รักษารากฟัน

รักษารากฟัน คืออะไร เจ็บไหม ราคาเท่าไหร่ พร้อมแนะนำขั้นตอนการรักษา

คุณเคยรู้สึกเสียว หรือปวดฟันแล้วคุณหมอบอกว่าคุณต้องรักษารากฟันไหม?คุณอาจมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการรักษารากฟันเช่น ทำไมต้องรักษารากฟัน รักษารากฟันมีกี่ชนิด และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ การดูแลตัวเองทั้งก่อนและหลังการรักษารากฟัน วันนี้คุณหมอจะมาแนะนำความรู้และข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการรักษารากฟัน ตามอ่านกันได้เลย
สารบัญ

รักษารากฟัน คืออะไร

การรักษารากฟัน คือ การกำจัดแบคทีเรีย และเนื้อเยื่อในบริเวณคลองรากฟันที่มีรากฟันอักเสบหรือติดเชื้อ รวมทั้งทำความสะอาด และใส่ยาฆ่าเชื้อ เมื่อปราศจากการติดเชื้อ คุณหมอจะอุดคลองรากฟัน และบูรณะฟันขึ้นมาใหม่ด้วยการ อุดฟัน หรือการทำครอบฟัน เพื่อให้ฟันของคุณกลับมาสวยงาม ใช้งานได้ตามปกติเช่นเดิม

การรักษารากฟันมีจุดประสงค์เพื่อเก็บฟันธรรมชาติให้กับคุณ โดยไม่จำเป็นต้องถอนฟัน ราคาค่ารักษารากฟันอยู่ที่ประมาณ 6,500 -12,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนของคลองรากฟัน รวมทั้งความรุนแรงของการติดเชื้อของฟันซี่นั้น

รักษารากฟันเจ็บไหม

รักษารากฟัน VS ถอนฟัน แบบไหนดีกว่ากัน

การรักษารากฟัน

เราเข้าใจว่าการรักษารากฟันมีขั้นตอนที่ใช้เวลา รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า คนไข้บางคนเลยเลือกจะถอนฟันเพื่อตัดปัญหา แต่ฟันเป็นอวัยวะสำคัญที่จะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต นอกจากนั้นฟันธรรมชาติยังมีข้อดีที่เหนือกว่าเช่น

 

  • มีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวมากที่สุด
  • รับความรู้สึกได้ดีที่สุด
  • มีลักษณะสวยงามเป็นธรรมชาติ
  • ติดสีได้ยาก และดูแลความสะอาดได้ง่ายและสะดวกที่สุด

 

การรักษารากฟันก็เหมือนการลงทุนให้กับสุขภาพในระยะยาว รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคตของคุณ นอกจากนี้สามารถอ่านบทความ ถอนฟัน พร้อมแนะนำวิธีดูแลตนเองหลังถอนฟัน จากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่ คลิก! 

รู้จักส่วนประกอบของรากฟัน

1. เคลือบฟัน (Enamel)

เคลือบฟัน คือ ชั้นนอกสุดของตัวฟัน ถือเป็นอวัยวะที่มีความแข็งแรงที่สุดของร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารต่างๆ เคลือบฟันไม่มีเส้นเลือดและเส้นประสาทมาหล่อเลี้ยงทำให้ไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้ และเป็นส่วนที่ไม่สามารถสร้างทดแทนขึ้นมาได้ เมื่อดูแลรักษาความสะอาดไม่ดีฟันของคุณจะเริ่มผุตั้งแต่ชั้นเคลือบฟันเข้าไปด้านในฟัน

2. เนื้อฟัน (Dentine)

เนื้อฟัน คือ ชั้นที่อยู่ถัดลงมาจากเคลือบฟัน มีสีออกเหลืองตามธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นชั้นที่กำหนดสีของตัวฟัน เนื้อฟันมีความยืดหยุ่นจึงทำหน้าที่กระจายแรงบดเคี้ยวจากชั้นเคลือบฟันออกไป รวมทั้งยังสามารถส่งสัญญาณความรู้สึกไปยังเส้นประสาทที่อยู่ในโพรงประสาทฟันได้ด้วย ทำให้เมื่อฟันผุลงไปถึงชั้นเนื้อฟันคุณอาจรู้สึกเสียวฟันได้

