ปวดฟัน อยู่หรือเปล่า? - ทนอยู่ทำไม ทีมทันตแพทย์ของเราช่วยได้!
ปวดฟัน อยู่หรือเปล่า? คุณไม่ได้ทรมานอยู่คนเดียว เพราะอาการปวดฟันเป็นหนึ่งในปัญหาทันตกรรมที่พบได้บ่อยที่สุด เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง คุณหมอจำเป็นต้องหาสาเหตุให้พบ ซึ่งการวินิจฉัยอาการปวดฟันมีความท้าทายเพราะมีสาเหตุได้ตั้งแต่ฟันผุไปจนถึงโรคเหงือก
ในบทความนี้ เราจะคุยกันถึงสาเหตุ และอาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมกับอาการปวดฟัน รวมถึงการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพช่องปากของคุณ นอกจากนี้คุณยังจะได้เรียนรู้วิธีป้องกันไม่ให้กลับมาปวดฟันซ้ำใหม่ในอนาคต หากคุณกำลังมองหาคำตอบว่าทำไมฟันของคุณถึงได้ปวด และคุณสามารถทำอะไรเพื่อบรรเทาอาการปวดได้บ้าง นี่คือบทความที่คุณพลาดไม่ได้
ปวดฟัน
อาการปวดฟัน เปรียบเสมือนแขกที่น่ารำคาญในบ้าน แต่อาจรุนแรงจนแม้กระทั่งคนตัวใหญ่ๆ ยังต้องร้องโอย ในอีกแง่มุมหนึ่งอาการปวดฟันก็เหมือนเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญว่า ฟันหรือเหงือกของคุณกำลังประสบปัญหา
ชนิดของโรคทางทันตกรรม รวมถึงระดับการลุกลามของโรคส่งผลทำให้ความรุนแรงของการปวดฟันไม่เท่ากัน โชคดีหน่อยคุณอาจแค่รู้สึกตุบๆ ที่บริเวณด้านหลังของฟัน ซึ่งจะเป็นเฉพาะตอนทานอะไรที่ร้อนหรือเย็นเท่านั้น อาการปวดอาจไต่ระดับอย่างรวดเร็วจนถึงขั้น เพียงแค่ฟันขยับนิดเดียวก็ปวดมากจนทนไม่ไหว ที่แย่ไปกว่านั้น อาการปวดฟันสามารถเป็นอยู่แค่ไม่กี่วินาที จนถึงหลายวัน
การปวดฟัน เกิดได้จากหลายสาเหตุ และต้องการการตรวจในช่องปากโดยละเอียดโดยคุณหมอฟัน รวมถึงอาจต้องเอ็กซเรย์เพื่อจะทำให้สามารถวินิจฉัยสาเหตุ และวางแผนการรักษาได้อย่างตรงจุด อย่ารอให้อาการปวดเป็นมากแล้วค่อยขอความช่วยเหลือ คุณอาจต้องเจ็บตัว และเสียค่าใช้จ่ายมากมายในการทำให้อาการปวดฟันนั้นหายไป
ปวดฟัน เกิดจากอะไร ?
