สะพานฟัน

สะพานฟัน คืออะไร มีกี่รูปแบบ ข้อดี ข้อเสีย มีอะไรบ้าง

คุณเบื่อไหมที่ต้องหุบยิ้มเพราะฟันหลอ? อยากกลับมายิ้มได้อย่างมั่นใจ และรับประทานอาหารที่ชื่นชอบได้อีกครั้งใช่หรือเปล่า? สะพานฟันอาจเป็นทางออกที่คุณกำลังตามหา สะพานฟันเป็นฟันปลอมชนิดหนึ่งที่สามารถทดแทนฟันธรรมชาติที่หายไปตั้งแต่หนึ่งซี่ขึ้นไป และสามารถคืนรอยยิ้มที่สวยงามให้กับคุณ ลองจินตนาการถึงการกัดแอปเปิ้ล หรือยิ้มให้ภาพถ่ายโดยไม่รู้สึกประหม่า

 

วันนี้เราจะให้คุณหมอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสะพานฟันว่าคืออะไร มีกี่แบบ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และคุณเหมาะกับการทำสะพานหรือไม่ ตามอ่านกันได้เลย 

สารบัญเนื้อหา

สะพานฟัน คืออะไร

สะพานฟัน คืออะไร

สะพานฟัน เป็นฟันปลอมติดแน่นประเภทหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อใช้ทดแทนฟันที่หายไปตั้งแต่หนึ่งซี่ขึ้นไป โดยทั่วไปแล้วสะพานฟันจะประกอบไปด้วยฟันปลอมหนึ่งซี่หรือมากกว่า เรียกว่า pontics ซึ่งจะถูกยึดด้วยครอบฟัน โดยจะสวมทับลงไปบนฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงที่ถูกกรอเตรียมเอาไว้ หรือครอบทับลงไปบนรากฟันเทียมก็ได้ Pontics จึงลอยอยู่เหนือเหงือกคล้ายกับสะพาน


สะพานฟันสามารถทำจากวัสดุหลายชนิด เช่น โลหะ, เซรามิก Porcelain, ทองคำ หรือเป็นส่วนผสมจากหลายๆ อย่าง สะพานฟันจะถูกใช้เพื่อฟื้นฟูการทำงาน และความสวยงามให้กับรอยยิ้ม และช่วยป้องกันไม่ให้ฟันซี่ข้างเคียงล้มเข้าสู่ฟันซี่ที่หายไป

ประโยชน์ของสะพานฟัน

ประโยชน์ของสะพานฟัน
สะพานฟันถูกนำมาใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป และฟื้นฟูการทำงานและความสวยงามให้กับรอยยิ้ม มีเหตุผลหลายประการที่สะพานฟันอาจมีประโยชน์สำหรับคุณ
  • เพื่ออุดช่องว่างที่เกิดจากฟันที่ไปหายไปหนึ่งซี่ (หรือมากกว่า) – คุณหมอสามารถใช้สะพานฟันเพื่อทดแทนฟันที่หายไป เพื่อให้คุณสามารถเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น รวมทั้งสามารถออกเสียงพูดได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
  • เพื่อรักษารูปร่างของใบหน้า – ฟันที่หายไปอาจทำให้ใบหน้าสั้นลง ปากยุบลง ดูแก่กว่าวัย สะพานฟันสามารถช่วยรักษารูปทรงตามธรรมชาติของใบหน้าไว้ได้
  • เพื่อป้องกันฟันล้ม – เมื่อฟันหายไป ฟันที่เหลือจะเคลื่อนที่หรือล้มมาในช่องว่างที่เกิดขึ้น สะพานฟันสามารถรักษาตำแหน่งของฟันซี่ข้างเคียงให้อยู่กับที่ ป้องกันปัญหาทางทันตกรรมต่อไป
  • เพื่อปรับปรุงรูปลักษณ์ของรอยยิ้ม – สะพานฟันสามารถคืนรอยยิ้มที่สวยงามเป็นธรรมชาติ และทำให้คุณสามารถยิ้มได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง

ใครบ้างที่เหมาะกับสะพานฟัน

  • โดยทั่วไปแล้ว บุคคลในก็ตามที่ฟันซี่ติดกันหายไปตั้งแต่ 1-3 ซี่ อาจเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการทำสะพานฟัน อย่างไรก็ตามการจะตอบคำถามได้ว่าสะพานฟันเหมาะกับคุณหรือไม่จะต้องพิจารณาถึง ผลการตรวจฟัน สภาพของเหงือก กระดูกกราม และประวัติโรคประจำตัวของคุณอย่างละเอียดถี่ถ้วน
  • การจะทำสะพานฟันให้สำเร็จได้นั้น คุณต้องมีฟันและสุขภาพช่องปากที่ดี ไม่มีโรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบ ซึ่งหากคุณเป็นโรคเหงือก คุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาก่อนที่จะทำหัตถการ
  • หากคุณต้องการทำสะพานฟันแบบดั้งเดิม (ไม่ฝังรากฟันเทียม) ฟันที่เป็นฐานของสะพานฟันจะต้องมีแข็งแรงมากที่จะรองรับส่วนครอบฟันของสะพานฟันได้ หลังจากกรอเนื้อฟันออกบางส่วน
  • สำหรับสะพานฟันที่ทำร่วมกับการฝังรากเทียม คุณต้องมีกรามที่มีมวลกระดูกหนาแน่นเพียงพอที่จะรับรากฟันเทียมได้ หากมวลกระดูกเบาบาง คุณอาจต้องได้รับการปลูกกระดูก หรือปรับเปลี่ยนตัวเลือกในการรักษา
  • วิธีที่ดีที่สุดในการจะทราบว่าสะพานฟันเหมาะกับคุณหรือไม่ คือการนัดหมายกับเราเพื่อให้คุณหมอตรวจฟันที่เหลืออยู่ของคุณอย่างละเอียด หลังจากนั้นคุณหมอจะสามารถให้คำแนะนำทางเลือกในการทดแทนฟันที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ และยังตอบทุกคำถามที่คุณสงสัยได้ด้วย

รูปแบบการทำสะพานฟัน

สะพานฟันมี 4 ประเภทหลัก แต่ละชนิดมีรายละเอียดและเทคนิค รวมถึงข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน

1. สะพานฟันแบบทั่วไป (Traditional Fixed Bridge)

สะพานฟันแบบทั่วไป

สะพานฟันแบบทั่วไปนั้นเป็นประเภทที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด โดยคุณหมอจะสวมส่วนที่เป็นครอบฟันลงไปบนฟันซี่ข้างเคียง โดยมีฟันอีก 1-2 ซี่ ที่เราเรียกว่า Pontics ลอยอยู่เหนือเหงือก โดยส่วนใหญ่วัสดุจะทำจากเซรามิก Porcelain หลอมรวมกับโลหะ

 

สะพานฟันประเภทนีใช้ทดแทนฟันที่หายไปโดยฟันซี่ข้างเคียงทั้งสองซี่จะต้องแข็งแรง สามารถรองรับสะพานฟันได้ ซึ่งทั้งสองซี่จะต้องถูกกรอเนื้อฟันออกก่อนที่จะใส่สะพานฟัน

2. สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว (Cantilever Bridge)

สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว (Cantilever Bridge)

สะพานฟันชนิดนี้จะยึดกับฟันซี่ข้างเคียงเพียงซี่เดียว มักถูกเลือกใช้ในกรณีที่ด้านหนึ่งของฟันที่หายไปนั้นไม่มีฟันที่สามารถยึดกับ Pontics ได้ ข้อดีคือคุณจะสูญเสียเนื้อฟันสำหรับใส่สะพานฟันเพียงซี่เดียว

 