3. โพรงประสาทฟัน (Pulp)

โพรงประสาทฟัน คือ ส่วนที่อยู่ในสุดของฟัน เป็นที่อยู่ของเนื้อเยื่อ เส้นประสาท และหลอดเลือดขนาดเล็กจำนวนมาก มีหน้าที่สร้างเนื้อฟัน และถือเป็นส่วนของฟันที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อโพรงประสาทฟันมีช่องติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกก็จะตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะมีแบคทีเรียเล็ดลอดเข้าไปก่อให้เกิดการอักเสบติดเชื้อของโพรงประสาทฟันได้

4. คลองรากฟัน (Root Canal)

คลองรากฟัน คือ ส่วนที่ต่อจากโพรงประสาทฟันไปสู่ปลายรากฟัน ซึ่งเป็นที่เข้าออกของเส้นประสาท และหลอดเลือด ฟันกรามจะมีจำนวนรากฟัน และคลองรากฟันที่มากกว่าฟันซี่หน้า ทำให้การรักษารากฟันนั้นใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า

ทำไมต้องรักษารากฟัน

  • เมื่อมีการอักเสบติดเชื้อในคลองรากฟัน หากไม่ได้รับการรักษานอกจากคุณจะสูญเสียฟันซี่นั้นไป การติดเชื้ออาจลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงจนอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ ฉะนั้นหากคุณหมอบอกว่าคุณควรได้รับการรักษารากฟัน คุณควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อรีบเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยเร็ว
  • การซื้อยาฆ่าเชื้อ (ยาปฎิชีวนะ) มารับประทานนั้นไม่สามารถรักษาคลองรากฟันที่ติดเชื้อได้
  • ถึงแม้การรักษารากฟันจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่อย่าลืมว่าคุณสามารถเก็บฟันธรรมชาติไว้ได้ รวมทั้งไม่ต้องเจ็บตัวกับการถอนฟัน รวมถึงประหยัดค่าบูรณะฟันที่สูญเสียไปเช่น การทำ รากฟันเทียม การทำ สะพานฟัน หรือฟันปลอม ซึ่งเป็นการรักษาที่มีราคาสูงเช่นกัน

สาเหตุของการติดเชื้อที่คลองรากฟัน

เส้นประสาทฟัน
เส้นประสาทฟัน

ภายในฟันของเราจะมีโพรงประสาทฟันซึ่งจะแตกออกเป็นช่องว่างเล็กๆ ไปตามรากฟันเรียกว่าคลองรากฟัน (Dental Pulp) โดยปกติอวัยวะในโพรงประสาทฟันจะไม่ติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอก หากเกิดช่องขึ้นมาก็จะทำให้แบคทีเรียจากภายนอกเข้ามาก่อให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน และทำให้ต้องรักษารากฟันในที่สุด สาเหตุที่มักทำให้เกิดโรคคือ

 

  • ฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาจนผุลึกทะลุเข้าโพรงประสาทฟัน
  • ฟันที่ประสบอุบัติเหตุ บิ่น ร้าว แตก ลึกถึงโพรงประสาทฟัน
  • ฟันที่สึกมาก ซึ่งอาจเกิดจากการใช้งาน การสบฟันที่ผิดปกติ หรือภาวะนอนกัดฟัน

อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณอาจต้องรักษารากฟัน

รากฟัน ทะลุ เหงือก

อาการของโรคที่เกี่ยวกับคลองรากฟันจะขึ้นอยู่กับระดับของการติดเชื้อ ในระยะแรกคุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดแปล๊บขณะเคี้ยว หรือกัดฟัน
  • เสียวฟันเมื่อรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่ม ร้อนจัด เย็นจัด

เมื่อการติดเชื้อลุกลามมากขึ้น อาการต่างๆ มักจะหายไป เนื่องจากอวัยวะรวมทั้งเส้นประสาทในโพรงประสาทและคลองรากฟันตาย ผู้ป่วยหลายคนเข้าใจผิดว่าอาการดีขึ้น และไม่ได้เข้ามาปรึกษาคุณหมอ จนกระทั่งการติดเชื้อลุกลามออกมานอกคลองรากฟัน ในระยะนี้คุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้