1. ฟันผุ
ฟันผุเป็นสาเหตุทั่วไปของการปวดฟัน เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียในปากทำปฏิกิริยาสลายน้ำตาลในเศษอาหารที่ค้างอยู่ ทำให้เกิดกรดซึ่งสามารถกัดกร่อนเคลือบฟันจนเป็นโพรง หรือรูได้ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา โพรงเหล่านี้อาจผุลึกลงไปถึงชั้นด้านในของฟัน หรือที่เรียกว่า ‘เนื้อฟัน’ คุณอาจเริ่มมีอาการเสียวฟันเมื่อทานอาหารร้อนหรือเย็น รวมถึงอาหารที่มีรสหวานจัดๆ
เมื่อการผุลุกลามต่อจนถึงชั้นเนื้อฟัน หรือโพรงประสาทของฟัน คุณอาจเจอกับอาการปวดฟันอย่างรุนแรง ซึ่งอาจเป็นอยู่แค่แป๊บเดียว หรือเป็นตลอดเวลาก็ได้ เมื่อถึงขั้นนี้คนส่วนใหญ่จะรีบมาหาคุณหมอฟัน ซึ่งหากคลองรากฟันมีการอักเสบติดเชื้อแล้ว คุณจำเป็นต้องได้รับการรักษารากฟัน
ฟันผุยังสามารถก่อให้เกิดตุ่มหนองที่ปลายรากฟัน หรือบริเวณรอบๆ ฟันได้ ซึ่งเป็นการติดเชื้อรุนแรงที่นอกจากจะทำให้ปวดฟันแล้วยังทำให้เกิดอาการบวม หรือมีไข้ได้
2. เหงือกอักเสบ หรือปริทันต์อักเสบ
3. ฟันแตก ฟันร้าว ฟันบิ่น
4. เศษอาหารติดแน่นในฟัน
5. ฟันคุด
6. นอนกัดฟัน
7. โพรงไซนัสอักเสบ
8. ปลายรากฟันอักเสบ
9. สาเหตุอื่นๆ
ลักษณะของอาการปวดฟัน
อาการปวดฟัน สามารถถูกบรรยายออกมาได้หลายรูปแบบ การที่คุณสามารถให้ประวัติลักษณะของอาการปวดฟันที่เกิดขึ้น จะมีส่วนช่วยทำให้คุณหมอสามารถวินิจฉัยสาเหตุของการปวดฟันได้แม่นยำ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ปวดฟันแบบตึงๆ อยู่ตลอดเวลา
ปวดฟันแบบตึงๆ เหมือนมีใครมากดลงไปที่ฟันนั้นเป็นลักษณะอาการปวดที่พบได้บ่อยมากที่สุด มักพบในกรณีที่มีเศษอาหารมาติดอยู่ระหว่างซอกฟัน นอกจากนี้ยังอาจเป็นสัญญาณของตุ่มหนองที่ปลายรากฟัน หรือภาวะนอนกัดฟัน (Bruxism) ได้อีกด้วย หากคุณแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันแล้วอาการยังไม่หายไปใน 2-3 วัน คุณควรเข้ามาพบคุณหมอ
ปวดฟันแปล๊บๆ จี๊ดๆ
ปวดฟันแบบแปล๊บๆ เหมือนมีใครเอาอะไรมาแทง หรือปวดร้าว มักเป็นอาการที่ทำให้คนไข้ส่วนใหญ่รีบมาพบคุณหมอเนื่องจากมักจะปวดมาก ความผิดปกติส่วนใหญ่มักอยู่ที่ผิวฟันของคุณ เช่น ฟันแตกหรือร้าว ครอบฟันหลวม ฟันสึกรุนแรง หรือปลายรากฟันอักเสบ
ปวดฟัน เมื่อถูกความร้อน หรือความเย็น
ปวดฟันแบบตุบๆ
ปวดฟันแบบตุบๆ เกิดได้จากหลายสาเหตุ และมักสัมพันธ์กับการอักเสบติดเชื้อ เช่น ตุ่มหนองที่ปลายรากฟันหรือบริเวณรอบตัวฟัน เหงือกอักเสบ ฟันคุดที่มีเหงือกอักเสบร่วมด้วย ฟันผุ หรือแตกร้าว วัสดุอุดฟันหรือครอบฟันได้รับความเสียหาย อาการปวดแบบนี้เป็นลักษณะที่รุนแรงและควรต้องมาตรวจกับคุณหมอโดยเร็ว โดยเฉพาะหากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เหงือกเปลี่ยนสี หรือเลือดออก ฟันโยก
วิธีแก้ปวดฟัน
- บ้วนน้ำเกลืออุ่นๆ – น้ำเกลือมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและฆ่าเชื้ออ่อนๆ แถมยังสามารถกำจัดเศษอาหารชิ้นใหญ่ออกไปได้บางส่วน คุณสามารถผสมเกลือครึ่งช้อนชาลงในน้ำอุ่น 1 แก้ว กลั้วปากทุก 1-2 ชั่วโมงได้
