะยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น Aspirin, Clopidogrel (Plavix), Warfarin เป็นต้น
  • หากมีโรคเกี่ยวลิ้นหัวใจ หรือเคยเปลี่ยนลิ้นหัวใจมาก่อน คุณหมออาจแนะนำให้รับประทานยาปฎิชีวนะ (Amoxicillin) ก่อนเข้ารับการถอนฟัน – กรุณาปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด
  • ไม่จำเป็นต้องหยุดยาประจำตัวก่อนถอนฟัน อย่างไรก็ตามในบางกรณี ทันตแพทย์อาจส่งปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณเพื่อพิจารณาหยุดยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด
  • หากมีความดันโลหิต หรือระดับน้ำตาลสูง และยังไม่สามารถควบคุมได้ ทันตแพทย์อาจเลื่อนการถอนฟันออกไปก่อน และส่งตัวปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณเพื่อปรับยาให้สามารถควบคุมโรคได้ดีก่อนเข้ารับการถอนฟัน
  • วางแผนการเดินทางกลับไปพักผ่อนที่บ้านหลังถอนฟัน หากคุณมีครอบครัว หรือเพื่อนมาขับรถรับส่งให้ก็จะดีมาก
  • สวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ มาในวันนัดถอดฟัน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากไม่ได้รับคำแนะนำให้งดอาหาร คุณสามารถทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรบ้วนปาก แปรงฟันให้เรียบร้อยก่อนถึงเวลานัด
  • หากเป็นไปได้ แนะนำให้ลาหยุดหลังถอนฟันสัก 1-2 วันก่อนกลับไปทำงาน หรือลองให้เราหาคิวนัดคุณหมอในช่วงวันศุกร์ก็เป็นไอเดียที่ดี
  • ซื้อเจลประคบเย็น พร้อมเตรียมผ้าขนหนูเอาไว้ประคบเย็น
  • เตรียมของที่รับประทานง่ายไว้ในตู้เย็น เช่น ซุป ข้าวต้ม โจ๊ก โยเกิร์ต

ขั้นตอนการถอนฟัน

ขั้นตอนการถอนฟัน
  1. ก่อนถอนฟันจะต้องวัดความดันโลหิต ซักประวัติเพิ่มเติม เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม
  2. คุณหมอฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่ต้องการจะถอน และรอประมาณ 5-10 นาที ให้ยาชาออกฤทธิ์
  3. เริ่มการถอนฟัน โดยใช้เครื่องมือพิเศษยกฟันขึ้น เนื่องจากฟันถูกห่อหุ้มอย่างแน่นหนาในเบ้ากระดูก จากนั้นจะโยกไปมาเพื่อให้มีพื้นที่ในการนำฟันออก  
  4. แม้จะได้รับยาชาแต่คุณอาจรู้สึกตึงๆ ได้เล็กน้อยในขั้นตอนนี้ แต่หากคุณรู้สึกเจ็บ คุณสามารถบอกกับคุณหมอได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณอาจต้องได้รับการฉีดยาชาเพิ่ม
  5. เมื่อฟันถูกดึงออกไปแล้ว คุณหมอจะทำความสะอาดเบ้าฟัน ตกแต่งขอบกระดูกที่แหลมคม หากแผลมีขนาดเล็กคุณอาจไม่ต้องเย็บแผลก็ได้
  6. คุณหมอจะวางผ้าก๊อซให้กัดเพื่อห้ามเลือด และให้น้ำแข็งหรือเจลเย็นสำหรับประคบที่แก้มเพื่อลดอาการบวม
  7. คุณหมอจะให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว และการดูแลแผลถอนฟัน

ข้อปฏิบัติหลังถอนฟัน

การดูแลแผลถอนฟัน

  • กัดผ้าก๊อซอย่างน้อย 45 นาที หากยังมีเลือดออกคุณสามารถเปลี่ยนผ้าก๊อซอันใหม่แล้วกัดต่ออีก 30-45 นาที
  • หากมีน้ำลาย หรือเลือด ระหว่างกัดก๊อซ ให้กลืนลงคอ อย่าบ้วนออก
  • ห้ามรบกวนแผล ห้ามใช้ลิ้นดุนแผล ไม่ควรดูดน้ำลายหรือเลือดจากผ้าก๊อซ
  • หากมีลิ่มเลือดปกคลุมด้านบนแผล ห้ามบ้วน หรือหยิบออก เพราะอาจทำให้เลือดออกซ้ำได้