 

  • กลับมามีอาการปวดอีกครั้ง ซึ่งอาจจะปวดตลอดเวลา และปวดมากขึ้นหากเคี้ยวหรือกัดฟัน
  • เหงือกบวม มีตุ่มหนอง เนื่องจากการติดเชื้อทะลุรากฟันออกมาที่เหงือก
  • หนองไหลจากเหงือก และบริเวณรอบๆ ซึ่งออกมาจากฟันเป็นหนองที่ปลายรากฟัน
  • ถุงหนองปลายรากฟัน
  • แก้มและขากรรไกรบวมแดง อักเสบ
  • ฟันมีสีเปลี่ยนไป หรือคล้ำขึ้น

ประเภทของการรักษารากฟัน

1. การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment)

เป็นวิธีปกติในการรักษารากฟัน ที่มีการเปิดโพรงประสาทฟัน ทำความสะอาด ใส่ยาฆ่าเชื้อ และตามด้วยการบูรณะฟันด้วยการอุด หรือทำครอบฟัน

2. การผ่าตัดปลายรากฟัน (Endodontic Surgery)

เป็นการผ่าตัดเล็กเข้าไปที่บริเวณรากฟัน มีความซับซ้อนสูงกว่า รวมทั้งใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าปกติ โดยมีข้อบ่งชี้ในการทำดังนี้

 

  • การรักษารากฟันแบบปกติล้มเหลว
    โพรงประสาทฟันมีแคลเซียมมาเกาะเป็นปริมาณมากจนเครื่องมือไม่สามารถลงไปถึงปลายรากฟันได้
  • มีการแตกหัก หรือรอยโรคอื่นๆ ของกระดูกรอบปลายรากฟัน

 

การผ่าตัดปลายรากฟันสามารถแยกย่อยได้อีกหลายชนิด แต่ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดเรียกว่า apicoectomy โดยคุณหมอจะเปิดช่องที่เหงือกตรงปลายรากฟัน เพื่อนำเนื้อเยื่อและกระดูกที่มีการอักเสบติดเชื้อออก ส่วนของปลายรากฟันจะถูกตัดออกไปด้วยตรงด้านล่างสุด หลังจากนั้นคุณหมอจะอุดปิดปลายรากฟัน และเย็บแผล

รักษารากฟัน ที่ไหนดี

เมื่อคุณตัดสินใจรักษารากฟัน คำถามสำคัญคือจะทำกับที่ไหนดี เรามีทริคในการเลือกคลินิกรักษารากฟันดังนี้

รักษารากฟัน ราคาเท่าไหร่

รายละเอียดการรักษาค่าบริการ
รักษารากฟัน - ฟันหน้า8,000
รักษารากฟัน - ฟันกรามน้อย9,000
รักษารากฟัน - ฟันกราม12,000-14,000
รักษารากฟันฉุกเฉินเพื่อลดอาการปวด1,500
ฟอกสีฟันในฟันที่ผ่านการรักษารากฟัน3,000-4,500

*ค่าใช้จ่ายในการรักษารากฟัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง จำนวนคลองรากฟัน และความรุนแรงของการอักเสบติดเชื้อ คุณสามารถตรวจสอบอัตราค่าบริการอื่นๆ ได้

