ฟันล้ม เกิดจากอะไร

ฟันล้มหลังจัดฟัน อันตรายไหม มีวิธีรักษาอย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

แม้ว่าคุณจะไม่เห็น แต่ฟันของคุณมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าคุณจะจัดฟัน หรือทำการรักษาทางทันตกรรมอื่นๆ มาแล้วก็ตาม ฟันของคุณจะยังคงมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิต จึงเป็นที่มาของการใส่รีเทนเนอร์ หรือเครื่องมือคงสภาพฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันล้ม

อย่างไรก็ตามถึงไม่เคยจัดฟันมาก่อน ฟันก็สามารถล้มได้เช่นกัน บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับภาวะฟันล้ม เจาะลึกถึงสาเหตุ และผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งการป้องกัน และวิธีการรักษา พร้อมตอบคำถามที่คุณหมอมักถูกถามบ่อยๆ

หัวข้อที่น่าสนใจ

ฟันล้มคืออะไร?

ฟันล้ม คือภาวะที่ฟันเคลื่อน หรือ หมุนออกจากตำแหน่งเดิม อาจเกิดขึ้นทีละน้อยเมื่อเวลาผ่านไป จากการไม่ใส่รีเทนเนอร์หลังจัดฟัน หรือฟันถูกถอนออกไปและฟันซี่ข้างเคียงล้มเข้ามาในช่องว่าง ฟันล้มอาจส่งผลต่อการสบฟัน และสร้างความลำบากในการทำรักษาความสะอาด ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาทางทันตกรรมอื่นๆ ตามมา เช่น ฟันผุ หรือแม้แต่โรคข้อต่อขากรรไกร เมื่อคุณมีฟันล้มจึงควรรีบรักษาโดยทันทีเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสุขภาพช่องปากโดยรวมของคุณ

สาเหตุของอาการฟันล้ม

ฟันล้ม สาเหตุ

1. จัดฟันแล้วไม่ใส่รีเทนเนอร์

หลังถอดเครื่องมือจัดฟันแบบโลหะ หรือ จัดฟันแบบใส d-aligner เสร็จเรียบร้อย คุณต้องใส่รีเทนเนอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือคงสภาพฟัน เพื่อป้องกันฟันล้ม หรือ ฟันเคลื่อนกลับไปยังตำแหน่งก่อนจัดฟัน โดยช่วง 6 เดือนแรกคุณควรใส่รีเทนเนอร์ตลอดเวลา หลังจากนั้นสามารถใส่เฉพาะตอนเข้านอนได้

สามารถอ่านบทความ รีเทนเนอร์ ที่เขียนโดยทันตแพทย์เพิ่มเติมได้ที่นี่

2. จัดฟันแฟชั่น

การจัดฟันแฟชั่น เป็นการจัดฟันที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยทันตแพทย์ ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายมาก นอกจากฟันล้มแล้ว ฟันอาจมีการเรียงตัวที่ผิดปกติอย่างมาก ไม่สามารถสบฟันเคี้ยวอาหารได้ เครื่องมือที่ไม่สะอาด ไม่ได้ผ่านกระบวนการปลอดเชื้อที่ได้มาตราฐานก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงได้เช่นกัน

3. สูญเสียฟันธรรมชาติ

เมื่อคุณสูญเสียฟันธรรมชาติไปไม่ว่าจะจากอุบัติเหตุ หรือมีพยาธิสภาพจนจำเป็นต้องถอน ฟันซี่ข้างเคียงสามารถล้มลงมาในช่องว่างที่เกิดขึ้นได้ เพื่อป้องกันฟันล้ม คุณจึงควรเข้ารับการทดแทนฟัน โดยมีตัวเลือกในการรักษาหลากหลายขึ้นอยู่กับจำนวน และสภาพช่องปากของคุณ วิธีการบูรณะฟันที่นิยมคือ รากฟันเทียม สะพานฟัน และฟันปลอม

4. อายุ

เมื่ออายุมากขึ้น อาจเกิดฟันล้ม หรือมีการเคลื่อนตำแหน่งได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างใบหน้า และความหนาแน่นของกระดูกขากรรไกร

5. สาเหตุอื่นๆ

ภาวะนอนกัดฟัน หรือ Bruxism เป็นโรคที่พบได้บ่อยกว่าที่คิด และสามารถทำให้ฟันล้มได้เช่นกัน โรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบ ทำให้เหงือกรวมถึงเส้นเอ็นยึดปริทันต์อ่อนแอลง เมื่อรากฐานของฟันไม่ดีก็อาจทำให้ฟันล้ม และฟันโยกได้

ทำไมหลังจัดฟันแล้วฟันล้ม

หากคุณเคยจัดฟันเพื่อแก้ไขปัญหาการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติมาก่อน แปลว่าฟันของคุณจะถูกเคลื่อนออกจากตำแหน่งตามธรรมชาติ เมื่อคุณถอดเครื่องมือ จัดฟันแบบโลหะ หรือเสร็จสิ้นการรักษาด้วยการจัดฟันแบบใส เช่น ดี-aligner หรือ จัดฟันแบบใส invisalign เนื้อเยื่อ รวมทั้งเส้นเอ็นรอบฟันยังไม่ปรับตัวและจดจำตำแหน่งฟันใหม่ของคุณ

 

หากไม่ได้ใส่เครื่องมือคงสภาพฟันที่เรียกว่า รีเทนเนอร์ คอยตรึงฟันให้อยู่กับที่ ฟันของคุณก็จะเริ่มล้มและเคลื่อนกลับตำแหน่งเดิม ซึ่งอาจรวดเร็วในบางคน ในขณะที่บางคนมีการเคลื่อนกลับน้อยมาก

อีกสาเหตุที่ฟันล้มหลังจัดฟันนั้นเกี่ยวข้องกับสุขภาพของเหงือก และกระดูกขากรรไกรของคุณ หากระหว่างจัดฟันมีเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์อักเสบที่ทำให้เกิดการสูญเสียกระดูก ก็จะทำให้ฟันล้มง่ายมากขึ้น หลังจัดฟันเสร็จ

สัญญาณเตือนอาการฟันล้ม

อาการฟันล้ม
สัญญาณต่างๆ ที่เตือนว่าฟันล้ม มีดังนี้
  • มองเห็นได้ว่าฟันล้ม – คุณอาจสังเกตได้ว่าฟันของคุณเคลื่อนที่จากตำแหน่ง ยิ่งถ้าเป็นฟันที่เคยจัดฟันจนเรียงตัวเป็นระเบียบมาก่อนจะทำให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
  • แนวกลางของฟันเลื่อน – ฟันที่เรียงตัวเป็นระเบียบ ฟันหน้าสองซี่บนและล่างของคุณควรอยู่ตรงกลางจมูกและคิ้วของคุณ เมื่อสมดุลของแนวกลางนี้เริ่มเสียสมดุลไป ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของฟันล้ม หรือฟันเคลื่อน
  • ประสบปัญหากับรีเทนเนอร์ – รีเทนเนอร์นั้นถูกออกแบบมาให้ใส่พอดีกับรูปร่างของฟัน ที่เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงามหลังจัดฟันเสร็จ หากคุณไม่สามารถใส่รีเทนเนอร์ได้ หรือใส่แล้วปวดมาก ก็แปลว่าฟันของคุณล้ม หรือมีการ
  • สบฟันไม่สม่ำเสมอ – หากฟันล้ม คุณอาจสังเกตว่าการกัด หรือเคี้ยวของคุณรู้สึกแปลก และไม่สม่ำเสมอ นอกจากนั้นคุณอาจรู้สึกเคี้ยวอาหารลำบากกว่าเดิม
  • มีช่องว่างระหว่างฟัน – เมื่อฟันล้ม คุณอาจพบเห็นช่องหว่างระหว่างฟันที่ไม่เคยมีมาก่อน
  • ฟันซ้อนเก – ฟันซ้อนสามารถพลักฟันซี่อื่นให้เกซ้อนตามได้ ซึ่งทำให้ยากต่อการทำความสะอาด เช่นการแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน มีความเสี่ยงต่อการเกิดเหงือกอักเสบตามมา
  • เสียวฟัน หรือปวดฟัน – เมื่อฟันล้มคุณอาจรู้สึกเสียวฟันเวลารับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนจัด หรือเย็นจัด

ผลกระทบจากฟันล้ม

ฟันล้มอาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาได้อย่างไม่คาดคิด โดยเฉพาะหากคุณปล่อยทิ้งไว้โดยไม่เข้ารับการรักษาในทันที
  • ยากต่อการรักษาสุขอนามัยที่ดี – ฟันล้ม เก ซ้อนกัน นับเป็นอุปสรรคต่อการแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำไปสู่ ฟันผุ โรคเหงือก และปัญหาทางทันตกรรมอื่นๆ ได้
  • ปัญหาการสบฟัน – เมื่อฟันล้ม จะทำให้การสบฟันมีความผิดปกติไปด้วย ฟันของคุณอาจสึกเร็วกว่าปกติ นอกจากนั้นคุณอาจรู้สึกปวดตึงที่ฟันได้ด้วย
  • อาการปวดกราม และข้อต่อขากรรไกร – การสบฟันที่ผิดปกติจากฟันล้ม หากไม่ได้รับการแก้ไข และเป็นอยู่ในระยะเวลายาวนาน จะสร้างภาระต่อข้อต่อขากรรไกร ทำให้คุณอาจมีอาการปวดบริเวณกราม หรือขมับ
  • ส่งผลต่อการออกเสียง – ฟันล้มสามารถต่อให้เกิดช่องว่างระหว่างซี่ฟันได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกเสียงพยัญชนะที่จำเป็นต้องใช้ฟันเป็นส่วนช่วย เช่น ส. ซ. S Z เป็นต้น
  • เสียความมั่นใจ และบุคลิกภาพ – แน่นอนว่าใครก็ไม่อยากยิ้มแล้วเห็นฟันล้ม การเคลื่อนที่ของฟันนอกจากจะส่งผลกับรูปลักษณ์ของรอยยิ้มของคุณแล้ว ยังกระทบต่อความมั่นใจของคุณในขณะยิ้ม รับประทานอาหาร การพูดกับบุคคลรอบข้าง หรือการพูดในที่สาธารณะ

วิธีรักษาอาการฟันล้ม

ฟันล้มสามารถแก้ไขได้ด้วยการรักษาทางทันตกรรมที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความต้องการ สาเหตุที่ทำให้เกิดฟันล้ม และสภาพช่องปากของคุณ

1. ใส่รีเทนเนอร์ประคองฟัน

หากคุณเคยจัดฟันมาก่อน และฟันของคุณเริ่มล้ม คุณหมอจะแนะนำให้คุณรีบกลับไปใส่รีเทนเนอร์ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ฟันอาจล้มมากขึ้น จนคุณไม่สามารถใส่รีเทนเนอร์เดิมของคุณได้ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น คุณมีโอกาสที่จะต้องเข้ารับการจัดฟันใหม่ เนื่องจากรีเทนเนอร์ เป็นเครื่องมือคงสภาพฟัน และไม่สามารถสร้างแรงเพียงพอที่จะดึงฟันที่ล้มให้กลับไปยังตำแหน่งเดิมได้

 

รีเทนเนอร์ที่นิยมใช้มีทั้งแบบลวด และแบบใสซึ่งสามารถถอดได้ อย่างไรก็ตามหากคุณมีปัญหาฟันเคลื่อนฟันตำแหน่งหลังจัดฟัน ซึ่งทำให้ต้องกลับมาจัดฟันใหม่หลายรอบ คุณหมออาจแนะนำรีเทนเนอร์แบบติดแน่นให้กับคุณ ข้อดีคือรีเทนเนอร์จะถูกติดอยู่กับฟันด้านในของคุณ ไม่สามารถถอดได้ ทำให้คุณหมดกังวลเรื่องลืมใส่รีเทนเนอร์อีกต่อไป แต่ก็ต้องแลกกันการทำความสะอาดช่องปากลำบาก และใช้เวลามากยิ่งขึ้นกว่าปกติ

 

2. ใส่ฟันทดแทน

กรณีที่คุณสูญเสียฟันไป คุณควรเข้ารับการบูรณะทดแทนฟันโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นฟันจะล้มลงไปหาช่องว่างที่เกิดขึ้นได้ การทดแทนฟันที่นิยมในปัจจุบันคือการทำรากฟันเทียม ซึ่งมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน มีส่วนที่เลียนแบบรากฟันทำให้รับแรงบดเคี้ยวได้มาก และยังกระจายแรงลงสู่กระดูกใต้เหงือกซึ่งส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของกระดูก รากฟันเทียมไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาอะไรเป็นพิเศษ

 

เพียงแปรงฟันวันละสองครั้ง และใช้ไหมขัดฟันก่อนนอนเท่านั้น รากฟันเทียมจึงเป็นวิธีการทดแทนฟันที่ดีที่สุด ตัวเลือกในการทดแทนฟันอื่นๆ คือการทำสะพานฟัน และการใส่ฟันปลอม

รักษาฟันล้มด้วยการใช้ฟันทดแทน

3. จัดฟันใหม่ จัดฟันรอบสอง

เมื่อฟันล้มมากจากการลืมใส่รีเทนเนอร์ และคุณต้องการให้ฟันกลับมาเรียงตรงเป็นระเบียบสวยงามอีกครั้ง คุณอาจจำเป็นต้องจัดฟันใหม่อีกครั้ง อย่างไรก็ตามหากฟันของคุณไม่ได้เคลื่อนจากตำแหน่งเดิมไปมาก มีโอกาสเป็นไปได้ที่คุณจะจัดฟันเสร็จภายในเวลาอันเร็วเร็ว ไม่เหมือนกับการจัดฟันครั้งแรก

ในปัจจุบันคุณมีตัวเลือกของรูปแบบการจัดฟันที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น การจัดฟันแบบโลหะมาตรฐาน การ จัดฟันแบบดามอน รวมถึงการจัดฟันแบบใสอย่าง ดี-aligner หรือ invisalign

วิธีป้องกันอาการฟันล้ม

  • ใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอ – หากคุณเพิ่งจัดฟันเสร็จ
  • รักษาสุขอนามัยช่องปากให้ดีเยี่ยมอยู่เสมอด้วยการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันก่อนนอน
  • ขูดหินปูน และตรวจสุขภาพช่องปากกับคุณหมอทุก 6 เดือน
  • หลีกเลี่ยงบุหรี่ เพราะจะทำให้สุขภาพช่องปากโดยรวมแย่ลง
  • หากสูญเสียฟัน รีบเข้ามาปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการบูรณะทดแทนฟัน

คำถามที่พบบ่อย

ฟันที่เพิ่งเริ่มล้มอาจไม่เป็นอันตราย แต่หากปล่อยทิ้งไว้ให้ล้มมากขึ้น หรือฟันล้มเป็นเวลานาน ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาทันตกรรมอื่นๆ ตามมาได้
รีเทนเนอร์สามารถทำให้ฟันของคุณไม่ล้มไปมากกว่าเดิมได้ แต่ไม่สามารถดึงฟันให้กลับไปอยู่ในตำแหน่งที่สวยงามได้ ซึ่งในกรณีหลังคุณอาจต้องเข้ารับการจัดฟัน
ฟันล้ม เป็นข้อบ่งชึ้หนึ่งในการจัดฟัน อย่างไรก็ตาม หากคุณเคยจัดฟันมาก่อนแล้วฟันล้มจนต้องจัดฟันใหม่ คุณควรให้ความสำคัญกับการใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันล้มจนต้องกลับมาจัดฟันใหม่
ความไวของฟันล้มขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล เมื่อสูญเสียฟันไป จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องรีบมาปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อรับการบูรณะทดแทนฟัน เพราะหากฟันล้มลงไปในช่องว่าง การรักษาอาจมีความซับซ้อน ใช้เวลา และเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

สรุป

ปัญหาฟันล้มเกิดขึ้นได้บ่อย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาแล้วอาจจะทำให้เกิดผลเสียได้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ ฟันเก ปัญหาการสบฟัน ปวดกราม พูดไม่ชัด และการเสียความมั่นใจในรอยยิ้มของตัวคุณเอง โชคดีที่เรามีตัวเลือกสำหรับการป้องกัน และแก้ไขฟันล้มหลายอย่าง เช่น การใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอ การจัดฟัน การบูรณะทดแทนฟันซี่ที่หายไป

 

หากคุณสังเกตว่าฟันของคุณล้ม หรือมีความกังวลเกี่ยวฟันที่เคลื่อนตำแหน่ง อย่าลังเลที่จะทำนัดเข้ามาตรวจช่องปาก และรับคำปรึกษาจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย คุณหมอสามารถแนะนำตัวเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ และช่วยให้คุณมีรอยยิ้มที่สวยงามและมีสุขภาพดี ง่ายๆ เพียงลงทะเบียนและรอการติดต่อจากเรา

Reference

Weerawat Buapuean, DDS. (2nd-class Honors), Certificate of Thai Board (Orthodontic), The Dental Council

บทความโดย

Picture of ทพญ.กีรติกาญจน์ เอื้อกูลวราวัตร

ทพญ.กีรติกาญจน์ เอื้อกูลวราวัตร

ประกาศนียบัตรสาขาทันตกรรมจัดฟัน สมาคมทันตกรรมจัดฟันและการวิจัยแห่งประเทศไทย
ทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้