การอุดฟันคืออะไร มีกี่แบบ ราคาเท่าไหร่ ใช้ประกันสังคมได้ไหม?
คุณกำลังมีปัญหาฟันผุ หรือฟันบิ่นอยู่หรือเปล่า? อย่าปล่อยให้ปัญหาเปล่านี้ลุกลามจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ การอุดฟันสามารถช่วยคุณได้ การอุดฟันเป็นหัตถการทางทันตกรรมทั่วไป ที่สามารถซ่อมแซมฟันที่เสียหายของคุณ ให้กลับมาสวยงาม และใช้งานได้ดีดังเดิม การอุดฟันนั้นง่าย ใช้เวลาไม่นาน และไม่เจ็บปวด คุณสามารถรับประทานอาหารที่คุณชื่อชอบ และยิ้มได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง
วันนี้คุณหมอพาคุณมาเรียนรู้เกี่ยวการอุดฟันว่ามีวัสดุกี่แบบ สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าอุดฟันราคาเท่าไหร่ เราจะบอกถึงระบบวิธีการคิดราคาอุดฟัน และแน่นอนว่าหากมีประกันสังคมคุณสามารถเบิกค่าอุดฟันได้ 900 บาทต่อปี มาดูกันดีกว่ามาต้องทำอย่างไรบ้าง?
การอุดฟัน คืออะไร
การอุดฟัน (Dental Filling) คือหัตถการทั่วไปทางทันตกรรมที่ใช้ในการซ่อมแซมฟันที่เสียหายจากการผุ จากอุบัติเหตุต่างๆ หรือการสึกหรอ วัสดุอุดฟันจะถูกใช้เพื่ออุดรู หรือโพรงที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถช่วยป้องกันไม่ให้รอยผุลุกลามมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยฟื้นฟูความแข็งแรง และการทำงานของฟันอีกด้วย
วัสดุอุดฟันมีหลายประเภท ได้แก่ อมัลกัม (สีเงิน) คอมโพสิตเรซิน (สีเหมือนฟัน) ทองคำ และ Porcelain โดยการเลือกใช้วัสดุจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขอบเขตของความเสียเสียหาย ตลอดจนความชอบและงบประมาณของคุณ โดยทั่วไปการอุดฟันเป็นหัตถการที่รวดเร็วและไม่เจ็บปวด และสามารถช่วยปรับปรุงรูปลักษณ์ และสุขภาพของฟันซี่ที่ได้รับผลกระทบได้
อุดฟันช่วยรักษาปัญหาฟันแบบใดได้บ้าง
1. ฟันผุ
ฟันผุ คือ กระบวนการทำลายแร่ธาตุซึ่งเป็นผลของกรดจากแบคทีเรียก่อโรคในช่องปาก และถือเป็นข้อบ่งชี้หลักในการอุดฟัน เมื่อมีฟันผุ คุณควรรีบมาพบคุณหมอ หากฟันผุลุกลามและมีแบคทีเรียเล็ดลอดเข้าสู่โพรงประสาทฟันจนทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อ คุณอาจต้อง รักษารากฟัน ซึ่งเป็นหัตถการที่มีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงกว่ามาก
2. ฟันสึก
ฟันของคุณสามารถสึกได้เมื่อคุณอายุมากขึ้นเนื่องจากถูกใช้งานมาเป็นเวลานาน การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูงอย่างต่อเนื่องก็สามารถทำให้ฟันสึกเร็วกว่าปกติได้ หากคุณเป็นโรคนอนกัดฟัน (Sleep Bruxism) ฟันของคุณอาจสึกอย่างรุนแรงได้เช่นกัน
การอุดฟันสามารถช่วยฟื้นฟูโครงสร้างของฟันที่สูญเสียไป และปกป้องฟันจากความเสียหายเพิ่มเติมได้ ในกรณีที่ปัญหาถูกละเลย และฟันสึกมากจนโครงสร้างเสียหายรุนแรง การอุดฟันอาจไม่เพียงพอ และคุณหมออาจจำเป็นต้องบูรณะฟันขึ้นมาใหม่ด้วยครอบฟัน ซึ่งเป็นการรักษาที่ใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการอุดฟันมาก
3. ฟันแตก หัก บิ่น
4. อุดฟันเพื่อความสวยงาม
การอุดฟันสามารถนำมาช่วยเรื่องความสวยงามของฟันได้ ซึ่งเทคนิคนี้เราจะเรียกว่า วีเนียร์ ประเภท Direct / Composite Veneer โดยคุณหมอจะใช้คอมโพสิตเรซิน ซึ่งเป็นวัสดุอุดฟันที่มีสีเหมือนฟันมาแก้ไขฟันที่มีรูปร่าง สี พื้นผิว หรือความยาวของฟันที่ผิดปกติ หรือไม่สวยงาม
5. รักษาคอฟันสึก