ประคบเย็นลดอาการบวม

  • สามารถใช้เจลเย็น หรือน้ำแข็งห่อผ้าชุบน้ำหมาดๆ ประคบที่ด้านนอกของแก้มฝั่งที่ถอนฟันเพื่อลดอาการบวม
  • เปลี่ยนเจล หรือน้ำแข็งทุก 15 นาที และทำต่อเนื่องประมาณ 24 ชม.
  • หลัง 24 ชม. หากมีรอยช้ำ หรือยังปวดตึงอยู่ สามารถประคบอุ่นต่อได้ (ห้ามใช้น้ำเดือด หรือประคบถุงอุ่นโดยตรงกับผิวแก้ม ให้ห่อผ้าทุกครั้ง)

การดูแลความสะอาด

  • หากไม่มีเลือดออก คุณสามารถแปรงฟันซี่อื่นๆ ได้ แต่หลีกเลี่ยงบริเวณแผล
  • หลัง 24 ชม. เป็นต้นไป สามารถบ้วนปากได้ โดยผสมเกลือครึ่งช้อนชากับน้ำอุ่น 1 แก้ว
  • งดการใช้น้ำยาบ้วนปากในช่วงนี้

อาหาร

  • เลือกรับประทานอาหารที่ทานง่ายในช่วง 2-3 วันแรก
  • ควรดื่มน้ำปริมาณมากขึ้น (อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน)
  • เลี่ยงการใช้หลอดดูดน้ำใน 24 ชม. แรก

คำแนะนำอื่นๆ

  • หากมีอาการปวด สามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น Paracetamol หรือ ibuprofen ได้ (กรุณาตรวจสอบประวัติแพ้ยาของคุณให้ดีก่อน)
  • งดออกกำลังกายอย่างน้อย 3-5 วัน (เนื่องจากคุณรับประทานอาหารได้น้อย คุณจึงได้รับแคลอรี่น้อยกว่าปกติ)
  • งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 สัปดาห์ เนื่องจากรบกวนกระบวนการหายของแผล
  • แก้ไขริมฝีปากแห้งด้วย Lips Balm หรือ Moisture
  • มาพบคุณหมอตามนัด

ปัญหาที่พบได้บ่อยภายหลังการถอนฟัน

การถอนฟัน ถือเป็นหัตถการทางทันตกรรมที่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้ ปัจจัยเช่น ฟันมีความซับซ้อนอยู่ในตำแหน่งลึกทำงานยาก มีพยาธิสภาพอย่างอื่นเช่น Cyst ก้อนเนื้อ หรือผู้ป่วยมีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด จะเพิ่มโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงตามมา

คุณหมอได้รบรวมปัญหาพบบ่อยที่คุณอาจเจอได้หลังจากถอนฟัน หากคุณสงสัยว่าคุณกำลังประสบปัญหาเหล่านี้ กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราในทันที

ปัญหาเลือดออก (Hemorrhage)

1. ปัญหาเลือดออก (Hemorrhage)

  • หลังถอนฟันเป็นปกติที่คุณจะมีเลือดออกได้ – เราแนะนำให้คุณกัดผ้าก๊อซ และสามารถเปลี่ยนได้เรื่อยๆ ทุก 45-60 นาที
  • อย่างไรก็ตามเลือดควรจะออกลดลงเรื่อยๆ และหยุดภายในเวลาไม่เกิน 6 ชม.
  • หากคุณมีเลือดออกปริมาณมาก หรือเลือดออกไม่หยุดหลัง 6 ชม. หรือมีอาการหน้ามืด เหงื่อแตก ใจสั่น เป็นลม กรุณารีบติดต่อเจ้าหน้าที่ของเรา

2. การติดเชื้อหลังถอนฟัน (Post operative infection)

