โรคเหงือกอักเสบ เหงือกบวม เกิดจากอะไร พร้อมแนะนำวิธีรักษา
เหงือกอักเสบ เหงือกบวม เป็นอาการผิดปกติในช่องปากที่พบได้บ่อย ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนเป็นจำนวนมาก อาการบวมเกิดขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อซึ่งมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรง นอกจากนี้เหงือกคุณอาจมีสีแดง เลือดออกง่าย กดเจ็บ หรือมีหนอง ในบทความนี้คุณหมอจะมาพูดถึงสาเหตุของเหงือกอักเสบ อาการต่างๆ วิธีการป้องกัน และการรักษา รวมถึงค่าใช้จ่าย
หัวข้อที่น่าสนใจ
โรคเหงือกอักเสบ เหงือกบวม คืออะไร
โรคเหงือกอักเสบ เหงือกบวม (Gingivitis) คือการอักเสบของเหงือก ซึ่งเกิดจากการรักษาสุขอนามัยในช่องปากไม่ดี การละเลยการทำความสะอาดที่สำคัญอย่างการแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ จะนำไปสู่การสะสมของคราบจุลินทรีย์บนฟัน และเหงือก ซึ่งแบคทีเรียสามารถก่อให้เกิดการอักเสบตามมา หากปล่อยไว้โดยไม่รีบรักษา โรคเหงือกอักเสบอาจพัฒนาไปสู่โรคปริทันต์อักเสบซึ่งเป็นรูปแบบที่รุนแรงกว่า ซึ่งอาจทำให้เหงือก หรือกระดูกที่รองรับฟันเสียหายอย่างถาวร
เหงือก คืออะไร?
เหงือก เป็นเนื้อเยื่อที่ล้อมรอบและรองรับฟันในปาก เหงือกยังทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันไม่ได้แบคทีเรียที่เป็นอันตรายเข้ามาด้านใน เหงือกประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีเส้นใยหนาแน่น และปกคลุมด้วยชั้นเซลล์เยื่อบุบางๆ มีส่วนที่ยึดกับกระดูกและฟันเรียกว่าเอ็นยึดปริทันต์
สุขภาพเหงือกมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสุขภาพโดยรวมของคุณ เหงือกที่มีการอักเสบสามารถนำไปสู่ปัญหาต่างๆ มากมายเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน การรักษาสุขอนามัยช่องปากให้ดี รวมถึงการตรวจสุขภาพฟันและขูดหินปูนอย่างสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญมาก
อาการของโรคเหงือกอักเสบ
โรคเหงือกอักเสบเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบได้บ่อย โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ แต่ละระยะมีความรุนแรงแตกต่างกัน เริ่มจากอาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ง่าย ไปจนถึงระยะรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างฟันและเหงือก การรู้จักอาการในแต่ละระยะช่วยให้สามารถรับมือและรักษาได้ทันท่วงที ป้องกันไม่ให้โรคลุกลามจนเกิดความเสียหายถาวรต่อสุขภาพช่องปาก
โรคเหงือกอักเสบระยะแรก
โรคเหงือกอักเสบระยะแรกเกิดจากการสะสมของคราบแบคทีเรียบริเวณร่องเหงือก มักเป็นผลมาจากการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่เพียงพอ อาการที่สังเกตได้คือ เหงือกมีสีแดงคล้ำกว่าปกติ บวมเล็กน้อย และอาจมีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน แม้จะไม่มีอาการเจ็บปวด แต่ควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปาก เพราะหากละเลยอาจลุกลามเป็นโรคเหงือกระยะต่อไปได้
โรคเหงือกอักเสบระยะที่สอง
โรคเหงือกอักเสบระยะที่สอง หรือที่เรียกว่าอาการปริทันต์ เป็นระยะโรคเริ่มมีการทำลายกระดูกและเนื้อเยื่อที่หุ้มฟัน เหงือกจะเริ่มร่นและเกิดร่องลึกระหว่างฟันกับเหงือก ทำให้เศษอาหารติดค้างได้ง่าย ทำให้เกิดอาการเหงือกบวมแดงมากขึ้น มีเลือดออกง่ายแม้ไม่ได้แปรงฟัน บางครั้งอาจมีกลิ่นปาก และเริ่มรู้สึกเจ็บเหงือกเมื่อกดหรือเคี้ยวอาหาร ในระยะนี้จำเป็นต้องพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน
โรคเหงือกอักเสบระยะที่สาม
โรคเหงือกอักเสบระยะที่สาม หรืออาการปริทันต์ขั้นรุนแรง เป็นระยะที่เนื้อเยื่อพยุงฟันถูกทำลาย ส่งผลให้ฟันเริ่มโยกหรือเคลื่อนที่ ทำให้เกิดอาการเหงือกร่นมากจนเห็นรากฟัน มีหนองไหลออกมาจากร่องเหงือก ฟันโยกและอาจหลุดได้ในที่สุด ที่สำคัญส่งผลต่อการเคี้ยวอาหาร ในระยะนี้อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัดหรือถอนฟันที่เสียหายมากออก
โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากอะไร?
สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ เหงือกบวม ได้แก่
สุขอนามัยช่องปากไม่ดี
การสูบบุหรี่
โรคเบาหวาน
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
ยาบางชนิด
การขาดวิตามิน
ภาวะขาดวิตามิน C จะทำให้เกิดเลือดออกตามไรฟัน และมีความเชื่อมโยงอย่างมากกับเหงือกบวม เหงือกอักเสบ เช่นเดียวกับการขาดวิตามิน D และ B12
โรคประจำตัว
โรคที่ส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันเช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia), HIV หรือผู้ที่กำลังรักษามะเร็งด้วยการให้เคมีบำบัด จะเกิดเหงือกอักเสบ เหงือกบวมได้มากกว่า
โรคเหงือกอักเสบมีกี่แบบ?
โรคเหงือกอักเสบสามารถแบ่งเป็น 2 แบบ คือ เหงือกอักเสบแบบธรรมดา และโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านความรุนแรงของโรค และผลกระทบต่อเหงือก รวมถึงโครงสร้างที่รองรับฟัน ดังนี้
1. เหงือกอักเสบ (Gingivitis)
2. ปริทันต์อักเสบ (Periodontitis)
โรคปริทันต์อักเสบ หรือ Periodontitis เป็นโรคเหงือกรูปแบบหนึ่งที่มีความรุนแรงมากกว่า ซึ่งไม่เพียงส่งผล กระทบต่อเหงือกเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อโครงสร้างที่รองรับฟัน เช่น เอ็นยึดปริทันต์ และกระดูก โรคปริทันต์อักเสบเกิดขึ้นจากการลุกลามของเหงือกอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษา โดยการอักเสบได้แพร่กระจายลึกเข้าไปในเนื้อเยื่อ อาการของโรคปริทันต์อักเสบ ได้แก่ เหงือกร่น หลุมลึกระหว่างฟันและเหงือก ฟันโยก ถ้าไม่รีบรักษา คุณอาจสูญเสียฟันได้
การรักษาโรคปริทันต์อักเสบ จำเป็นต้องได้รับการเกลารากฟัน (Root Planing) ซึ่งเป็นขั้นตอนการทำความสะอาดอย่างล้ำลึก เพื่อที่จะขจัดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนออกจากรากฟันใต้เหงือก และในบางกรณีอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อซ่อมแซม และสร้างเนื้อเยื่อที่เสียหายขึ้นมาใหม่
ระยะความรุนแรงของโรคเหงือกอักเสบ
ความรุนแรงของโรคเหงือกอักเสบ แบ่ง 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 เหงือกอักเสบ มีลักษณะบวม แดง มีเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน โดยระยะนี้สามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากกระดูกและเนื้อเยื่อยังไม่ถูกทำลาย
- ระยะที่ 2 โรคปริทันต์อักเสบ เป็นระยะที่กระดูกรองรับรากฟันเริ่มถูกทำลาย เหงือกจะเริ่มร่นและเกิดเป็นโพรง ทำให้เศษอาหารและหินปูนเข้าไปสะสมได้
- ระยะที่ 3 โรคปริทันต์ขั้นรุนแรง เป็นระยะที่กระดูกรองรับรากฟันถูกทำลายจนเกือบถึงปลายรากฟัน ทำให้ฟันเริ่มโยกเพราะไม่มีกระดูกมายึดไว้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหารลดลง แพทย์ต้องถอนฟันซี่นั้นออก เพื่อป้องกันการติดเชื้อลุกลามไปยังฟันซี่อื่นๆ
อาการของโรคเหงือกอักเสบที่ต้องรีบไปพบทันตแพทย์
เหงือกอักเสบ หรือเหงือกบวม ที่มีอาการปวด เป็นนานไม่ยอมหาย หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย ควรได้รับการประเมินโดยทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด สัญญาณบางอย่างที่บ่งบอกถึงปัญหาที่ร้ายแรง ได้แก่
เหงือกเป็นหนอง
หากคุณสังเกตเห็นหนองไหลออกมาจากขอบเหงือก คุณควรรีบมาพบคุณหมอ เพราะอาจเป็นอาการของโรคเหงือกระยะลุกลาม หรือฝีในบริเวณรากฟัน และเหงือก
อาการปวดอย่างรุนแรง
หากเหงือกของคุณที่กำลังบวมอยู่นั้นก่อให้เกิดอาการปวดเป็นอย่างมาก อาจเป็นสัญญาณของโรคเหงือกอักเสบที่รุนแรง
เหงือกมีเลือดออก
เหงือกร่น
หากเหงือกร่น หรือหลุดออกจากฐานฟัน อาจเป็นอาการของเหงือกอักเสบรุนแรง หรือโรคปริทันต์อักเสบได้
มีก้อนร่วมด้วย