การอุดฟันจำเป็นต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร
การอุดฟันเป็นขั้นตอนสำคัญในการรักษาสุขภาพช่องปาก โดยเฉพาะเมื่อพบรอยผุหรือการสึกกร่อนของฟัน การอุดฟันช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียลุกลามเข้าสู่โพรงประสาทฟัน ซึ่งอาจนำไปสู่การอักเสบและปวดฟันอย่างรุนแรง หากปล่อยทิ้งไว้ รอยผุอาจขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ต้องรักษาด้วยวิธีที่ซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เช่น การรักษารากฟันหรือถอนฟัน นอกจากนี้ ฟันที่ผุยังอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้
อุดฟันมีกี่แบบ
สามารถแบ่งรูปแบบการอุดฟันตามวัสดุที่ใช้อุดฟันได้ 4 แบบ ดังนี้
1. อุดฟันอมัลกัม (อุดฟันสีโลหะ)
อุดฟันด้วยอมัลกัม เป็นวัสดุอุดฟันสีโลหะ ทำจากเงิน ปรอท ดีบุก หรือโลหะอื่นๆ นิยมใช้อุดฟันกราม ฟันกรามน้อย เพราะมีความแข็งแรง รับแรงบดเคี้ยวได้ดี แต่เวลาอุดฟันเสร็จจะเห็นเป็นสีเงิน ไม่เนียนสวยไปกับสีฟัน ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับผู้ที่ฟันหน้ามีปัญหา เพราะหากใช้วัสดุนี้จะมองเห็นได้ชัด
ข้อดีของการอุดฟันด้วยอมัลกัม
- อายุการใช้งานยาวนาน – โลหะอมัลกัมมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 10-15 ปี ซึ่งมากกว่าคอมโพสิตเรซินซึ่งอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี
- มีความแข็งแรง – สามารถรับแรงบดเคี้ยวได้ดี
- ราคาถูกกว่า – เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุชนิดอื่นๆ
ข้อเสียของการอุดฟันด้วยอมัลกัม
- ไม่สวยงาม – สีโลหะนั้นสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งอาจส่งผลต่อความสวยงาม และรูปลักษณ์ของคุณเวลายิ้ม
- สูญเสียเนื้อฟันมากกว่า – การอุดฟันด้วยอมัลกัมจำเป็นต้องเตรียมพื้นที่ว่างขนาดใหญ่กว่า คุณหมอจึงจำเป็นต้องกรอเนื้อฟันออกไปมากกว่า เมื่อเทียบกับการใช้วัสดุอุดประเภทอื่น
- ทำให้สีฟันเปลี่ยนไป – เนื้อของฟันมีความใสอยู่โดยธรรมชาติ หากมีวัสดุอุดแบบโลหะอยู่ เมื่อมองจากด้านนอก
2. อุดฟันคอมโพสิตเรซิน (อุดฟันสีเหมือนฟัน)
อุดฟันคอมโพสิตเรซิน หรือที่เรียกกันว่า อุดฟันสีเหมือนฟัน เป็นการอุดฟันโดยใช้วัสดุ คอมโพสิตเรซิน ที่ให้สีเหมือนสีฟัน ทำให้เวลามองจะกลมกลืนไปกับสีฟัน นิยมใช้อุดฟันหน้าเพื่อความสวยงาม ทั้งนี้การอุดฟันรูปแบบนี้จะซับซ้อนมากกว่าการอุดฟันอมัลกัม ดังนั้นต้องรักษาโดยคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์
ข้อดีของการอุดฟันด้วยคอมโพสิตเรซิน
- ความสวยงาม – คอมโพสิตเรซินนอกจากจะมีสีเหมือนฟันแล้ว ยังสามารถเลือกเฉดสีให้ใกล้เคียงกับฟันซี่จะอุดได้ด้วย ทำให้เป็นวัสดุอุดที่มีความสวยงาม
- เชื่อมกับโครงสร้างของฟัน – เมื่อถูกนำมาใช้อุดฟัน คอมโพสิตเรซินจะเชื่อมต่อเข้ากับเนื้อเยื่อของฟัน ทำให้ฟันมีความแข็งแรงเสี่ยงต่อการร้าว หรือแตกได้
- ใช้งานได้หลากหลาย – นอกจากอุดฟันที่ผุแล้ว คอมโพสิตเรซินสามารถนำมาใช้ซ่อมแซมฟันที่บิ่น หรือแตกจากอุบัติเหตุ หรืออาจเอาไปใช้ในงานวีเนียร์ได้ด้วย
- เสียเนื้อฟันน้อย – เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุอุดแบบโลหะอมัลกัม คอมโพสิตเรซินใช้พื้นที่น้อยกว่า ซึ่งหมายถึงคุณหมอไม่จำเป็นต้องกรอฟันออกเป็นปริมาณมาก