  • การติดเชื้อมักเกิดขึ้นในวันที่ 3-4 หลังจากถอนฟันไปแล้ว อาการประกอบด้วย มีไข้ ปวดบวมแดงร้อนบริเวณแก้มด้านที่ถอนฟัน
  • หากมีการติดเชื้อคุณอาจต้องรับประทานยาปฎิชีวนะ และนัดติดตามอาการกับคุณหมออย่างใกล้ชิด
กระดูกเบ้าฟันอักเสบ (Dry Socket)

3. กระดูกเบ้าฟันอักเสบ (Dry Socket)

  • ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดที่ก่อตัวด้านบนแผล หลุดหรือละลายออกเร็วเกินไป ทำให้ไม่มีอะไรปกคลุมเบ้ากระดูกและเส้นประสาทด้านล่าง
  • Dry Socket มักเกิดในวันที่ 3-4 หลังจากถอนฟัน อาการคือมีปวดมาก อาจปวดร้าวขึ้นศีรษะ หรือมีกลิ่นปากที่เหม็นรุนแรง

4. อ้าปากได้จำกัด (Trismus)

  • อาการอ้าปากได้จำกัดเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยว มักพบในการถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด หรือมีการฉีดยาชาบล๊อคเส้นประสาทส่วนปลายที่ขากรรไกรเพื่อลดความเจ็บปวดระหว่างถอนฟัน
  • การรักษาคือการกายภาพบำบัด ร่วมกับการใช้น้ำอุ่นประคบกล้ามเนื้อด้านนอก และอมน้ำเกลืออุ่นบ่อยๆ หากมีการติดเชื้อร่วมด้วย คุณอาจต้องรับประทานยาปฎิชีวนะเพิ่มเติม

5. อาการชา

  • เส้นประสาทส่วนปลายอาจได้รับความเสียหายในระหว่างการถอนฟัน ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการชาตามที่ต่างๆ เช่น ริมฝีปาก ลิ้น หรือ คาง
  • อาการชาหลังถอนฟันเป็นภาวะที่พบได้น้อย และมักเป็นอยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น 

ถอนฟัน ราคาเท่าไหร่

ราคาถอนฟันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้

  • ตำแหน่งของฟัน และความยากในการถอนฟัน
  • ความเชี่ยวชาญของทันตแพทย์ที่ทำการถอนฟันให้กับคุณ โดยปกติทันตแพทย์ทั่วไปก็สามารถถอนฟันให้คุณได้ แต่กรณีที่การรักษามีความซับซ้อนสูง คุณอาจได้รับการถอนฟันโดยศัลยแพทย์ช่องปากซึ่งราคาถอนฟันก็จะสูงขึ้น
  • ประเภทของการถอนฟัน – การผ่าฟันคุดซึ่งยังไม่โผล่พ้นเหงือก คุณหมอจะต้องเปิดเหงือกก่อนจะถอนฟันออกมาได้ จึงมีความซับซ้อน และใช้เวลาในการรักษามากกว่า
    หากคุณมีสิทธิ ประกันสังคมทันตกรรม และยังไม่ได้ใช้สิทธิในปีนี้ คุณสามารถเบิกค่าถอนฟันได้ 900 บ. โดยไม่ต้องสำรองจ่าย 

กลุ่มโรคที่อาจต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนถอนฟัน

ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบดังรายการข้างล่าง อาจมีความจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนจึงจะสามารถถอนฟันได้

  • ความดันโลหิตสูง – ความดันที่สูงมากอาจทำให้เลือดออกหยุดยาก และเป็นอันตรายกับคุณได้  หากคุณมีความดันโลหิตที่ยังควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่ได้ คุณหมออาจเลื่อนการถอนฟันของคุณออกไปก่อน
  • เบาหวาน – น้ำตาลที่สูงจะรบกวนกระบวนการหายของแผลหลังจากถอนฟันเสร็จ นอกจากนั้นยังเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อตามมาอีกด้วย
  • โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ – หัตถการทางทันตกรรมสามารถทำให้แบคทีเรียเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ เปลี่ยนลิ้นหัวใจ หรือเคยมีประวัติการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลิ้นหัวใจมาก่อน (Infective Endocarditis) มีความเสี่ยงกับการติดเชื้อซ้ำ กรณีแบบนี้คุณหมอจะแนะนำให้คุณรับประทานยาปฎิชีวนะก่อนเริ่มทำหัตถการ
  • ตั้งครรภ์ – หญิงตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนสุดท้าย อาจจะนอนบนเตียงทำฟันได้ลำบาก คุณหมอจะพิจารณาความเร่งด่วน หากยังไม่จำเป็นจริงๆ หรือสามารถรอได้ คุณหมอจะแนะนำให้คลอดเสร็จเรียบร้อยก่อนมาถอนฟัน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการถอนฟัน

ไม่ต้องกังวล ก่อนเริ่มถอนฟันคุณหมอจะให้ยาชา คุณจะรู้สึกตึงเล็กน้อยระหว่างทำการถอนฟันเท่านั้น
หากมีสิทธิประกันสังคม คุณสามารถเบิกค่าถอนฟันได้ 900 บาทโดยไม่ต้องสำรองจ่าย โดยในปีนั้นคุณต้องยังไม่ได้ใช้สิทธิเบิกค่า ทำฟันประกันสังคม มาก่อน หากมีค่าใช้จ่ายที่เกินกว่า 900 บาท คุณสามารถชำระโดยตรงกับสถานพยาบาลที่เข้ารับการถอนฟัน

ปวดฟันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่น คลองรากฟันอักเสบติดเชื้อ เหงือกอักเสบ หรือฟันผุ ซึ่งมีการรักษาที่แตกต่างกัน และสามารถกำจัดอาการปวดฟันให้หายได้ หากคุณมีอาการปวดฟันเราแนะนำให้คุณเข้ามาพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุจะเป็นการดีที่สุด

ในช่วง 4-6 ชม. แรกคุณอาจมีเลือดออกได้ คุณต้องกัดผ้าก็อซให้แน่นเป็นเวลา 45-60 นาที และเปลี่ยนไปเรื่อยๆ หลังจาก 6-8 ชม. หากคุณยังมีเลือดออกปริมาณมาก หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น แน่นหน้าอก เหงื่อแตก ตัวเย็น หน้ามืด หรือเป็นลม คุณควรติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราทันที

แผลของคุณจะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายภายในเวลบา 7-14 วันขึ้นกับขนาด และตำแหน่งของฟันซี่ที่ถอน
หลังยาชาหมดฤทธิ์ ถ้าไม่มีเลือดออก คุณสามารถรับประทานอาหารได้ทันทีโดยใช้ฟันฝั่งตรงข้ามเคี้ยวอาหาร  คุณควรรออย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะเริ่มกลับไปเคี้ยวสองฝั่งตามปกติ
หากฟันกรามซี่ในสุดไม่โผล่พ้นเหงือกมาทั้งซี่ เราจะเรียกว่าฟันคุด การถอนฟันคุด หรือการผ่าฟันคุด เป็นหัตถการที่มีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าการถอนฟันแบบธรรมดา อย่างไรก็ตามหากมีการวางแผนเตรียมตัวที่ดี และได้รับการดูแลจากคุณหมอที่มีประสบการณ์ การถอดหรือผ่าฟันคุดค่อนข้างปลอดภัย และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อย
เราไม่แนะนำให้คุณถอนฟันเองถึงแม้ฟันจะโยกก็ตาม ฟันที่หลุดออกอาจตกลงไปในทางเดินหายใจ คุณอาจไม่สามารถจัดการกับเลือดที่ออกได้ และยังมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บต่อฟันหรือเนื้อเยื่อข้างเคียง
คุณหมอแนะนำให้าหยุดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เป็นเวลา 7-10 วัน เพื่อไม่เป็นการไปรบกวนกระบวนหายของแผนถอนฟัน
คุณควรหลีกเลี่ยงการดูดเครื่องดื่มด้วยหลอด อย่างน้อย 7 วัน เหตุผลที่คุณหมอไม่อยากให้คุณใช้หลอดเพราะอาจทำให้ลิ่มเลือดที่ปกคลุมอยู่ในบริเวณแผลผ่าตัดนั้นหลุดออกไป ในช่วง 24 ชม.แรกลิ่มเลือดจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้เลือดหยุดไหล หากหลุดหรือถูกกำจัด คุณอาจมีเลือดออกจากบริเวณแผลถอนฟันได้ ในเวลาต่อมาลิ่มเลือดจะมีประโยชน์มากต่อกระบวนการหายของแผล แลหะหากหลุดออกไป อาจทำให้เกิดภาวะ Dry Socket หรือเบ้าฟันอักเสบได้