ก้อนเนื้ออาจเป็นรูปแบบหนึ่งของมะเร็งในช่องปาก หากคุณพบเหงือกบวมและมีก้อน หรือติ่งเนื้อผิดปกติ ควรรีบเข้ามาตรวจกับคุณหมอ
การรักษาโรคเหงือกอักเสบ
วิธีรักษาเหงือกอักเสบด้วยตัวเอง
หากเริ่มมีอาการระยะแรก สามารถรักษาเหงือกอักเสบด้วยตัวเอง ด้วยการรักษาสุขอนามัยช่องปากให้ดี ทั้งการแปรงฟัน ใช้น้ำยาบ้วนปาก ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย วันละ 8 แก้ว หากมีอาการปวดฟันสามารถทานยาแก้ปวดหรือยาพาราเซตามอลได้
นอกจากนี้ หากคุณสูบบุหรี่ คุณควรเลิกหรือลดบุหรี่ลง กรณีคุณมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน คุณควรรับประทานยา และไปพบแพทย์ประจำตัวอยู่เสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารประเภทน้ำตาลที่ทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย
วิธีรักษาเหงือกอักเสบโดยทันตแพทย์
การทำความสะอาดช่องปากและฟัน
- การขูดหินปูน (Tooth Scaling) – การขูดหินปูนจะขจัดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนออกไป มักใช้รักษาเหงือกอักเสบชนิดเริ่มต้น ไม่รุนแรง
- การเกลารากฟัน (Root Planing) – ใช้ในกรณีที่เป็นโรคเหงือกในระยะลุกลาม หรือเป็นโรคปริทันต์อักเสบ การเกลารากฟันเป็นหัตถการที่ต้องใช้เวลาในการรักษานาน มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า และพึ่งพาประสบการณ์ของคุณหมอเป็นอย่างมาก การเกลารากฟันจึงมักทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทางด้านปริทันตวิทยา (Periodontist)
การจ่ายยา
- น้ำยาบ้วนปากผสมยาฆ่าเชื้อ – ที่นิยมคือ Chlorhexidine
- รับประทานยาฆ่าเชื้อ – คุณอาจต้องกินยาเพื่อควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรีย และลดการอักเสบลง
การผ่าตัด
รักษาเหงือกอักเสบ ราคาเท่าไหร่?
รักษาเหงือกอักเสบที่ Smile Seasons ราคา
รายละเอียดการรักษา | ค่าบริการ (บาท) |
ขูดหินปูน และขัดฟัน | 1,000-1,500 |
ขูดหินปูน และขัดฟัน (โดยทันตแพทย์เฉพาะทาง) | 1,500 |
เกลารากฟัน (ตำแหน่งละ) | 1,600-2,000 |
ผ่าตัดเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน (ต่อซี่) | 5,000-7,500 |
ผ่าตัดปลูกเหงือก / แก้ไขภาวะเหงือกร่น | 8,000-9,000 |
ผ่าตัดปลูกระดูกแก้ไขรอยโรคปริทันต์ (ไม่รวมค่าวัสดุ) | 9,000-12,000 |
ผ่าตัดตกแต่งเหงือกเพิ่มความสวยงาม (แก้ไขภาวะยิ้มเห็นเหงือก) 6-10 ซี่ | 18,000-22,000 |
วิธีป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ
- แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง อย่างน้อยครั้งละ 2-3 นาที เลือกแปรงสีฟันที่มีขนประเภทอ่อนนุ่ม
- ใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอวันละ 1 ครั้งก่อนนอน การใช้ไหมขัดฟันเป็นส่วนสำคัญของการสร้างสุขอนามัยในช่องปากที่ดี สามารถกำจัดเศษอาหาร และคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือกได้ดี
- เลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
- หยุดสูบบุหรี่ – การสูบบุหรี่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเหงือก และทำให้รักษายากขึ้น การเลิกบุหรี่สามารถช่วยให้เหงือกบวม หรือเหงือกอักเสบของคุณดีขึ้นได้
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ – สารอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อได้
- ไปพบคุณหมออย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน รวมทั้งขูดหินปูนทุก 6 เดือน
วิธีแปรงฟันอย่างถูกวิธี ป้องกันเหงือกอักเสบ เหงือกบวม
การแปรงฟันเป็นส่วนสำคัญในป้องกันเหงือกอักเสบ และเป็นการรักษาสุขภาพช่องปากที่ดี ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนการแปรงฟันอย่างถูกวิธี