ข้อเสียของการอุดฟันด้วยคอมโพสิตเรซิน
- อายุการใช้งานน้อย – คอมโพสิตเรซินมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี ก่อนที่จะเริ่มสึกหรอ ซึ่งน้อยกว่าอมัลกัมที่อยู่ได้นานถึง 10-15 ปี
- มีราคาแพงกว่า – เมื่อเปรียบเทียบกับอมัลกัม
- ต้องใช้ประสบการณ์ของคุณหมอ – เทคนิคในการอุดฟันด้วยคอมโพสิตเรซินมีความซับซ้อนซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ของคุณหมอมากกว่า
3. อุดฟันด้วยเซรามิก
4. อุดฟันด้วย Glass ionomer (GI)
ข้อดี - ข้อจำกัดของการอุดฟัน
ข้อดีของการอุดฟัน
- ช่วยหยุดการลุกลามของฟันผุ – ฟันผุอาจไม่ใช่เรื่องเล็กอย่างที่คิด หากละเลยไม่เข้ารับการอุดฟัน ฟันที่ผุก็อาจลุกลามเข้าสู่โพรงประสาทฟัน ก่อให้เกิดอาการปวด และต้องรักษารากฟันตามมา หากฟันสูญเสียเนื้อฟันเป็นจำนวนมากคุณอาจต้องทำครอบฟัน หรือถึงขนาดไม่สามารถเก็บฟันไว้ได้ต้อง ถอนฟัน ออก แล้วบูรณะฟันใหม่ด้วย ฟันปลอม สะพานฟัน หรือ รากฟันเทียม นอกจากนี้แบคทีเรียก่อโรคยังสามารถทำให้เกิดโพรงหนอง รวมถึงอาจลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง เช่นโพรงจมูก ตา หรือสมองได้
- ลดอาการเสียว หรือปวดฟันได้ – การอุดฟันสามารถลดหรือช่วยขจัดอาการที่เป็นผลจากฟันผุ ฟันแตกร้าว หรือฟันสึก เนื่องจากมีวัสดุอุดคอยปกป้องส่วนที่เป็นประสาทในเนื้อฟัน
- ช่วยให้คุณสามารถเก็บฟันธรรมชาติไว้ได้ – เมื่อได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที คุณก็สามารถเก็บฟันธรรมชาติซึ่งถือว่าเป็นฟันชุดที่ดีที่สุดที่คุณจะมีได้ไว้ใช้งาน และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายกับการรักษาอื่นๆ ที่มีราคาสูงกว่าการอุดฟันมาก
- เสริมความแข็งแรง – การอุดฟันทำให้โครงสร้างของฟันที่สูญเสียไปกลับมาแข็งแรงดังเดิม คุณสามารถกลับมาเคี้ยวอาหารได้อย่างปกติ
- ความสวยงาม – ใครๆ ก็ไม่อยากมีฟันที่เป็นรู สึกหรอ หรือบิ่นไม่สวยงาม การอุดนอกจากช่วยเรื่องการทำงานของฟันแล้ว ยังสามารถทำให้คุณกลับมายิ้มได้อย่างมั่นใจอีกด้วย
ข้อจำกัดของการอุดฟัน
- อายุการใช้งาน – คุณอาจต้องเปลี่ยนวัสดุอุดฟัน เมื่อเวลาผ่านไป ขึ้นอยู่กับวัสดุอุดที่ใช้ โดยทั่วไปแล้ว วัสดุอุดที่มีสีเหมือนฟัน เช่น คอมโพสิตเรซิน และ GI (Glass Ionomer) มีอายุประมาณ 5 ปีก่อนจะเริ่มสึก ยกเว้น เซรามิกที่ถึงแม้จะมีความสวยงามและสีเหมือนกับฟัน แต่ก็มีความแข็งแรงสามารถอยู่ได้นานกว่า 15 ปีซึ่งคล้ายกับวัสดุอุดฟันแบบโลหะเช่น อมัลกัม
- เสียวฟัน – หลังอุดฟัน คุณอาจรู้สึกเสียวฟันเมื่อรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นจัด
- อาการแพ้ – คุณอาจแพ้สารหรือส่วนประกอบของวัสดุอุดได้ อย่างไรก็ตามเป็นภาวะที่พบได้ยากมาก
- ราคา – อุดฟันราคาไม่แพงก็จริง แต่คงจะดีกว่า หากสามารถรักษาสุขภาพช่องปากและฟันได้ดี ไม่มีฟันผุจนทำให้ต้องอุดฟัน
การเตรียมตัวก่อนอุดฟัน
การเตรียมตัวเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้การอุดฟันประสบความสำเร็จ นี่คือคำแนะนำในการเตรียมตัวของคุณก่อนเข้ารับการรักษากับเรา
- นัดหมาย – ขั้นตอนแรกคือการทำนัดหมายกับเรา คุณหมอจะตรวจฟันและพิจารณาว่าการอุดฟันเป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมหรือไม่