หากไม่มีปัญหาสุขภาพใดๆ ร่างกายแข็งแรงปกติ สามารถถอนฟันกราม 2 ซี่ พร้อมกันได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์

โดยปกติแล้วฟันจะเคลื่อนที่ตลอดชีวิต หากถอนฟันกรามแล้วมีช่องว่าง อาจทำให้ฟันข้างๆ เคลื่อนที่และล้มได้ ส่วนใหญ่จึงต้องใส่ฟันปลอมหลังถอนฟันกราม หรือถอดทั้งฟันซี่ด้านบนและด้านล่างที่เป็นคู่สบกัน

ถอนฟัน ราคาเป็นมิตร กับคลินิกทันตกรรม Smile Seasons

คุณกำลังมีปัญหากับฟันของคุณ แล้วคิดว่าอาจต้องถอนฟันอยู่หรือเปล่า? ที่ Smile Seasons เรามีคุณหมอที่เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำแนะนำ และถอนฟันให้คุณอย่างปลอดภัย และไม่เจ็บอย่างที่คุณคิด คลินิกของเราเพียบพร้อมด้วยเครื่องมือทางทันตกรรมที่ทันสมัย และสะอาดผ่านการฆ่าเชื้อตามมาตรฐาน ด้วยประสบการณ์ของเรา คุณจึงมั่นใจได้ว่าการถอนฟัน และการฟื้นตัวของคุณจะเป็นไปอย่างราบรื่น
 
อย่ารอช้า นัดหมายปรึกษากับคุณหมอของเราวันนี้ และดูว่าการถอนฟันคือทางออกที่เหมาะสมสำหรับคุณหรือไม่ ไว้วางใจให้ Smile Seasons คืนความมั่นใจและรอยยิ้มที่สวยงามให้กับคุณ โทรหาเราที่ 02-114-3274 หรือ LINE @smileseasons.dc
อ้างอิง

บทความโดย

Picture of ทพญ.เบญจพร วรปาณิ

ทพญ.เบญจพร วรปาณิ

ประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ม.มหิดล
ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ (เกียรตินิยมอันดับ 2)

อยากถอนฟัน? ลงทะเบียนกับเรา

ถอนฟันกับ Smile Seasons

กรอกรายละเอียดและรอการติดต่อจากเจ้าหน้าที่

รีวิวจากคนไข้ของเรา

Affordable price. Easy to book the appointment. Nearby the skytrain, easy to commute.
Napassorn Thammaviwatnukoon Avatar
Napassorn Thammaviwatnukoon
16 Dec 2023
Love❤️ Dr. Pinmuk Supachaiyakit! The dentist Pinmuk is always so kind, professional, courteous and very informative. The front desk staffs were welcoming and helpful. The dental office was nice and clean. Thanks for thanking care of me and my teeth. I highly recommend Smile Seasons Clinic.
Kanyarat Chotkeattikhun Avatar
Kanyarat Chotkeattikhun
01 Dec 2023
Love❤️ Dr. Pinmuk Supachaiyakit! The dentist Pinmuk is always so kind, professional, courteous and very informative. The front desk staffs were welcoming and helpful. The dental office was nice and clean. Thanks for thanking care of me and my teeth. I highly recommend Smile Seasons Clinic.
Kanyarat Chotkeattikhun Avatar
Kanyarat Chotkeattikhun
01 Dec 2023
The dentists at this clinic are not only skilled but also genuinely caring. During my appointment with Dr. Kanoksiri, I received exceptionally thoughtful treatment and clear, helpful recommendations.
Kanokphol Pansailom Avatar
Kanokphol Pansailom
01 Dec 2023