อย่างไรก็ตามสะพานฟันแบบหลักยึดข้างเดียวนั้นมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความสามารถในการรับแรงบดเคี้ยวที่น้อยกว่า จึงมักทำในกรณีที่มีความจำเป็น และมักทำเฉพาะในฟันซี่หน้าเท่านั้น เนื่องจากฟันซี่หลังมีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยว

3. สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ (Maryland Bonded Bridge)

สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ (Maryland Bonded Bridge)

สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ใช้หลักการเดียวกับสะพานฟันแบบทั่วไป แต่แทนที่ใช้ครอบฟันที่ตัวยึด สะพานฟันแบบนี้จะใช้โครงโลหะ หรือเซรามิกแทน ข้อดีคือคุณไม่ต้องกรอเนื้อฟันซี่ข้างเคียงเพื่อเป็นหลักยึด


สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์เป็นทางเลือกที่มีราคาย่อมเยากว่า อย่างไรก็ตามความแข็งแรงจะขึ้นอยู่กับการเทคนิคในการยึด รวมทั้งมึข้อเสียคือโครงสร้างโลหะด้านหลังฟันอาจทำให้ฟันดูเปลี่ยนคล้ำลงได้

4. สะพานฟันร่วมกับรากฟันเทียม (Implant-Supported Bridge)

สะพานฟันร่วมกับรากฟันเทียม (Implant-Supported Bridge)
สะพานฟันชนิดนี้จะใช้รากฟันเทียมแทนการกรอฟันธรรมชาติเพื่อเป็นหลักยึด ทำให้สะพานฟันที่รองรับด้วยรากฟันเทียมไม่จำเป็นต้องมีฟันข้างเคียง สามารถใช้ในช่องว่างที่เกิดจากฟันหายไปหลายซี่ได้ รากฟันเทียมยังเป็นที่รู้จักในด้านความแข็งแรงทนทาน และความสามารถในการฟื้นฟูการทำงานของฟัน อย่างไรก็ตาม สะพานฟันประเภทนี้ต้องมีขั้นตอนการฝังรากเทียม มีระยะเวลาในการรักษาและฟื้นตัวที่นานกว่า รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าด้วย อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รากฟันเทียม ได้ที่นี่

สะพานฟันราคาเท่าไหร่

สะพานฟันราคาเท่าไหร่

ราคาของสะพานฟันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยได้แก่ ประเภทของสะพานฟัน จำนวนซี่ และวัสดุที่ใช้ผลิตสะพานฟัน ซึ่งมีหลากหลายแบบ คุณหมอจะเป็นผู้เลือกวัสดุที่เหมาะสมกับซี่ฟันรวมถึงการใช้งานให้กับคุณ

 

ราคาสะพานฟันแบบทั่วไป เริ่มต้นที่ 9,000-10,000 บาทต่อซี่ หากต้องการวัสดุที่เป็นเซรามิกทั้งชิ้นราคาจะประมาณ 16,000 บาทต่อซี่ 

วัสดุในการทำสะพานฟัน

วัสดุในการทำสะพานฟัน

สะพานฟันสามารถผลิตจากวัสดุต่างๆ ได้มากมาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของ เช่น หากต้องการปรับปรุงความสวยงามของรอยยิ้ม โดยเฉพาะในฟันหน้า ก็ควรเลือกวัสดุประเภทเซรามิกที่ดูเป็นธรรมชาติ

 

ความแข็งแรงเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ควรพิจารณา บ่อยครั้งที่วัสดุที่เลือกใช้จะผสมผสานทั้งความแข็งแรงและความสวยงามเข้าด้วยกัน วัสดุทั่วไปที่ใช้ทำครอบฟันและสะพานฟัน ได้แก่ เซรามิก Porcelain โลหะผสม ทอง และอะคริลิก อย่างไรก็ตามการตัดสินใจว่าจะใช้วัสดุใดนั้นขึ้นอยู่กับคุณหมอและช่างเทคนิคในห้องปฏิบัติการ ผู้ซึ่งจะรู้ว่าวัสดุชนิดใดที่ใช้ได้ผลดีที่สุดสำหรับฟันของคุณ