- ทำความเข้าใจขั้นตอน – ก่อนการนัดหมาย คุณควรศึกษาขั้นตอน ความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับการอุดฟัน การอ่านบทความนี้ก็ถึงเป็นหนึ่งในการเตรียมตัวที่ดีเลยล่ะ! การที่คุณทราบข้อมูลมากขึ้น สามารถลดความกังวลของคุณลงได้
- แจ้งโรคประจำตัวของคุณ – หัตถการทางทันตกรรมสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณ โดยเฉพาะหากคุณมีโรคประจำตัวอยู่ คุณควรให้ข้อมูลประวัติการรักษากับทันตแพทย์ที่จะทำการอุดฟันให้กับคุณ เงื่อนไขทางการแพทย์บางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมไม่ได้ อาจทำให้คุณหมอมีความจำเป็นต้องเลื่อนนัดอุดฟัน และส่งปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณเพื่อปรับยา ก่อนนัดอุดฟันอีกครั้ง
- จัดเตรียมรถกลับบ้าน – หากคุณได้รับยาชาเฉพาะที่ คุณควรจะต้องจัดเตรียมรถกลับบ้าน คุณอาจไม่สามารถขับหรือใช้งานเครื่องจักรกลหนักในช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังจากขั้นตอนนี้
- ทำความสะอาดฟันของคุณ – แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันก่อนการนัดหมายเพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์หรือเศษอาหาร สิ่งนี้จะทำให้ขั้นตอนอุดฟันราบรื่นยิ่งขึ้นและอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ด้วย
- นำเอกสารที่สำคัญมาด้วย – เมื่อมาพบคุณหมอ หากคุณนำประวัติหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น X-ray ของเดิม ประวัติการรักษาทางทันตกรรม หรือรายชื่อยาที่รับประทานเป็นประจำ มาให้คุณหมอ ก็จะทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้ดียิ่งขึ้น
การอุดฟันเจ็บไหม
ในระหว่างอุดฟัน หากฟันผุ หรือแตกลึกลงไปถึงชั้นเนื้อฟันอาจจะมีอาการเสียวฟัน และปวดตึงมากว่าฟันที่ผุอยู่เฉพาะในส่วนชั้นของเคลือบฟันเท่านั้น เนื่องจากเนื้อฟัน (Dentine) ส่วนที่อยู่ด้านใน มีเส้นประสาทที่ไวต่อความรู้สึก และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
โดยปกติ หากมีอาการผุเพียงเล็กน้อยก็ไม่จำเป็นต้องฉีดยาชา แต่หากมีฟันผุขนาดใหญ่ ฟันที่ผุเป็นฟันกรามที่อยู่ลึก หรือมีความจำเป็นต้องใส่แผ่นยางกันน้ำลาย (Rubber Dam) ขณะอุด คุณหมออาจพิจารณาฉีดยาชาให้ ซึ่งยาชาจะออกฤทธิ์ประมาณ 2-3 ชม. ดังนั้น หมดกังวลเรื่องความเจ็บได้เลย
ขั้นตอนการอุดฟัน
คุณอาจกังวลว่าอุดฟันจะเจ็บไหม ใช้เวลานานหรือเปล่า การทราบขั้นตอน และวิธีอุดฟันจะช่วยให้คุณทราบว่าคุณหมอจะทำอะไรบ้าง เราหวังว่าข้อมูลด้านล่างจะช่วยให้คุณคลายกังวลลงได้
- ทำความสะอาดและเอ็กซเรย์ – คุณหมอจะทำความสะอาดบริเวณโดยรอบเพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์ และเศษอาหารที่ตกค้าง นอกจากนี้คุณหมออาจส่งเอ็กซเรย์เพื่อตรวจสอบขอบเขต และความลึกของฟันที่ผุ
- ยาชา – หากฟันผุขนาดใหญ่ หรือลึกมาก คุณหมออาจทา หรือฉีดยาชาบริเวณรอบๆ ฟันที่จะอุด เพื่อให้คุณไม่รู้สึกเจ็บปวดขณะอุดฟัน
- กำจัดฟันที่ผุ – คุณหมอจะกรอเนื้อฟันที่ผุออก รวมทั้งเตรียมพื้นที่สำหรับวัสดุอุดในขั้นตอนถัดไป
- ใส่วัสดุอุด – เมื่อฟันที่ผุถูกกำจัดออกไปเรียบร้อยแล้ว คุณหมอจะใส่วัสดุอุดลงไปในพื้นที่ซึ่งถูกกรอเตรียมไว้ วัสดุอุดจะถูกขึ้นรูป และตกแต่งให้มีรูปร่างเหมาะสมกับฟัน รวมถึงการสบฟัน ในกรณีที่ใช้คอมโพสิตเรซินในการอุดฟัน คุณหมอสามารถเลือกสีของวัสดุให้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุดให้กับคุณได้อีกด้วย