- ประคบเย็น – อุณหภูมิที่เย็นจัดสามารถทำให้เส้นเลือดในบริเวณที่ปวดหดตัว และทำให้การสื่อประสาทช้าลง จึงสามารถลดอาการปวดฟัน รวมถึงอาการบวมลงได้ ใช้น้ำแข็งใส่ถุง หรือเจลเย็น ห่อด้วยผ้าบางๆ ประคบลงบนบริเวณที่ต้องการประมาณ 15-20 นาที คุณสามารถทำซ้ำใหม่ได้ทุกชั่วโมงหากต้องการ
- รับประทานยาแก้ปวด – คุณสามารถซื้อยาแก้ปวด เช่น paracetamol หรือ ibuprofen จากร้านขายยา หรือซูเปอร์มาร์เก็ต มารับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ กรุณาตรวจสอบประวัติแพ้ยา รวมถึงข้อห้ามในการรับประทานยากับเภสัชกรก่อนซื้อมารับประทาน
- สมุนไพรพื้นบ้าน – ถือเป็นวิธีแก้ปวดฟันแบบโบราณ สมุนไพรอย่างเช่น กานพลู กระเทียม ว่านหางจระเข้ ใบชา และอื่นๆ ได้ถูกนำมาบรรเทาอาการปวดฟันมาเป็นร้อยๆ ปี
วิธีดูแลสุขภาพช่องปาก ป้องกันอาการปวดฟัน
- แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร ใช้เวลาแปรงอย่างน้อย 2 นาที
- เลือกแปรงสีฟันแบบขนอ่อนนุ่ม ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนผสม
- ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
- หลีกเลี่ยงการรับประทาน หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง หรือรสเปรี้ยวมากๆ เพราะกรดสามารถทำลายเคลือบฟันของคุณได้
- ดื่มน้ำมากๆ ตลอดทั้งวัน เพื่อให้เกิดความชุ่มชื้น และชะล้างเศษอาหารที่ตกค้างอยู่
- อย่าลืมทำความสะอาดลิ้นของคุณ ใช้ที่ขูดลิ้น หรือเแปรงสีฟันเพื่อกำจัดแบคทีเรียอย่างอ่อนโยน และทำให้ลมหายใจสดชื่นมากขึ้น
- งดสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เหงือกอักเสบ สาเหตุสำคัญของอาการปวดฟัน
- ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพ และขูดหินปูนทุก 6 เดือน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการปวดฟัน
1. ปวดฟันแบบไหนควรไปพบคุณหมอ ?
เมื่อปวดฟันคุณควรไปพบคุณหมอทุกกรณี อย่างไรก็ตามหากคุณมีอาการเหล่านี้แสดงว่าอาการค่อนข้างมาก และเราแนะนำให้คุณรีบมาพบคุณหมอโดยเร็ว
- อาการปวดเป็นอยู่นานเกิน 2 วัน
- ยาแก้ปวดไม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้
- มีไข้ เจ็บขณะเคี้ยว เหงือกบวมแดง ได้รับรสผิดปกติ
- แก้ม หรือกรามบวม
2. ปวดฟันสามารถหายได้เองหรือไม่ ?
อาการปวดฟันจะหายไปเมื่อสาเหตุที่แท้จริงถูกกำจัดออกไป ตัวอย่างเช่นการปวดหรือเสียวฟันจะหายไปทันทีที่คุณรับประทานอาหารที่เย็นหรือหวานมากๆ เสร็จ ในทำนองเดียวกัน หากมีเศษอาหารมาติดอยู่ในระหว่างซี่ฟันของคุณ อาการปวดจะหายไปทันทีเมื่อคุณกำจัดเศษอาหารออก นอกจากนี้อาการปวดฟันที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้ออาจดีขึ้นหลังจากได้รับประทานยาแก้ปวด
อย่างไรก็ตาม การดำเนินโรคเป็นมากขึ้น คุณต้องเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมจึงจะทำให้อาการปวดหายไปได้
3. ทำไมฟันชอบปวดตอนกลางคืน ?
มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้อาการปวดฟันรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืน เช่น ปริมาณเลือดเพิ่มมากขึ้นจากตำแหน่งของศีระษะในท่านอน ตอนกลางคืนยังมีสิ่งรบกวนน้อยลง ทำให้คุณรู้สึกว่าปวดมากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วความรุนแรงของโรคในตอนกลางวัน และกลางคืนอาจจะเท่ากัน นอกจากนั้นถ้าคุณมีภาวะนอนกัดฟัน อาการปวดก็จะมากขึ้นในเวลากลางคืน
4. M16 คืออะไร แก้ปวดฟันได้จริงหรือไม่ ?
M16 เป็นยาที่มีส่วนผสมของการบูร และยาชา โดยโฆษณาว่าสามารถทำมาชุบสำลีและอุดไปในรูปตรงฟันที่ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้ อย่างไรก็ตามการรักษาอาการปวดฟันที่ถูกวิธีคือการค้นหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อทำการรักษา คุณหมอไม่เห็นด้วยในการใช้ M16 บรรเทาอาหารปวดฟันเพียงอย่างเดียว คุณควรเข้ารับการตรวจรักษาในคลินิกเพื่อกำจัดสาเหตุของอาการปวดฟันอย่างถาวร
5. ยาชุดแก้ปวดฟันที่ขายกันในท้องตลาด สามารถแก้ปวดได้หรือไม่ ?
ยาแก้ปวดที่ขายกันในร้านค้าออนไลน์ หรือในสถานที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่คลินิก รพ. หรือร้านขายยาที่มีเภสัชกร อาจมีส่วนผสมที่หลากหลาย รวมทั้งอาจเป็นอันตรายได้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือยาแก้ปวดไม่ช่วยแก้ไขสาเหตุของอาการปวดฟัน เราจึงไม่แนะนำให้ซื้อยาแบบนี้มาทา หรือรับประทาน การเข้ามาพบคุณหมอฟัน จะสามารถช่วยแก้ไขทั้งสาเหตุ และอาการปวดฟันให้คุณได้อย่างถาวร
รู้สึกปวดฟัน รักษาที่ Smile Seasons
คนไข้ที่ปวดฟันทุกท่าน โปรดทราบ! หากคุณต้องรับมือกับอาการปวดฟันที่ไม่หายสักที ถึงเวลาที่ต้องเข้ามาพบคุณหมอแล้ว ปวดฟัน เกิดได้จากหลายสาเหตุ บางครั้งก็ตรงไปตรงมาให้การวินิจฉัยง่าย แต่หลายครั้งก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม ที่คลินิกทันตกรรม Smile Seasons เราเข้าใจว่าอาการปวดฟันรบกวนชีวิตประจำวันของคุณมากแค่ไหน และเราพร้อมที่จะช่วยเหลือคุณ
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเราประกอบได้ด้วยคุณหมอฟันเฉพาะทางจากทุกสาขาวิชา เราทุ่มเทเพื่อดูแลคุณด้วยประสบการณ์ และความเอาใจใส่ เรามีเครื่องไม้เครื่องมือที่สะอาดทันสมัย สามารถให้การวินิจฉัย และรักษาอาการปวดฟันของคุณให้หายขาด บอกลาอาการปวดที่น่ารำคาญ เรารู้ว่ารอยยิ้มที่มีสุขภาพดี คือรอยยิ้มที่เต็มไปด้วยความสุข อย่าปล่อยให้อาการปวดฟันรั้งคุณเอาไว้ ติดต่อเราวันนี้ และให้เราช่วยให้คุณกลับมายิ้มได้อีกครั้ง โทร 02-114-3274 หรือ LINE @smileseasons.dc
- SIX COMMON CAUSES OF TOOTH PAIN., Available from: https://healthcare.utah.edu/healthfeed/2023/05/six-common-causes-of-tooth-pain
- Six Common Causes of Tooth Pain., Available from: https://www.nidirect.gov.uk/conditions/toothache
- Toothache: First aid., Available from: https://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-toothache/basics/art-20056628
บทความโดย
ทพญ.จิตพิชญา วิมลไชยจิต
ทันตแพทยศาสตร์ ม.รังสิต (เกียรตินิยมอันดับ 1)