
ฟันเหยินเกิดจากอะไร จัดฟันดีไหม ดูวิธีแก้ฟันเหยิน ปากอูมจากหมอฟัน
ฟันเหยิน เป็นการเรียงตัวที่ผิดปกติของฟันแบบหนึ่งที่นอกจากจะส่งผลกระทบต่อความสวยงามแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพของช่องปากและสุขภาพโดยรวมของคุณได้อย่างคาดไม่ถึง หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ฟันเหยินแล้วมีอาการปวดขากรรไกร ฟันผุบ่อยๆ เนื่องจากรักษาสุขอนามัยช่องปากได้ไม่ดี คุณอาจจำเป็นต้องเข้ามาพบคุณหมอโดยเร็ว บทความนี้ Smile Seasons ของเราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับภาวะฟันเหยินว่าคืออะไร เมื่อไหร่ที่ต้องมาพบคุณหมอ และมีวิธีการรักษาอย่างไร ตามอ่านรายละเอียดที่นี่ได้เลย
ฟันเหยินเป็นอย่างไร
ฟันเหยิน (Overbite) คือ ภาวะของฟันบนที่ไม่งอกออกมาตามแนวตรงตามปกติ แต่กลับกลายเป็นฟันยื่นออกมาในองศาที่มีความเอียงไปด้านหน้าแทน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันบนและฟันล่างไม่สามารถสบกันตามปกติได้ ซึ่งระดับความรุนแรงของการยื่นออกมาจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งถ้าหากยื่นออกมาเพียงเล็กน้อยก็อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่ถ้าหากยื่นออกมามากจนเกินไปจนทำให้ฟันไม่สบกันจนเป็นปัญหา ก็ควรเข้ารับการรักษาจะดีที่สุดเพราะไม่เช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้
สาเหตุของการเกิดฟันเหยินคืออะไร
สาเหตุของการเกิดฟันเหยิน เกิดจาก 5 ปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้
กรรมพันธุ์
หากบุคคลในครอบครัวมีภาวะฟันเหยินมาก่อน ภาวะนี้อาจส่งต่อผ่านทางพันธุกรรมมาสู่รุ่นลูกและหลานได้
พฤติกรรมที่ทำจนเกิดเป็นนิสัย
พฤติกรรมบางอย่างที่ทำมาตั้งแต่ในวัยเด็ก เช่น การดูดนิ้ว การติดการดูดจุกนม การใช้ลิ้นดุนฟัน หรือการกัดฟัน อาจส่งผลให้เกิดภาวะฟันเหยินได้
ความผิดปกติของฟัน
การสูญเสียฟันน้ำนมหรือฟันหน้า การมีรูปร่างฟันที่ผิดปกติ รวมไปถึงการงอกขึ้นของฟันที่ผิดปกติและภาวะเหงือกอักเสบ อาจส่งผลให้ฟันเกิดการเบียดตัวกันและดันให้ฟันหน้ายื่นออกมาได้
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อใบหน้า
หากกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนที่ใช้ในการบดเคี้ยวอาหารมีความผิดปกติเกิดขึ้น อาจส่งผลให้ขากรรไกรล่างโดนดึงเข้าสู่ช่วงด้านในปาก ขากรรไกรบนจึงคร่อมลงบนขากรรไกรล่าง ทำให้เกิดภาวะฟันเหยินได้
ความผิดปกติของกระดูกใบหน้าและกะโหลกศีรษะ
กระดูกขากรรไกร ฐานกะโหลกส่วนหลัง หรือกระดูกเบ้าฟันที่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะฟันเหยินได้
ผลกระทบของการเกิดฟันเหยิน

การมีภาวะฟันเหยินเพียงเล็กน้อย อาจไม่ส่งผลอะไรต่อร่างกายมากมายนักแต่อาจทำให้เกิดการสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เวลาพูดหรือยิ้ม แต่ถ้าหากมีภาวะฟันเหยินค่อนข้างมาก อาจส่งผลต่อข้อต่อขากรรไกร การอ้าปาก การหุบปาก และเหงือกอักเสบ ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดหรือมีเสียงดังขณะที่อ้าปากหรือเคี้ยวอาหาร รวมไปถึงการสบของฟันล่างที่กัดเข้ากับบริเวณเพดานปากทำให้มีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นอีกด้วย
ขั้นตอนการเข้ารับการวินิจฉัยฟันเหยินจากทันตแพทย์
หากมีภาวะฟันเหยิน ควรเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อประเมินระดับความรุนแรงว่ามากหรือน้อย และประเมินว่าภาวะฟันเหยินนี้เกิดจากอะไร มีความผิดปกติใดร่วมด้วยหรือไม่ เพื่อที่จะสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างเหมาะสม
วิธีการรักษาอาการฟันเหยิน

การรักษาอาการฟันเหยินจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแต่ละบุคคล ซึ่งโดยปกติแล้วจะแบ่งวิธีการรักษาออกเป็น 2 วิธี ดังนี้
รักษาด้วยวิธีจัดฟัน
การรักษาด้วยวิธี จัดฟัน สามารถใช้ได้ทั้งการจัดฟันแบบเหล็กและการจัดฟันแบบใส วิธีการนี้มักใช้กับเด็กหรือวัยรุ่นซึ่งยังอยู่ในวัยที่ร่างกายสามารถเจริญเติบโตได้ หรือในกลุ่มคนที่อาการไม่รุนแรงมากจนเกินไปและสามารถแก้ไขได้จากการจัดฟันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาตามความเหมาะสม การรักษาด้วยวิธีจัดฟันนี้จะเป็นการรักษาที่ใช้สำหรับการดึง ดัน หรือกดฟันให้เข้าที่เป็นส่วนใหญ่
รักษาด้วยวิธีผ่าตัด
การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด มักใช้สำหรับผู้ที่เป็นผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีภาวะฟันเหยินที่ค่อนข้างรุนแรง และเป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของใบหน้า กะโหลกศีรษะ และขากรรไกร ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเพียงเท่านั้น
ฟันเหยิน มีวิธีป้องกันหรือไม่
เนื่องจากภาวะฟันเหยินเป็นภาวะที่เกิดจากกรรมพันธุ์ จึงทำให้ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่สามารถป้องกันภาวะฟันเหยินที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำเป็นประจำได้ เช่น การดูดนิ้ว การใช้ลิ้นดุนฟันหน้า และการดูดจุกนม การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะฟันเหยินได้ และการเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ตั้งแต่ยังเด็กถ้าหากสังเกตเห็นว่าเริ่มมีภาวะฟันเหยิน ก็จะสามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน
สรุป
ภาวะฟันเหยินอาจไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงมากนักหากไม่ได้เป็นหนักมากจนเกินไป แต่ก็อาจส่งผลให้สูญเสียความมั่นใจได้มากกว่าที่คิด ดังนั้น การเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อประเมินอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงสามารถช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับคนที่สนใจติดต่อแพทย์เพื่อเข้ารับการปรึกษาเกี่ยวกับภาวะฟันเหยิน สามารถติดต่อ Smile Seasons ได้เลยที่ LINE @smileseasons.dc หรือโทร 02-114-3274
- Overjet Vs. Overbite: What’s The Difference?., Available from: https://www.colgate.com/en-us/oral-health/early-orthodontics/overjet-vs-overbite-whats-the-difference
- Overbite Vs Normal Bite: Differences, Causes, And Treatment., Available from: https://pvpd.com/overbite-vs-normal/
- Overbite: Understanding the Overbite and How to Correct it., Available from: https://www.ericdavisdental.com/faqs-and-blog/blog/overbite-understanding-the-overbite-and-how-to-correct-it/
บทความโดย

ทพ.สาริศ บุณยพิพัฒน์
Certificate of Training Orthodontic – Advance Orthodontic Society
ทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวจากคนไข้ของเรา



โปรโมชั่นอื่นๆ

จัดฟันคืออะไร มีกี่แบบ รวมข้อมูลการดัดฟันที่ต้องรู้
ดูแลโดยทีมคุณหมอที่มีประสบการณ์เปลี่ยนแปลงรอยยิ้มให้กับคนไข้หลายพันคน – โปรโมชั่นมีทั้งจัดฟันครั้งแรก กับรอบสอง ก้าวแรกแห่งรอยยิ้มที่สวยงามเริ่มต้นที่นี่คลิกเลย

รีเทนเนอร์ ราคาเท่าไหร่ คืออะไร จำเป็นต้องใส่ไหม
รีเทนเนอร์ ราคาเท่าไหร่ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร มีกี่ประเภท จำเป็นต้องใส่ไหม ต้องใส่เป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ ถ้าไม่ใส่จะเป็นยังไง

ฟอกสีฟัน ราคาเท่าไหร่ ฟอกฟันขาวได้จริงไหม มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
ฟอกสีฟัน ฟอกฟันขาว ราคาเท่าไหร่ ช่วยให้ฟันขาวได้จริงไหม ฟันขาวขึ้นได้ขนาดไหน มีแบบไหนให้เลือกบ้าง

จัดฟันราคาเท่าไหร่ มีแบบไหนบ้าง รวมรายละเอียดค่าใช้จ่ายในทุกขั้นตอน
จัดฟันราคาเท่าไหร่ มีประเภทไหนบ้าง รายละเอียดค่าใช้จ่ายแบบแจกแจงเป็นอย่างไร แบ่งออกเป็นทั้งหมดกี่ช่วง

รีเทนเนอร์ (retainer) คืออะไร รวมความรู้เกี่ยวกับรีเทนเนอร์ที่ทุกคนต้องรู้ จากทันตแพทย์
รีเทนเนอร์ ราคาพิเศษ 2,999 สีเยอะ ลายเพียบ หรือจะออกแบบเองก็ได้ ใส่ Glitter เลือกสียางด้านหน้าได้ มีทั้งแบบเหล็ก และแบบใส – ดูแลโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อ่านรายละเอียดที่นี่

ทำฟันเบิกประกันสังคมกับเรา ลุ้นรับ iPhone 14 PRO!
ใกล้สิ้นปีแล้ว Smile Seasons ชวนคุณมาขูดหินปูน เบิกประกันสังคมแบบไม่ต้องสำรองจ่าย แถมลุ้นรับ iPhone 14 PRO – หมดเขต 30 พ.ย. 65 – อย่ารอช้า! จองคิวคุณหมอได้เลย