- ฉายแสง – คุณหมอจะใช้เครื่องฉายแสงส่องลงไปยังวัสดุอุดเพื่อให้วัสดุเซ็ทตัวและแข็งมากขึ้น
- ขัดตกแต่ง – คุณหมอจะขัดวัสดุอุดฟันให้เรียบและเงา ตรวจสอบการสบฟัน และกรอตกแต่งวัสดุอุดให้สามารถสบฟันได้อย่างพอดี
- นัดติดตามอาการ – ในกรณีที่รอยผุมีขนาดใหญ่ หรือคุณเลือกใช้วัสดุอุดประเภทเซรามิก คุณหมอจะต้องนัดคุณมาติดตามอาการ และ/หรือทำการรักษาต่อเนื่อง
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดหลังการอุดฟัน
- ผลข้างเคียงที่เกิดจากยาชา – คุณสามารถแพ้ยาชาได้ โดยคุณอาจมีอาการดังนี้ มีผื่นคัน หน้าบวมปากบวม หายใจลำบาก ความดันตก อย่างไรก็ตามเราไม่อยากให้คุณกังวลจนเกินไป เพราะการแพ้ยาชาพบได้น้อยมาก
- ฟันผุใหม่ – หลังอุดฟัน ฟันบริเวณรอบๆ วัสดุอุดยังสามารถผุได้ ซึ่งอาจเกิดจากทำความสะอาด แปรงฟันไม่ดี การรื้อวัสดุอุดเดิมออกและทำการรักษาใหม่จะทำให้คุณต้องสูญเสียเนื้อฟันเพิ่มเติม และอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนไปทำครอบฟันแทนการอุดฟัน
- วัสดุอุดรั่ว – เกิดจากในกรณที่มีช่องว่างระหว่างวัสดุอุด และฟัน ซึ่งแบคทีเรียสามารถเล็ดลอดเข้าไปก่อให้เกิดฟันผุตามมาใหม่ได้
- ฟันสบไม่พอดี – หากวัสดุอุดไม่พอดีกับฟันคู่สบก็อาจทำให้คุณเสียวฟัน หรือปวดเวลาเคี้ยวอาหารได้
- การบาดเจ็บต่อฟันหรือเนื้อเยื่อข้างเคียง – พบได้ไม่บ่อย และมักพบในการอุดฟันซึ่งอยู่ในตำแหน่งลึก และเข้าถึงยาก
แนะนำการดูแลตัวเองหลังการอุดฟัน
แนะนำการดูแลตัวเองหลังการอุดฟัน
การรับประทานอาหาร
- คุณสามารถเคี้ยวอาหารได้ทันทีหากอุดฟันด้วยคอมโพสิตเรซินสีเหมือนฟัน แต่ถ้าคุณใช้วัสดุอุดเป็นโลหะอมัลกัม คุณต้องรออย่างน้อย 24 ชม. ถึงจะสามารถเคี้ยวอาหารได้ ระหว่างนี้เราแนะนำให้คุณเคี้ยวด้วยฟันฝั่งที่ไม่ได้รับการอุดไปก่อน
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่แข็ง หรือเหนียวมากๆ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อฟันและวัสดุอุด
อาการปวด
- คุณอาจมีอาการปวดตึงในฟันซี่ที่อุดได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ อาการปวดควรจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ และหายไปภายในเวลาหนึ่งอาทิตย์
- หากคุณรู้สึกว่าวัสดุอุดค้ำฟันซี่ที่สบตรงข้าม ร่วมกับมีอาการปวด หรือหากคุณมีอาการปวดมากกว่า 1 อาทิตย์ หรือมีอาการปวดมากขึ้นกว่าตอนอุดฟันเสร็จ คุณควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเข้ารับการตรวจเช็ค และแก้ไข
อาการเสียวฟัน
- คุณอาจรู้สึกเสียวฟัน ขณะรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนจัด หรือเย็นจัด ยิ่งรอยผุลึกก็จะยิ่งมีโอกาสเสียวฟันมากขึ้น
- คุณสามารถใช้ยาสีฟันที่สามารถลดอาการเสียวฟันได้
- หากอาการเสียวฟันไม่หายไปในเวลา 2 อาทิตย์ คุณควรติดต่อเจ้าหน้าที่ของเรา
การรับประทานยาแก้ปวด
- คุณสามารถรับประทานยาแก้ปวด Paracetamol หรือ Ibuprofen ได้หากมีอาการปวด หรือเสียวฟันในวันแรกๆ หลังอุดฟัน
- กรุณาตรวจสอบประวัติแพ้ยากับเภสัชกรก่อนซื้อยามารับประทาน
รักษาสุขอนามัยภายในช่องปากอย่างเคร่งครัด
- คุณควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อย 1 ครั้งก่อนนอน
- ตรวจสอบยาสีฟันของคุณว่ามีฟลูออไรด์เป็นส่วนผสม เนื่องจากสามารถป้องกันฟันผุได้