การเตรียมตัวก่อนการรักษาฟัน

  1. ถามคำถาม – หากคุณมีข้อสงสัย หรือมีความกังวลใดๆ คุณควรพูดคุยซักถามข้อสงสัยกับคุณหมอ อยากคุณกำลังอยากรักษารากฟัน เราสามารถนัดคุณมาปรึกษากับคุณหมอของเราได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  2. เตรียมยาให้พร้อม – ปกติคุณหมอของเราจะจ่ายยาแก้ปวด และ/หรือ ยาปฎิชีวนะให้คุณกลับบ้าน แต่หากคุณตัดสินใจรักษารากฟันกับคลินิกอื่นๆ คุณควรสอบถามให้แน่ใจ จะได้เตรียมยาแก้ปวดไว้เผื่อได้
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ – นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 8 ชม. ในคืนก่อนเข้ารับการรักษารากฟัน
  4. งดแอลกอฮอล์ และบุหรี่ อย่างน้อย 24 ชม. – เพื่อป้องกันเลือดออก และทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  5. รับประทานอาหารมาก่อน – เนื่องจากต้องมีการฉีดยาชา หลังรักษารากฟันปากของคุณจะชาไปหลายชั่วโมง ทำให้ทานอาหารลำบาก เรานึงแนะนำให้คุณรับประทานอาหารเบาๆ ก่อนเริ่มการรักษาสัก 2-3 ชม.
  6. วางแผนการเดินทาง – ถึงแม้ส่วนใหญ่คุณจะสามารถขับรถกลับเองได้หลังรักษารากฟัน แต่หากคุณมีเพื่อน หรือครอบครัวขับรถรับส่งในวันรักษา ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลว
  7. พักผ่อน ตุนอาหาร และเตรียมซีรีย์ – เราอยากให้คุณพักผ่อนเป็นอย่างน้อย 1-2 วันหลังรักษารากฟัน คุณควรเคลียร์ตารางงานเอาไว้ล่วงหน้า ออกไปซื้ออาหารทานง่าย เช่น ซุป โยเกิร์ต ผลไม้ พุดดิ้ง Smoothies ติดตู้เย็นเอาไว้ และหาลืมหาซีรีย์เรื่องโปรดที่ยังดูไม่จบ หรือเตรียมเคลียร์เกมที่เล่นค้างเอาไว้

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

1. ตรวจฟันและเอ็กซเรย์

คุณหมอจะตรวจฟันของคุณโดยละเอียด และส่งคุณไปเอ็กซเรย์ฟัน เพื่อประเมินตำแหน่ง และการติดเชื้อว่ามีการลุกลามไปมากน้อยแค่ไหน
ฉีดยาชา

2. ฉีดยาชา

ก่อนทำการรักษาคุณหมอจะฉีดยาชาให้ ทำให้คุณไม่เจ็บปวดระหว่างทำการรักษารากฟัน (ในบางกรณีหากเนื้อเยื่อในคลองรากฟันตายแล้ว คุณจะไม่รู้สึกเจ็บ ทำให้อาจไม่จำเป็นต้องเจ็บตัวฉีดยาชา)

กรอเปิดโพรงประสาทฟัน

3. กรอเปิดโพรงประสาทฟัน

เนื้อฟันจะถูกกรอเปิด ให้เห็นโพรงประสาทฟัน เพื่อทำการรักษาต่อ

ทำความสะอาด ใส่ยาฆ่าเชื้อ

4. ทำความสะอาด ใส่ยาฆ่าเชื้อ

คุณหมอจะกำจัดเอาแบคทีเรีย หนอง และเนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อออก หลังจากล้างทำความสะอาด และใส่ยาฆ่าเชื้อเรียบร้อย คุณหมอจะอุดปิดโพรงประสาทฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว

ทำการรักษาซ้ำจนกว่าจะหาย

5. ทำการรักษาซ้ำจนกว่าจะหาย

การรักษารากฟันจะไม่เสร็จในครั้งเดียว คุณหมอจะนัดคุณเข้ามาตรวจเช็คพร้อมทำความสะอาด และใส่ยาฆ่าเชื้อซ้ำจนกว่าจะแน่ใจว่าการติดเชื้อหมดไป โดยส่วนมากคุณต้องเข้ารับการรักษา 2-3 ครั้ง

บูรณะฟันขึ้นมาใหม่

6. บูรณะฟันขึ้นมาใหม่

เมื่อมั่นใจว่าการติดเชื้อหมดไปแล้ว คุณหมอจะบูรณะฟันของคุณด้วยการอุดปิดโพรงประสาทฟันด้วยวัสดุอุดถาวร หรือการทำครอบฟัน หลังจากนั้นจะนัดติดตามอาการเป็นระยะ

การปฎิบัติตัวหลังรักษารากฟัน

การปฎิบัติตัวหลังรักษารากฟัน

คุณสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ เพียงรอให้ยาชาหมดฤทธิ์ก่อน เพื่อป้องกันคุณกัดลิ้น หรือกระพุ้งแก้มขณะเคี้ยว อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงอาหารแข็ง รวมถึงเครื่องดื่มที่ร้อนจัด หรือเย็นจัด