สะพานฟันที่ทำจากวัสดุผสมระหว่างเซรามิกและโลหะ (PFM - Porcelain Fused to Metal Bridge)

PFM นั้นจะใช้เซรามิกคลุมบริเวณด้านนอกด้วยโลหะผสม ซึ่งจะได้ความสวยงามจากเซรามิก และได้ความแข็งแรงจากโลหะผสม เหมาะสำหรับฟันหลัง ฟันกรามที่ต้องรับแรงในการบดเคี้ยว ถือเป็นหนึ่งในวัสดุที่พบได้บ่อยที่สุดในการทำสะพานฟัน

สะพานฟันที่ทำจากวัสดุเซรามิกล้วน (All Porcelain Bridge)

เซรามิกมีความพิเศษที่สามารถผลิตออกมาให้เงางาม มีสีสัน พื้นผิวที่เหมือนกับฟันธรรมชาติอย่างมาก นอกจากนั้นยังทนต่อการติดสีอีกด้วย จึงนิยมนำมาใช้งานในส่วนของฟันหน้า

สะพานฟันที่ทำจากโลหะล้วน (All Gold Bridge)

สะพานฟันชนิดนี้จะเน้นเรื่องความแข็งแรงทนทานต่อแรงกดดันจากการบดเคี้ยว ไม่บิ่นหรือแตกเหมือนกับวัสดุที่ทำจาก หรือมีส่วนผสมของเซรามิก แต่ก็จะสูญเสียความสวยงามไป จึงนิยมใช้เฉพาะในฟันกรามซี่ในซึ่งมีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยว 

ข้อจำกัดของการทำสะพานฟัน

ข้อจำกัดของการทำสะพานฟัน
  • สะพานฟันถือเป็นฟันปลอมแบบติดแน่นชนิดหนึ่ง ส่วนของสะพานฟันจะถูกเชื่อมเข้ากับฟัน และไม่สามารถถอดออกได้ ฉะนั้นสะพานฟันจึงเป็นการรักษาที่ไม่สามารถเปลี่ยนใจได้
  • การทำสะพานฟันจำเป็นจะต้องกรอเนื้อฟันข้างเคียงออก
  • ฟันตรงกลางของสะพานฟัน หรือ Pontics นั้นลอยอยู่เหนือเหงือก ไม่มีส่วนรากฟันที่จะคอยส่งแรงจากการบดเคี้ยวลงไปยังกระดูก ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของกระดูกสันเหงือก
  • มีอายุการใช้งานประมาณ 10-15 ปี และอาจต้องมาเปลี่ยนใหม่

ระหว่างสะพานฟันกับรากฟันเทียม ทำอันไหนดี

เมื่อคุณสูญเสียฟันไป คุณสามารถทดแทนฟันได้ทั้งหมด 3 วิธีนั่นคือ ฟันปลอมแบบถอดได้ การทำสะพานฟัน และการทำรากฟันเทียม ซึ่งเป็นชนิดติดแน่นถาวร

ในอดีตรากฟันเทียมที่มีคุณภาพดีมีราคาแพงมาก ราคาซี่หนึ่งก็หลายหมื่น จนถึงเป็นแสนบาท แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางทันตกรรมก้าวหน้าขึ้นมาก เราสามารถผลิตรากฟันเทียมที่มีคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง จนบางครั้งราคาค่าใช้จ่ายในการทำสะพานฟันกับรากฟันเทียมแทบไม่แตกต่างกัน ซึ่งนำมาสู่คำถามที่ว่า ระหว่างสะพานฟันกับรากฟันเทียม คุณควรเลือกทำอะไรดี

 