โปรโมชั่นอื่นๆ

สาเหตุหลักของการเกิดคอฟันสึก

สาเหตุหลักของการเกิดคอฟันสึก พร้อมวิธีรักษา

สาเหตุหลักของการเกิดคอฟันสึก พร้อมวิธีรักษา คอฟันสึก คือ ปัญหาที่หลายคนอาจมองข้าม แต่ส่งผลต่อความมั่นใจในการยิ้มและสุขภาพของช่องปากในระยะยาวเป็นอย่างมาก ซึ่งจะสามารถสังเกตได้จากรอยสึกบริเวณคอฟันที่ทำให้เหงือกดูร่น ร่วมกับมีอาการเสียวฟัน และในบางรายก็อาจส่งผลให้เคี้ยวอาหารได้ยากขึ้นอีกด้วย บทความนี้ Smile Seasons เลยจะพาคุณไปทำความเข้าใจถึงสาเหตุหลักของการเกิดคอฟันสึก พร้อมทั้งแนะนำวิธีการดูแลและรักษา เพื่อให้รอยยิ้มที่สวยงามและสุขภาพช่องปากที่ดีคงอยู่กับคุณได้อย่างยาวนาน   คอฟันสึกคืออะไร คอฟันสึก มีชื่อเรียกหลายชื่อ ขึ้้นอยู่กับสาเหตุ (Abrasion, Erosion, Abfraction) เป็นภาวะที่ผิวเคลือบฟันบริเวณคอฟัน หรือบริเวณรอยต่อระหว่างตัวฟัน

Read More »
ปัญหาฟันสึก

การดูแลตัวเองเมื่อมีปัญหาฟันสึก

การดูแลตัวเองเมื่อมีปัญหาฟันสึก   ฟันสึกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดจากความเสื่อมสภาพของสารเคลือบฟัน จนทำให้เห็นเนื้อฟันได้มากขึ้น จึงเกิดปัญหาฟันผุ ฝันแตก และมีอาการเสียวฟันตามมาได้ แต่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะฟันสึกกร่อนเป็นปัญหาที่สามารถรักษาได้ โดยฟันของคุณยังคงแข็งแรง และใช้งานได้ตามปกติ เพียงแค่ให้ความสำคัญกับวิธีการดูแลรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาฟันสึกนั้นลุกลามรุนแรงไปมากกว่าเดิม ซึ่งจะมีวิธีการดูแลรักษายังไงได้บ้างนั้น ไปดูกันเลย! ลักษณะของปัญหาฟันสึก สำหรับลักษณะของฟันที่จัดได้ว่ามีปัญหาฟันสึก สามารถสังเกตได้จากรูปทรงและผิวสัมผัสของฟันที่จะมีความเปลี่ยนแปลง แตกต่างไปจากฟันปกติที่มีสุขภาพแข็งแรง ดังนี้ ฟันสั้นลง หรือมีรูปร่างแปลกไปเมื่อเทียบกับฟันซี่อื่น ๆ รอบข้าง

Read More »
วิธีรักษาฟันกรามแตก

วิธีรักษาฟันกรามแตก ก่อนสายเกินแก้

วิธีรักษาฟันกรามแตก ก่อนสายเกินแก้ ฟันกราม เป็นฝันที่ทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด แต่หลายคนอาจต้องประสบกับปัญหาฟันกรามแตก จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การเคี้ยวของแข็ง ฟันสึกหรอ หรืออุบัติเหตุ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจำเป็นที่จะต้องรักษาและแก้ไขทันที เพราะฟันกรามที่แตกเสียหายหรือฟันกรามแตกเป็นโพรง สามารถก่อให้เกิดปัญหาทางทันตกรรมอื่นๆ มากมาย และในบางโอกาสอาจทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้   ฟันกรามคืออะไร ทำหน้าที่อะไรบ้าง ฟันกราม คือ ฟันซี่ใหญ่ที่อยู่ลึกเข้าไปด้านในสุดของช่องปาก มีลักษณะผิวเรียบแต่ด้านบดเคี้ยวจะมีปุ่มนูนยื่นออกมาเล็กน้อย ทำหน้าที่หลักในการช่วยบดเคี้ยวอาหาร และช่วยให้การย่อยอาหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Read More »
ปากแห้งเกิดจากอะไร-พร้อมแนะนำวิธีแก้