- การส่งเสริมสุขภาพช่องปากถือเป็นการป้องกันปัญหาทันตกรรมที่ดีกว่าการรักษา
อุดฟันอยู่ได้นานแค่ไหน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะการใช้งานของวัสดุอุดฟัน
- วัสดุอุดที่ใช้ส่งผลโดยตรงต่ออายุการใช้งาน นี่คือค่าเฉลี่ยของระยะการใช้งานของวัสดุแต่ละประเภทก่อนที่จะเริ่มมีการเสื่อม
- คอมโพสิตเรซิน และ GI (Glass ionomer) ประมาณ 5 ปี
- โลหะอมัลกัม ประมาณ 10-15 ปี
- เซรามิก ประมาณมากกว่า 15 ปี
- พฤติกรรมของคุณ ก็เป็น 1 ใน 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุการใช้งาน โดยสิ่งที่สามารถลดอายุการใช้งานของวัสดุอุดลงได้แก่
- ละเลยการรักษาสุขอนามัยช่องปากของตัวเอง
- รับประทานหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูง
- เคี้ยวอาหารที่แข็ง หรือเหนียวเป็นประจำ
- โรคนอนกัดฟันที่ไม่ได้รับการรักษา หรือไม่ใส่เฝือกกัดฟันระหว่างนอนหลับ
ค่าใช้จ่ายอุดฟันราคาเท่าไหร่
หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วอุดฟันซี่ละเท่าไหร่ การจะตอบคำถามนี้ได้คุณต้องทราบถึงกายวิภาคศาสตร์ของฟันโดยคร่าวๆ ดังนี้
- ฟันของคุณมี 5 ด้าน คือ 1. ด้านกระพุ้งแก้ม (Buccal) 2. ด้านลิ้น (Lingual) 3. ด้านบดเคี้ยว (Occlusal) 4. ด้านประชิดฟันหน้า (Mesial) 5. ด้านประชิดฟันหลัง (Distal)
- ราคาอุดฟันจะคิดตามจำนวนด้านที่ผุ ฟันที่ผุหลายด้านจะใช้เวลา และทักษะของคุณหมอที่มากขึ้นในการอุดฟัน ทำให้มีค่ารักษาที่สูงขึ้น
- โดยปกติราคาอุดฟันมักเริ่มต้นอยู่ที่ 600-1,200 บาท (ขึ้นอยู่กับแต่ละคลินิก กรุณาตรวจสอบค่ารักษาที่แน่นอนกับคลินิกที่คุณจะเข้ารับการรักษาอีกครั้ง) ราคาจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนของด้านที่ผุ เพื่อความเข้าใจง่ายบางคลินิกจะตั้งเกณฑ์ราคา โดยมีค่ารักษาเพิ่ม 500-1,000 บาท ต่อด้านที่ผุ
- นอกจากจำนวนด้านแล้ว ความลึก และตำแหน่งของฟันก็อาจส่งผลต่อราคาอุดฟันได้ ฟันซี่ที่ผุลึกจนใกล้กับโพรงประสาทฟัน หรือเป็นฟันกรามที่อยู่ด้านใน จะมีความยากและซับซ้อนในการรักษาที่มากขึ้น ทำให้อาจมีค่ารักษาที่สูงกว่าโดยปกติทั่วไป
- จะเห็นว่าการบอกราคาอุดฟัน หรือการจะตอบคำถามว่าอุดฟันซี่ละเท่าไหร่ให้แม่นยำนั้น จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลการตรวจช่องปากและฟัน และอาจมีความจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีเอ็กซเรย์เพิ่มเติม จึงจะสามารถบอกได้แน่นอน – หากคุณกำลังต้องการอุดฟัน และอยากทราบงบประมาณที่ต้องใช้ในการอุดฟัน เราสามารถทำนัดให้คุณเข้ามาปรึกษากับคุณหมอก่อนได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
อุดฟันด้วยสิทธิประกันสังคม
- คุณสามารถใช้สิทธิประกันสังคมมาเป็นส่วนลดค่าอุดฟันได้ 900 บาทต่อปี
- คลินิกทันตกรรมส่วนใหญ่ รวมถึง Smile Seasons ได้ทำข้อตกลงกับสำนักงานประกันสังคม ให้คุณสามารถมาใช้สิทธิได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย เพียงยื่นบัตรประชาชนเพื่อเช็คสิทธิก่อนเข้าทำการรักษาเท่านั้น
- หากค่ารักษาเกินกว่า 900 บาท คุณจะชำระเพียงยอดที่เกินกว่า 900 บาทเท่านั้น
- คุณต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ 39 เท่านั้น (มาตรา 40 ไม่สามารถใช้สิทธิทันตกรรมได้)
สามารถอ่านบทความ ทันตกรรมประกันสังคม ทำฟัน ประกันสังคม 900 ไม่ต้องสำรอง คลิก!