เลือกแปรงสีฟันที่เหมาะสม
ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มที่จับถนัดมือ และเข้าปากได้พอดี ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก 3 เดือน
ยาสีฟัน
ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ บีบลงบนแปรงสีฟันให้มีปริมาณเท่าเมล็ดถั่ว
การแปรงฟัน
- ถือแปรงสีฟันทำมุม 45 องศากับขอบเหงือก
- ขยับขนแปรงซ้ายขวาเป็นระยะสั้นๆ ไม่เกินครึ่งซี่ฟัน
- ปัดขนแปรงขึ้นในฟันล่าง และปัดลงสำหรับฟันบน
- ควรแปรงแบบนี้ 10 ครั้งในแต่ละตำแหน่ง
- แปรงฟันให้ครบทุกด้าน ทั้งด้านหน้า ด้านใน และด้านบดเคี้ยว
- ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับบริเวณขอบเหงือก หรือรอบๆ วัสดุอุดฟัน, ครอบฟัน, การทำรากฟันเทียม, ฟันที่มีการติดเครื่องมือ จัดฟัน
แปรงลิ้น
บ้วนปากของคุณ
แปรงวันละ 2 ครั้ง
ไหมขัดฟัน
ใช้ไหมขัดฟันร่วมกับการแปรงฟันอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน โอบไหมขัดฟันรอบตัวฟัน และเลื่อนไหมลงใต้เหงือก แล้วเลื่อนขึ้นลงประมาณ 4-5 ครั้งต่อซี่
สุขภาพเหงือกที่ดีต้องมีลักษณะอย่างไร?
สุขภาพเหงือกเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ที่สำคัญของสุขอนามัยในช่องปาก เหงือกที่ดีและแข็งแรงมีลักษณะดังต่อไปนี้
สีชมพู
เหงือกที่แข็งแรงโดยทั่วไปจะมีสีชมพูอ่อน อย่างไรก็ตาม เหงือกอาจมีสีคล้ำตามธรรมชาติ หรือตามเชื้อชาติได้ จุดสังเกตสำคัญคือ เหงือกจะมีสีสม่ำเสมอกันทั้งปาก
เนื้อแน่น
ไม่มีเลือดออก
ไม่บวม
เหงือกไม่ควรปูดออกมารอบๆ ตัวฟัน เหงือกที่บวมคือเหงือกที่มีการอักเสบ หรือติดเชื้อ มักมีสีแดงคล้ำ และกดเจ็บร่วมด้วย
แนบพอดี
ไม่กดเจ็บ หรือเสียวฟัน
คุณอาจกำลังมีเหงือกอักเสบอยู่ หากเจ็บ หรือเสียวฟัน ขณะรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น
สรุปเกี่ยวกับโรคเหงือกอักเสบ
โรคเหงือกอักเสบสามารถพบได้บ่อย ในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาได้ง่าย และหายได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยช่องปากให้ดี ร่วมกับการขูดหินปูนโดยทันตแพทย์ แต่หากปล่อยทิ้งไว้จนกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ คุณหมออาจจำเป็นต้องทำความสะอาดลงไปใต้เหงือกเรียกว่า การเกลารากฟันซึ่งเป็นหัตถการที่ต้องใช้เวลา และทักษะสูง จึงมักทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาปริทันตวิทยา
ดังนั้น ควรป้องกันก่อนแก้ด้วยการรักษาสุขอนามัยช่องปากที่ดี เช่น การแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง การใช้ไหมขัดฟันทุกวัน และการใช้น้ำยาบ้วนปาก นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพฟัน และการทำความสะอาดเป็นประจำก็มีความสำคัญเช่นกันสำหรับการตรวจหา และรักษาโรคเหงือกในระยะเริ่มต้น
หากคุณสังเกตพบอาการใดๆ ของเหงือกอักเสบ เช่น เหงือกบวมแดง กดเจ็บ หรือมีเลือดออก คุณสามารถติดต่อเราเพื่อทำนัดเข้ามาตรวจและขอคำปรึกษากับคุณหมอที่ Smile Seasons ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โทร 02-114-3274 หรือ LINE @smileseasons.dc
ทันตแพทย์ของเราจะประเมินอาการของคุณ พร้อมหาสาเหตุ และวางแผนการรักษา รวมถึงประเมินค่าใช้จ่ายให้คุณได้ การดูแลเหงือกและจัดการกับอาการบวมหรือปัญหาอื่นๆ อย่างทันท่วงที จะช่วยรักษาสุขภาพช่องปากที่ดี และป้องกันปัญหาทางทันตกรรมที่รุนแรงขึ้นในอนาคตได้
Reference
Tanit Wanitnopparat, DDS. Dip., Thai Board (Periodontology), The Dental Council
บทความโดย
ทพญ.สรัญญา ธาวนพงษ์
ปริญญาโท สาขาปริทันตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่