ปากแห้งเกิดจากอะไร พร้อมแชร์วิธีแก้ ก่อนเกิดปัญหาช่องปาก

ปากแห้งเกิดจากอะไร พร้อมแชร์วิธีแก้ ก่อนเกิดปัญหาช่องปาก   ปัญหาปากแห้งอย่าคิดว่าเรื่องเล็ก เพราะอาการปากแห้ง ปากลอก หรือขอบปากแห้ง เป็นสัญญาณอันตรายที่เตือนให้เรารับรู้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายนั่นเอง ซึ่งอาการปากแห้งสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการ ทั้งจากระบบอวัยวะภายใน และพฤติกรรมการใช้ชีวิต ถ้าอยากรู้ว่าปากลอกเกิดจากอะไรกันแน่ มาดูสาเหตุและวิธีแก้ไขไปพร้อมกันได้เลย   สาเหตุที่ทำให้ปากแห้ง ปากแห้งเป็นอาการที่หลาย ๆ คนเคยเจอ อาการนี้อาจดูเหมือนเรื่องเล็กน้อย แต่จริง ๆ แล้วหากปล่อยให้ปากแห้งเรื้อรังสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้มากกว่าที่คิด นอกจากความรู้สึกไม่สบายในช่องปากแล้ว ปากแห้งยังอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาสุขภาพ

Read More »
ขี้ฟัน ภัยร้ายทำลายสุขภาพช่องปาก

ขี้ฟัน ภัยร้ายทำลายสุขภาพช่องปาก

ขี้ฟัน ภัยร้ายทำลายสุขภาพช่องปาก ขี้ฟัน หรือคราบจุลินทรีย์ที่เกาะติดบนผิวฟัน เป็นปัญหาที่หลายคนอาจละเลย แต่รู้ไหมว่าการปล่อยให้ขี้ฟันสะสมมาก ๆ นาน ๆ เข้าอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากที่ร้ายแรง เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือแม้แต่มีกลิ่นปากแรงได้ แล้วขี้ฟันเกิดขึ้นได้อย่างไร? วันนี้ Smile Season เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน พร้อมแนะนำวิธีกำจัดขี้ฟันให้หมดไป เพื่อการมีสุขภาพฟันที่ดี บอกลาปัญหาในช่องปากไปได้เลย ขี้ฟันคืออะไร คราบพลัค หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ

Read More »
ลิ้นเป็นฝ้าขาว ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

ลิ้นเป็นฝ้าขาว ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

ลิ้นเป็นฝ้าขาว ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม ลิ้นเป็นฝ้าขาว เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยลิ้นมีลักษณะเหมือนมีฟิล์มสีขาวเคลือบอยู่ด้านบน มักไม่มีอันตราย แต่อาจเป็นอาการของโรคประจำตัวบางอย่าง และอาจบ่งบอกว่าสุขอนามัยช่องปากของคุณมีปัญหา ในบางโอกาสอาจแสดงถึงภาวะที่รุนแรงมากขึ้นเช่น Oral thush หรือ Leukoplakia ซึ่งควรต้องได้รับการตรวจรักษาโดยคุณหมอทันที เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง วันนี้คุณหมอประจำ Smile Seasons มาให้ข้อมูลทุกเรื่องที่คุณควรต้องรู้เกี่ยวกับลิ้นเป็นฝ้าขาว ลิ้นเป็นฝ้าขาวคืออะไร ลิ้นเป็นฝ้าสีขาว คือ อาการผิดปกติของลิ้นที่จะมีคราบสีขาวแผ่กระจายอยู่ทั่ว บางคนอาจมีตุ่มที่ลิ้นด้วย โดยคราบสีขาวนั้นก็มาจากเชื้อแบคทีเรียและเซลล์ที่ตายแล้ว

Read More »
ถอนฟัน เจ็บไหม?

ถอนฟันราคาเป็นมิตร

เจ้าหน้าที่ของเราพร้อมให้บริการตอบคำถาม ข้อสงสัย ประเมินค่าใช้จ่าย ทำนัดปรึกษากับคุณหมอ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เจ้าหน้าที่ของเราจะรีบติดต่อกลับไปให้ข้อมูลคุณโดยเร็วที่สุด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้