อุดฟันที่ไหนดี
คลินิกทันตกรรมโดยทั่วไปสามารถอุดฟันให้คุณได้ แต่เมื่อตัวเลือกเยอะแยะขนาดนี้จะมีหลักเกณฑ์ในการเลือกคลินิกที่จะอุดฟันให้คุณที่ไหน อย่างไรดี เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด เรามีคำแนะนำมาฝากดังนี้
- เลือกคลินิกที่คุณหมอมีประสบการณ์ และมีทันตแพทย์เฉพาะทางออกตรวจ – การอุดฟันสามารถทำได้โดยทันตแพทย์ทั่วไปก็จริง แต่หากคุณเป็นเคสที่มีความซับซ้อนเช่น มีฟันผุขนาดใหญ่หลายด้าน ผุลึกมาก หรือฟันที่ผุเป็นฟันกรามซึ่งอยู่ด้านใน กรณีแบบนี้คุณควรได้รับการรักษาโดยทันตแพทย์เฉพาะทาง
- เลือกคลินิกที่คุณเดินทางได้สะดวก – การเผชิญรถติดเป็นชั่วโมงหลังอุดฟันคงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ คุณควรเลือกคลินิกที่อยู่ใกล้บ้าน ที่ทำงาน หรือคลินิกที่สามารถเดินทางได้สะดวกด้วยขนส่งสาธารณะอย่างเช่น รถไฟฟ้า BTS หรือ MRT
- เลือกคลินิกรีวิวดีๆ – ประสบการณ์ของคนไข้รายอื่นๆ เป็นส่วนสำคัญที่คุณควรนำมาพิจารณาในการเลือกคลินิกอุดฟันให้กับคุณ
- เลือกคลินิกที่มีราคาเหมาะสม – คุณสามารถสอบถามค่ารักษากับหลายๆ คลินิก เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน อย่างไรก็ตามคลินิกที่มีคุณหมอที่มีประสบการณ์ และมีบริการที่ดีย่อมมีราคาที่สูงขึ้น
อุดฟันกับ Smile Seasons
ที่ Smile Seasons คุณสามารถวางใจได้ว่าคุณจะได้รับการรักษาจากคุณหมอที่มีประสบการณ์ กรณีผู้ป่วยที่มีความซับซ้อน เรามีคุณหมอเฉพาะทางทั้ง Operative Dentist, Prosthodontist, Cosmetic Dentist ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการอุดฟันที่มีความซับซ้อนสูง และยังสามารถบูรณะฟันของคุณได้อีกด้วยหากมีความจำเป็น
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการอุดฟัน
อุดฟันใช้เวลานานไหม
การอุดฟันเป็นหัตถการที่ใช้เวลาไม่นานมาก ส่วนใหญ่แล้วจะทำการรักษาเสร็จภายใน 30-45 นาที
ฟันห่าง อุดได้ไหม
ฟันห่างสามารถแก้ไขได้หลายวิธีเช่น การจัดฟัน การทำวีเนียร์ หรือการอุดปิดช่องว่าง เราแนะนำให้คุณเข้ามาพบคุณหมอเพื่อรับคำปรึกษาว่าการรักษาแบบไหนเหมาะสมกับคุณมากที่สุด
จะรู้ได้อย่างไรว่าควรต้องอุดฟันแล้ว
หากคุณมาตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ คุณหมอมักจะตรวจเจอฟันผุได้ตั้งแต่เริ่มแรกซึ่งคุณมักไม่มีอาการผิดปกติ นี่เป็นวิธีการคัดกรองที่ดีที่สุด เพราะฟันผุในระยะเริ่มต้นนั้นสามารถรักษาได้ง่าย และเจ็บน้อยกว่าฟันผุที่ลุกลามขนาดใหญ่
แต่หากคุณไม่ได้พบคุณหมอฟันมานานแล้ว คุณอาจพบอาการของฟันผุเช่น การเสียวฟันเมื่อรับประทานอาหารที่ร้อนหรือเย็นจัด ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่ารอยผุนั้นทะลุชั้นเคลือบฟันลงไปจนถึงชั้นเนื้อฟันแล้ว นอกจากนั้นลิ้นของคุณอาจสัมผัสเจอความขรุขระที่ผิวหน้าของฟัน ซึ่งเป็นสัญญาณแรกๆ ของฟันผุที่สามารถตรวจพบได้ด้วยตัวเอง
เมื่อไหร่ที่ควรต้องเปลี่ยนวัสดุอุด
วัสดุที่ใช้อุดฟันนั้นมีอายุการใช้งานยาวนานหลายปี อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นวัสดุอุดประเภทไหน เมื่อผ่านการใช้งานมาถึงระยะหนึ่ง แรงกระทำจากการบดเคี้ยวก็อาจทำให้วัสดุอุดแตก บิ่น หรือเสื่อมสภาพลงได้ แบคทีเรียสามารถเล็ดลอดผ่านช่องว่างเล็กๆ เหล่านี้ และก่อให้เกิดฟันผุในเวลาต่อมา การตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำจะทำให้คุณหมอสามารถตรวจพบสัญญาณการเสื่อมของวัสดุอุดได้ตั้งแต่เริ่ม และเปลี่ยนให้คุณได้อย่างทันท่วงที
ที่อุดฟันหลุด ต้องทำอย่างไร
เมื่อที่อุดฟันหลุด ให้รีบไปพบทันตแพทย์ทันที เพื่อกรอเอาวัสดุที่อาจติดค้างอยู่ออก และทำการอุดฟันใหม่ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้ปวดฟันหรือเสียวฟัน และถ้ามีเศษอาหารเข้าไปติดบริเวณที่เป็นรู ก็จะยิ่งทำให้เกิดฟันผุลึกลงไปอีก