  • รากฟันเทียมสามารถรับแรงบดเคี้ยวได้มากกว่าสะพานฟัน เนื่องจากมีส่วนที่ยึดลงไปในกระดูกขากรรไกร คุณจึงกสามารถทานอาหารได้สะดวก และหลากหลายกว่า
  • ไม่จำเป็นต้องกรอฟันข้างเคียงให้เสียเนื้อฟันธรรมชาติ
  • ลดโอกาสการละลายของกระดูกสันเหงือก เนื่องจากมีการกระจายแรงบดเคี้ยวลงสู่กระดูกอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้ลดอัตราการละลาย และส่งเสริมการสร้างกระดูกสันเหงือกที่สุขภาพดีขึ้นมาใหม่
  • รากฟันเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ส่วนใหญ่คนไข้ทำครั้งเดียวแล้วก็อยู่ได้ตลอดชีวิต ต่างจากสะพานฟันที่มีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 10 ปีเท่านั้น

 

โดยสรุปแล้ว รากฟันเทียมเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการทดแทนฟันธรรมชาติที่หายไปของคุณ ซึ่งปัจจุบันมีราคาใกล้เคียงกับการทำครอบฟัน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีข้อจำกัดในการฝังรากเทียม เช่น มีโรคประจำตัวหรือมีพยาธิสภาพที่อาจเป็นอุปสรรคในการฝังรากฟันเทียม  มีมวลกระดูกบาง สะพานฟันก็อาจเป็นทางเลือกในการรักษา

5 ขั้นตอนการทำสะพานฟัน

โดยทั่วไปการทำสะพานฟัน คุณจะต้องมาพบคุณหมอ 2ครั้งขึ้นไป ซึ่งขั้นตอนการทำจะประกอบไปด้วย

1. การเตรียมฟัน

การเตรียมฟัน

ฟันที่อยู่ข้างช่องว่างจะเรียกว่า Abutment teeth จะถูกกรอตกแต่งให้มีขนาดลดลง เพื่อให้มีที่ว่างเพียงพอสำหรับการใส่สะพานฟันได้พอดี

2. การพิมพ์ฟัน

การพิมพ์ฟัน

คุณหมอจะพิมพ์ฟัน Abutment ที่ถูกเตรียมไว้ พร้อมกับช่องว่างซึ่งจะเป็นที่อยู่ของฟันบนสะพานฟันซึ่งเรียกว่า Pontics พิมพ์ฟันที่เกิดขึ้นจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการทางทันตกรรมเพื่อผลิต สะพานฟันขึ้นมาซึ่งจะมีสีสัน รูปร่างที่คล้ายกับฟันธรรมชาติของคุณ กระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับจำนวนซี่ฟัน และความซับซ้อนของเคส

3. สะพานฟันชั่วคราว

สะพานฟันชั่วคราว
ระหว่างรอผลิตสะพานฟันถาวร คุณหมอจะใส่สะพานฟันชั่วคราวให้กับคุณไปก่อน

4. ใส่สะพานฟันจริง

ติดตั้งสะพานฟันจริง
คุณหมอจะรื้อสะพานฟันชั่วคราวออก และติดตั้งตัวจริงลงไป สะพานฟันจะถูกปรับเพือให้แน่ใจว่าแนบพอดี และสามารถเคี้ยวได้สะดวก หลังจากนั้นสะพานฟันจะถูกยึดเข้าที่

5. นัดติดตามอาการและผลลัพธ์

นัดติดตามอาการและผลลัพธ์
คุณหมอจะนัดตรวจติดตามผลเพื่อตรวจสอบความพอดี และการสบฟันของสะพานฟัน และเพื่อให้แน่ใจว่าฟันและเหงือกบริเวณครอบฟันแข็งแรง

เตรียมตัวก่อนทำสะพานฟันอย่างไร

คุณไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษก่อนทำสะพานฟัน อย่างไรก็ตามเราแนะนำให้คุณปฎิบัติดังนี้

 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ สวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ ในวันนัด
  • หากคุณหมอมีคำแนะนำให้รับประทานยา หรือหยุดยาตัวใดเป็นพิเศษ คุณควรปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่ถ้าไม่มีคำแนะนำพิเศษ คุณควรรับประทานยาประจำตัวตามปกติ
  • วางแผนการเดินทาง อาจให้ครอบครัวหรือเพื่อนขับรถมารับมาส่งก็ได้
  • คุณไม่จำเป็นต้องงดอาการ เพียงแค่บ้วนปากแปรงฟันให้เรียบร้อยก่อนมาพบคุณหมอก็เพียงพอ

ข้อแนะนำหลังการทำสะพานฟัน

ข้อดีของสะพานฟันซึ่งเป็นฟันปลอมแบบติดแน่นชนิดหนึ่งคือคุณไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการถอดออกมาล้าง หรือการเก็บรักษา เพียงรักษาความสะอาดในช่องปาก แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันก่อนนอนเป็นประจำก็เพียงพอ นอกจากนั้นเราแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่แข็ง หรือเหนียวมากๆ เพราะอาจทำให้สะพานฟันบิ่น แตก หรือชำรุดเสียหาย รวมทั้งควรมาพบคุณหมอทุกๆ 6 เดือน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสะพานฟัน

ประกันสังคมสามารถเบิกฟันปลอมประเภท ‘ถอดได้’  เท่านั้น  สะพานฟันซึ่งอยู่ในกลุ่มฟันปลอมประเภท ‘ติดแน่น’ จึงไม่สามารถเบิกประกันสังคมได้

ทำได้ วัสดุที่เหมาะกับฟันหน้าคือ เซรามิกทั้งชิ้น (All Porcelain Bridge) เพราะมีความเงางาม และมีสีสันที่เหมือนกับฟันธรรมชาติมาก

คุณสามารถจัดฟัน ร่วมกับการใส่สะพานฟันได้ หากคุณยังไม่ได้ใส่สะพานฟันคุณหมอจะแนะนำให้จัดฟันให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แต่หากคุณใส่สะพานฟันอยู่แล้ว คุณยังสามารถจัดฟันได้แต่การวางแผนการรักษาอาจจะมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากฟันที่ผ่านการบูรณะจะเคลื่อนที่ได้จำกัด นอกจากนั้นการติดเครื่องมือจัดฟันก็อาจทำได้ยากกว่าเพราะโดยปกติจะถูกออกแบบมาสำหรับติดลงบนฟันธรรมชาติเท่านั้น

สะพานฟันมีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี ก่อนที่คุณจะต้องเปลี่ยนใหม่ คนไข้บางคนอาจใช้งานได้น้อย หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับการดูแลความสะอาดของช่องปากโดยเฉพาะโดยรอบสะพานฟัน

สะพานฟันสามารถวางครอบลงบนรากฟันเทียมแทนฟันธรรมชาติได้ ซึ่งจะมีความแข็งแรงสูง และสามารถทดแทนฟันได้มากขึ้น (ตั้งแต่ 3 ซี่ติดกันขึ้นไป)

ทำสะพานฟันที่ Smileseasons

คืนรอยยิ้มของคุณให้กลับมาด้วยการทำสะพานฟันกับ Smile Seasons สะพานฟันของเราถูกออกแบบขึ้นมาสำหรับคุณโดยเฉพาะ ผลิตจากวัสดุที่ทนทานแข็งแรง ไม่ว่าคุณจะฟันหายไปหนึ่งซี่ หรือหลายซี่ สะพานฟันสามารถช่วยฟื้นฟูฟันของคุณให้กลับมา กิน พูด และยิ้มได้อย่างมั่นใจ

 

อย่ารอช้าที่จะจัดการกับช่องว่างในรอยยิ้มของคุณ – โทรหาเราวันนี้ที่ 02-114-3274 หรือ กรอกแบบฟอร์มด้านล่างและรอเจ้าหน้าที่ของเราติดต่อเพื่อนัดวันเวลารับคำปรึกษาจากคุณหมอ รวมทั้งเรียนรู้เพิ่มเติมว่าสะพานฟันมีประโยชน์ และเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับคุณหรือไม่

กำลังอยากทำสะพานฟันอยู่ ?

กรอกรายละเอียด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของเราติดต่อกลับและทำนัดให้คุณมาพบกับคุณหมอ คุณสามารถเข้ามาขอรับทำแนะนำจากทันตแพทย์เฉพาะทางของเราได้ พบคำตอบว่าการทำสะพานฟันเหมาะกับคุณหรือไม่ ได้ที่นี่ลงทะเบียนเลย

รีวิวจากคนไข้ของเรา

คุณหมอน่ารัก มือเบา พี่ๆพนักงานน่ารัก ชอบมากเลยค่ะ 😍
Ploylalin Tn Avatar
Ploylalin Tn
24 Mar 2023
พนักงานน่ารัก บริการดีค่ะ คุณหมอพูดเพราะมาก มือเบามากๆค่ะ 🥰
Tee Teera Avatar
Tee Teera
22 Mar 2023
Impressive experience in Dental Crown at Smile Season Dental Clinic, Onnut Branch with Dr.Meen.

#ExperiencedService #AmazingPatientConsultation
#DentalServiceOnnut
#DentistInThailand
Nadia Tsu Avatar
Nadia Tsu
20 Mar 2023
คุณหมอน่ารัก ใจดีมากค่ะ เดินทางสะดวก คลินิกสะอาด พี่ๆหน้าเคาเตอร์ใจดีค่ะ โดยรวม ชอบค่ะ 😊
Lo Pop Avatar
Lo Pop
20 Mar 2023
โปรโมชั่นอื่นๆ
รีเทนเนอร์ FM

รีเทนเนอร์ (retainer) คืออะไร รวมความรู้เกี่ยวกับรีเทนเนอร์ที่ทุกคนต้องรู้ จากทันตแพทย์

รีเทนเนอร์ ราคาพิเศษ 2,999 สีเยอะ ลายเพียบ หรือจะออกแบบเองก็ได้ ใส่ Glitter เลือกสียางด้านหน้าได้ มีทั้งแบบเหล็ก และแบบใส – ดูแลโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อ่านรายละเอียดที่นี่

จัดฟัน999FM

คลินิกจัดฟันที่จะทำให้ทุกคนตกหลุมรักรอยยิ้มของคุณ

ดูแลโดยทีมคุณหมอที่มีประสบการณ์เปลี่ยนแปลงรอยยิ้มให้กับคนไข้หลายพันคน – โปรโมชั่นมีทั้งจัดฟันครั้งแรก กับรอบสอง ก้าวแรกแห่งรอยยิ้มที่สวยงามเริ่มต้นที่นี่คลิกเลย

ฟันปลอม Feature Image

ฟันปลอม

คืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนที่คุณรักได้ง่ายๆ เพียงทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปด้วยฟันปลอมหลากหลายรูปแบบ ทั้งฟันปลอมติดแน่น และถอดได้ อ่านรายละเอียดได้จากที่นี่

ดี-aligner Featured Image

จัดฟันใส ดี-Aligner

‘ดี-aligner’ จัดฟันใสชนิดถอดได้ ไม่เสียบุคลิกภาพ รักษาความสะอาดง่าย เจ็บน้อย จัดเสร็จเร็ว ผลิตด้วยเทคโนโลยีระดับโลก ในราคาเท่ากับการจัดฟันแบบธรรมดา – คลิ๊กอ่านรายละเอียด

ขูดหินปูนคืออะไร

ขูดหินปูน ราคาเท่าไหร่ เจ็บไหม สิ่งที่ควรรู้ก่อนขูดหินปูนมีอะไรบ้าง

ขูดหินปูนราคาเท่าไหร่ ใช้ประกันสังคมแบบไม่สำรองจ่ายได้หรือไม่ ก่อนขูดหินปูนต้องรู้อะไรบ้าง ที่นี่มีคำตอบ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้