การ รักษา รากฟัน หน้า

คุณอาจมีอาการตึงๆ อยู่บ้างในช่วง 2-3 วันแรก หลังจากนั้นอาการปวดควรจะหายไป หากคุณยังมีอาการปวดอยู่หลายวัน เราแนะนำให้คุณติดต่อหาเรา เพื่อทำนัดเข้ามาตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมกับคุณหมอ

ถุงหนองปลายรากฟัน

คุณสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น Paracetamol หรือ Ibuprofen ได้ตามที่คุณหมอแนะนำ

โพรงประสาทฟัน

มาตรวจติดตามอาการตามนัดของคุณหมอ รวมทั้งดูแลทำความสะอาดช่องปาก แปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอทุกวัน

อาการหรือผลข้างเคียงหลังจากรักษาฟัน

ผลข้างเคียงจากการรักษารากฟันพบได้ไม่บ่อย รวมทั้งเป็นเพียงชั่วคราว และสามารถแก้ไขได้ การได้รับการรักษากับคุณหมอเฉพาะทางด้านรากฟัน (Endodontist) ที่มีประสบการณ์ก็สามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงลงได้ อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับหัตถการทางการแพทย์อื่นๆ คุณยังสามารถเจอกับผลข้างเคียงหลังรักษารากฟันได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

  • ฟันสีเปลี่ยนไป – โพรงประสาทฟันเป็นส่วนที่มีชีวิตด้านในฟันของคุณ ถ้าหากเกิดการอักเสบติดเชื้อ ก็มีความจำเป็นของต้องกำจัดออก เพื่อป้องกันการลุกลามใหญ่โต ขั้นตอนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการรักษารากฟัน แต่การนำเนื้อเยื่อเหล่านี้ออกย่อมหมายถึง ฟันของคุณก็จะตายไปด้วย ซึ่งอาจเกิดสีคล้ำตามมา สามารถรักษาด้วยการฟอกสีฟันจากด้านในตัวฟัน หรือการทำ วีเนียร์ ได้
  • รากฟันแตก หรือ ทะลุ – รากฟันอาจแตกหรือทะลุ จากฟันที่ผุอยู่ก่อน มีรอยแตกมาก่อน หรือจากเครื่องมือทันตกรรมก็ได้ หากเกิดขึ้นคุณควรพูดคุยปรึกษากับคุณหมอถึงทางเลือกในการรักษา ซึ่งอาจรวมถึงการถอนฟันซี่นั้นออก
  • ฟันร้าว – ฟันที่ผ่านการรักษารากฟัน ย่อมไม่แข็งแรงเหมือนก่อนหน้าที่จะมีการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งทำให้ฟันแตกร้าวได้ง่ายกว่าปกติ เพราะฉะนั้นในบางกรณีคุณหมอจะแนะนำให้ทำครอบฟันในฟันที่ผ่านการรักษารากไปแล้ว
  • ติดเชื้อซ้ำ – เกิดในกรณีที่การรักษารากฟันทำได้ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันที่อักเสบติดเชื้อออกไปได้หมด หรือเกิดจากมีรูรั่วของวัสดุอุดปิดชั่วคราวทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าไปในโพรงประสาทฟันได้ การแก้ไขอาจทำได้ด้วยการ รักษารากฟันซ้ำ, การผ่าตัดปลายรากฟัน รวมถึงการถอนฟัน

FAQ คำถามเกี่ยวกับการรักษารากฟัน

ไม่ต้องกังวล ก่อนเริ่มถอนฟันคุณหมอจะให้ยาชา คุณจะรู้สึกตึงเล็กน้อยระหว่างทำการถอนฟันเท่านั้น
หลังรักษารากฟัน หากเนื้อฟันของคุณเหลือน้อย การอุดแบบธรรมดาอาจทำให้ฟันกลับมาแข็งแรงไม่เท่าเดิม คุณหมออาจพิจารณาใส่เดือยฟันเข้าไปเพื่อเสริมความแข็งแรง และทำครอบฟันที่ด้านบน
เวลาที่ใช้ในการรักษารากฟัน มีรายละเอียดดังนี้
  • คุณต้องมาพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ และตำแหน่งของฟัน ฟันหน้า และฟันเขี้ยวมีคลองรากฟันเพียงแค่ 1-2 คลองราก ในขณะที่ฟันกรามอาจมีได้ 4-5 คลองราก จำนวนของคลองรากฟันที่มากขึ้น จะทำให้ต้องใช้เวลาในการรักษาที่มากขึ้นเช่นกัน
  • เวลาที่ใช้ในการรักษาแต่ละครั้งคือประมาณ 1 ชม.
  • ระยะห่างในการนัดแต่ละครั้งคือประมาณ 1-2 สัปดาห์
ได้ – คุณหมอจะหยุดเคลื่อนฟันของคุณก่อน โดยไม่ต้องถอดเครื่องมือจัดฟันออก เมื่อคุณรักษารากฟันจนหายดีแล้ว ถึงจะสามารถเคลื่อนฟันต่อได้ ซึ่งจะส่งผลให้การจัดฟันของคุณใช้เวลามากขึ้น

ฟันธรรมชาติย่อมแข็งแรง และดีกว่า ฟันเป็นอวัยวะสำคัญที่จะอยู่กับคุณไปตลอดชีวิต การรักษารากฟันก็เหมือนการลงทุนให้กับสุขภาพในระยะยาว รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคตของคุณ


นอกจากนี้หากถอนฟันทิ้ง และไม่ได้รับการทดแทนฟัน ฟันข้างเคียงก็จะล้มลงมาในช่องว่าง แต่กรณีที่คุณเลือกทดแทนฟัน ไม่ว่าจะด้วยการใส่ฟันปลอม การทำรากฟันเทียม หรือการทำสะพานฟัน ทุกอย่างก็ย่อมมีค่าใช้จ่าย ซึ่งถ้านำมารวมกับค่าถอนฟัน การรักษารากฟันอาจดูเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่า

การรักษารากฟันมีหลายขั้นตอน หากคุณอยู่ในขั้นตอนกำลังรักษา คุณหมออาจจะต้องใส่ยาหลายครั้งกว่าการอักเสบติดเชื้อจะหมดไป กรณีที่คุณรักษาเสร็จแล้ว คุณหมอจะนัดติดตามอาการ และผลข้างเคียงจากการรักษา รวมทั้งอาจขูดหินปูนเพื่อดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้ดีอยู่เสมอ
รักษารากฟันใช้เวลาต่อครั้งประมาณ 30-45 นาที และต้องมาพบคุณหมอ 2-4 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความซับซ้อน วิธีการรักษา และจำนวนของคลองรากฟัน
หากรากฟันยังมีการติดเชื้ออยู่ คุณควรได้รับการรักษารากฟันให้เรียบร้อยก่อนเริ่มจัดฟัน หากคุณไม่แน่ใจว่าคุณสามารถจัดฟันได้หรือไม่ คุณสามารถทำนัดเข้ามาปรึกษาคุณหมอของเรา

ยาที่ใช้รักษารากฟันแบ่งออกเป็น ยาที่ใส่เข้าไปในโพรงประสาทฟันหลังจากทำความสะอาดแล้ว ซึ่งจะเป็นยาปฎิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ)  ส่วนยาที่รับประทานจะเป็นยาแก้ปวด เข่น paracetamol และยากลุ่ม NSAIDs

ขึ้นอยู่กับเคส หากคุณสูญเสียเนื้อฟันเป็นจำนวนมาก ฟันจะไม่แข็งแรง และแตกหักได้ง่าย คุณหมออาจพิจารณาทำครอบฟัน ร่วมถึงอาจต้องทำเดือยฟันก่อนทำครอบฟันด้วย
อ้างอิง

บทความโดย

Picture of ทพ.รังสิต เมฆารักษ์ภิญโญ

ทพ.รังสิต เมฆารักษ์ภิญโญ

อนุมัติบัตรทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ ทันตแพทยสภา
ปริญญาโท สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทันตแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

อยากปรึกษาเรื่องรักษารากฟัน

อย่าลังเลที่จะติดต่อเรา เจ้าหน้าที่ของเราพร้อมให้บริการตอบคำถาม ข้อสงสัย ประเมินค่ารักษา ทำนัดปรึกษากับคุณหมอ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงกรอก ชื่อนามสกุล เบอร์โทร และ Email เจ้าหน้าที่ของเราจะรีบติดต่อกลับไปให้ข้อมูลคุณโดยเร็วที่สุด

กรอกรายละเอียดและรอการติดต่อจากเจ้าหน้าที่

รีวิวจากคนไข้ของเรา

Affordable price. Easy to book the appointment. Nearby the skytrain, easy to commute.
Napassorn Thammaviwatnukoon Avatar
Napassorn Thammaviwatnukoon
16 Dec 2023
Love❤️ Dr. Pinmuk Supachaiyakit! The dentist Pinmuk is always so kind, professional, courteous and very informative. The front desk staffs were welcoming and helpful. The dental office was nice and clean. Thanks for thanking care of me and my teeth. I highly recommend Smile Seasons Clinic.
Kanyarat Chotkeattikhun Avatar
Kanyarat Chotkeattikhun
01 Dec 2023
Love❤️ Dr. Pinmuk Supachaiyakit! The dentist Pinmuk is always so kind, professional, courteous and very informative. The front desk staffs were welcoming and helpful. The dental office was nice and clean. Thanks for thanking care of me and my teeth. I highly recommend Smile Seasons Clinic.
Kanyarat Chotkeattikhun Avatar
Kanyarat Chotkeattikhun
01 Dec 2023
The dentists at this clinic are not only skilled but also genuinely caring. During my appointment with Dr. Kanoksiri, I received exceptionally thoughtful treatment and clear, helpful recommendations.
Kanokphol Pansailom Avatar
Kanokphol Pansailom
01 Dec 2023

โปรโมชั่นอื่นๆ

เกลารากฟันคืออะไร

เกลารากฟันคืออะไร สำคัญต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร

เกลารากฟันเป็นการทำความสะอาดรากฟันใต้เหงือกลึก เพื่อกำจัดหินปูนและเชื้อแบคทีเรีย ช่วยรักษาโรคปริทันต์และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากที่รุนแรง

Read More »
ทำความเข้าใจการปักสกรูเวลาจัดฟันคืออะไร

ทำความเข้าใจการปักสกรูเวลาจัดฟันคืออะไร

เจาะลึกทุกเรื่องเกี่ยวกับการปักสกรูจัดฟัน ตั้งแต่ขั้นตอน อาการที่อาจเกิดขึ้น และการดูแลตัวเองหลังปักสกรู พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

Read More »
การเลือกแปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟัน

ใครจัดฟันต้องอ่าน เลือกแปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันอย่างไรให้เหมาะสม

ครบทุกเรื่องเกี่ยวกับแปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟัน เทคนิคการเลือก ประเภท และวิธีใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีระหว่างจัดฟัน

Read More »
จัดฟันแล้วฟันผุเกิดจากอะไร

ชวนหาคำตอบจัดฟันแล้วฟันผุเกิดจากอะไร

จัดฟันแล้วฟันผุเกิดจากเศษอาหารติดตามซอกเครื่องมือจัดฟัน ซึ่งเป็นบริเวณที่ทำความสะอาดยาก หากดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดี อาจทำให้มีเกิดฟันผุได้

Read More »
เปิดเทคนิคการเลือกแปรงสีฟันไฟฟ้าให้ตอบโจทย์

เปิดเทคนิคการเลือกแปรงสีฟันไฟฟ้าให้ตอบโจทย์

แนะนำเคล็ดลับการเลือกแปรงสีฟันไฟฟ้าที่เหมาะกับคุณ พร้อมเปรียบเทียบประเภท คุณสมบัติ และวิธีใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

Read More »
เปิดสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วทอนซิล พร้อมแชร์วิธีรักษานิ่วทอนซิล

เปิดสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วทอนซิล พร้อมแชร์วิธีรักษานิ่วทอนซิล

นิ่วทอนซิลเป็นก้อนเล็ก ๆ สีขาวเหลืองที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก เจ็บคอ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เรียนรู้วิธีป้องกันและวิธีรักษานิ่วทอนซิล เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี

Read More »

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้