อุดฟันจัดฟันได้ไหม
หากวัสดุอุดฟันยังอยู่ในสภาพดี สามารถติดอุปกรณ์จัดฟันได้ตามปกติ
อุดฟันแล้วปวด ต้องทําอย่างไร
อาการปวดหลังอุดฟัน เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ แต่ในกรณีที่ปวดฟันซี่ที่อุด และเสียวฟันเกิน 1 อาทิตย์ ควรเข้ามาพบทันตแพทย์เพื่อการรักษาต่อไป
ข้อสรุปเกี่ยวกับการอุดฟัน
- Composite Fillings., Available from: https://www.mouthhealthy.org/all-topics-a-z/composite-fillings
- Dental fillings., Available from: https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/dental-fillings
- Tooth Filling | Dental Fillings by mydentist., Available from: https://www.mydentist.co.uk/dental-health/dental-treatments/fillings
- What are NHS fillings and crowns made of?., Available from: https://www.nhs.uk/common-health-questions/dental-health/what-are-nhs-fillings-and-crowns-made-of/
- Dental Fillings: Materials, Types, Sensitivity & Allergy Issues., Available from: https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/17002-dental-fillings
- All You Need to Know About Dental Fillings., Available from: https://www.webmd.com/oral-health/dental-health-fillings
บทความโดย
ทพ.พลช ปิยะกิจสมบูรณ์
ทันตแพทยศาสตร์ ม.รังสิต (เกียรตินิยมอันดับ 1)
มีคำถามอยากปรึกษาเกี่ยวกับการอุดฟัน?
อุดฟันกับ Smile Seasons
- ดูแลโดยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- ราคาสมเหตุสมผล
- ยืนยันด้วยรีวิวจากคนไข้ที่มาใช้บริการจริง
- เดินทางสะดวก ใกล้ BTS
กรอกรายละเอียดและรอการติดต่อจากเจ้าหน้าที่
รีวิวจากคนไข้ของเรา
โปรโมชั่นอื่นๆ
เกลารากฟันคืออะไร สำคัญต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร
เกลารากฟันเป็นการทำความสะอาดรากฟันใต้เหงือกลึก เพื่อกำจัดหินปูนและเชื้อแบคทีเรีย ช่วยรักษาโรคปริทันต์และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากที่รุนแรง
ทำความเข้าใจการปักสกรูเวลาจัดฟันคืออะไร
เจาะลึกทุกเรื่องเกี่ยวกับการปักสกรูจัดฟัน ตั้งแต่ขั้นตอน อาการที่อาจเกิดขึ้น และการดูแลตัวเองหลังปักสกรู พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
ใครจัดฟันต้องอ่าน เลือกแปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันอย่างไรให้เหมาะสม
ครบทุกเรื่องเกี่ยวกับแปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟัน เทคนิคการเลือก ประเภท และวิธีใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีระหว่างจัดฟัน
ชวนหาคำตอบจัดฟันแล้วฟันผุเกิดจากอะไร
จัดฟันแล้วฟันผุเกิดจากเศษอาหารติดตามซอกเครื่องมือจัดฟัน ซึ่งเป็นบริเวณที่ทำความสะอาดยาก หากดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดี อาจทำให้มีเกิดฟันผุได้
เปิดเทคนิคการเลือกแปรงสีฟันไฟฟ้าให้ตอบโจทย์
แนะนำเคล็ดลับการเลือกแปรงสีฟันไฟฟ้าที่เหมาะกับคุณ พร้อมเปรียบเทียบประเภท คุณสมบัติ และวิธีใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
เปิดสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วทอนซิล พร้อมแชร์วิธีรักษานิ่วทอนซิล
นิ่วทอนซิลเป็นก้อนเล็ก ๆ สีขาวเหลืองที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก เจ็บคอ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เรียนรู้วิธีป้องกันและวิธีรักษานิ่วทอนซิล เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี