ฟันเหลืองเกิดจากอะไร? สาเหตุและวิธีรักษาฟันเหลือง

ฟันเหลืองเป็นหนึ่งในปัญหาทันตกรรมที่สร้างความกังวล และความไม่มั่นใจให้กับคนไข้ ฟันเหลืองสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ที่ดื่มชา กาแฟจัด หลงไหลการดื่มไวน์ หรือสีของฟันเหลืองขึ้นตามอายุก็ตาม ในบทความนี้คุณหมอจะพาไปไขปริศนาที่อยู่เบื้องหลังฟันเหลืองว่า แท้จริงแล้วทำไมฟันของเราถึงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมากขึ้น ฟันเหลืองแก้ยังไง ผลกระทบของฟันเหลือง มีวิธีทำให้ฟันขาวหรือไม่ และที่สำคัญที่สุดคือวิธีการป้องกัน รวมทั้งการรักษาของคลินิกทันตกรรม Smile Seasons ที่สามารถแก้ไขฟันเหลืองได้ – อ่านรายละเอียดเพื่อบอกลาฟันเหลืองของคุณได้เลย

ฟันเหลืองจนหมดความมั่นใจ? คุณหมอมาแนะนำวิธีทวงคืนฟันขาวปิ๊งของคุณคืนมา
สารบัญเนื้อหา

ฟันเหลืองเพราะอะไร ทำไมคนเราถึงฟันเหลือง

ทำไมฟันของเราถึงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมากขึ้น สาเหตุ ผลกระทบของฟันเหลืองเกิดขึ้นได้ยังไง

เคยสงสัยบ้างไหมว่าทำไมฟันของคุณจึงสูญเสียความขาวกระจ่างเมื่อเวลาผ่านไป การเปลี่ยนแปลงของฟันจากสีขาวมุกไปเป็นสีเหลืองนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งแบ่งออกเป็น ปัจจัยจากภายในตัวฟันเอง เช่น ชั้นเคลือบฟันที่บางลง และพันธุกรรม หรือปัจจัยภายนอก ซึ่งเกี่ยวข้องกับ อาหารที่รับประทาน การสูบบุหรี่ และสุขภาพอนามัยช่องปากของคุณ

การเปลี่ยนสีของฟันจากปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายในที่ทำให้ฟันเหลืองมีต้นกำเนิดมาจากโครงสร้างภายในของฟัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ความหนาของชั้นเคลือบฟัน (Enamel) – เคลือบฟันเป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของฟันมีสีขาวซึ่งจะปกป้องส่วนที่เป็นเนื้อฟัน (Dentin) ที่อยู่ชั้นใน เนื้อฟันจะมีสีเหลืองตามธรรมชาติอยู่แล้ว เมื่อมีภาวะทางทันตกรรมบางอย่าง เช่น ฟันเหยิน ฟันซ้อน การสบฟันผิดปกติ ที่ไม่ได้รับการแก้ไขด้วยการจัดฟัน หรือมีภาวะนอนกัดฟัน ก็อาจทำให้ฟันสึก เคลือบฟันบางลง เราจึงเห็นสีเหลืองของเนื้อฟันชัดขึ้น
  • อายุที่มากขึ้น – เคลือบฟันสามารถบางลงได้ตามอายุการใช้งาน ทำให้เห็นเนื้อฟันที่มีสีเหลืองตามธรรมชาติได้ชัดขึ้น
  • พันธุกรรม – ความเหลืองของเนื้อฟันถูกกำหนดโดยปัจจัยด้านพันธุศาสตร์ บางคนมีเนื้อฟันที่ขาวกว่า ในขณะที่อีกคนอาจมีเนื้อฟันที่เหลืองกว่า

การเปลี่ยนสีของฟันจากปัจจัยภายนอก

ปัจจัยภายนอกฟันเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยกว่าปัจจัยภายใน และมักสามารถป้องกัน หรือให้การรักษาได้ ปัจจัยภายนอก ได้แก่

  • อาหาร – การรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีสีเข้ม เช่น ชา กาแฟ ไวน์แดง แกงต่างๆ อาจะทำให้เคลือบฟันติดสีของอาหารเหล่านั้น ทำให้ฟันเหลือง หรือมีสีคล้ำได้
  • การสูบบุหรี่ – บุหรี่ทั้งแบบปกติ และแบบไฟฟ้า สามารถทำให้เกิดการสะสมของน้ำมันดิน และนิโคตินในเคลือบฟัน ส่งให้ฟันเหลือง และเกิดคราบ
  • สุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี – การแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันอย่างไม่สม่ำเสมออาจทำให้เกิดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนที่มีสีเหลือง หรือเทา สะสมบนฟันได้
  • ยาบางชนิด – สารในยาบางประเภทอาจทำให้ฟันเปลี่ยนสี หรือฟันเหลืองได้ ยกตัวอย่างเช่น ยาแก้แพ้บางชนิด ยารักษาโรคทางจิตเวช และยาลดความดันโลหิตบางชนิด
  • การบาดเจ็บ – ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ หรือฟันตายจะทำให้ฟันสีเหลือง หรือคล้ำขึ้นได้
  • ภาวะอื่นๆ ทางการแพทย์ – เคมีบำบัดบางชนิดสามารถส่งผลต่อการพัฒนาของเคลือบฟันได้, การได้รับฟลูออไดร์มากเกินไประหว่างการพัฒนาของฟัน หรือการใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์สูงเกินไปในเด็ก ก็อาจทำให้ฟันตกกระ มีสีสันไม่สม่ำเสมอกัน

ฟันสีต่างๆ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

นอกจากฟันเหลืองแล้ว ฟันยังสามารถเปลี่ยนสีเป็นสีอื่นๆ ได้อีก สีของฟันสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมในการรับประทานอาหาร และบางครั้งยังบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพทั่วไปได้อีกด้วย ต่อไปนี้คือสีฟันที่พบบ่อย และสิ่งที่อาจจะเป็นสาเหตุ

ฟันสีขาว

  • ฟันสุขภาพดี ปกติสีฟันธรรมชาติของเราจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยมีปัจจัยเกี่ยวกับเชื้อชาติและพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่โดยทั่วไปแล้วฟันสีขาวบ่งชี้ถึงสุขภาพช่องปากที่ดี
  • การรักษาทางทันตกรรม ฟันที่ผ่านการฟอกสีฟัน การทำวีเนียร์ ครอบฟัน หรือการอุดฟันก็จะทำให้ฟันดูขาวขึ้นได้

ฟันสีน้ำตาล

  • บุหรี่ การสูบบุหรี่ หรือการเคี้ยวยาสูบสามารถทำให้เกิดคราบสีน้ำตาลบนตัวฟันได้
  • อาหารและเครื่องดื่มบางชนิด การดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีสีเข้ม เช่น โคล่า ช็อกโกแลต และเบอร์รี่ สามารถทำให้ฟันเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้
  • การดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี คราบหินปูน หรือหินน้ำลายปริมาณมากๆ สามารถทำให้ฟันเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้เมื่อเวลาผ่านไป

ฟันสีเทา

  • ยาบางชนิด ยาเช่น Tetracyclin และยาปฎิชีวนะบางตัว หากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานสามารถเปลี่ยนสีของฟันเป็นสีเทาได้ โดยเฉพาะในเด็ก ซึ่งเป็นช่วงที่ฟันกำลังเจริญเติบโต
  • การบาดเจ็บ การบาดเจ็บที่ฟันสามารถทำให้มีเลือดออกในโพรงประสาทฟัน ร่วมกับเนื้อเยื่อของโพรงประสาทฟันที่ตายลง ส่งผลให้ฟันมีลักษณะสีเทา
  • การอุดฟัน วัสดุอุดฟันที่เป็นโลหะสามารถทำให้ฟันดูเป็นสีเทาได้

ฟันสีดำ

  • ฟันผุ ฟันที่ผุลึกและรุนแรงสามารถทำให้ฟันเปลี่ยนเป็นสีดำได้
  • การใช้สมุนไพรหรือยาสูบ คนโบราณ หรือผู้ที่มีวัฒนธรรมชอบเคี้ยวหมากเป็นประจำ รวมทั้งผู้ที่สูบบุหรี่จัดมากๆ จะทำให้ฟันเป็นสีดำได้
  • ยาบางชนิด เช่น น้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้บ้วนปาก Chlorhexidine เมื่อใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานสามารถทำให้ฟันสีคล้ำลงได้เช่นกัน
  • โรคหายากที่เกี่ยวกับพันธุกรรมอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะ Amelogenesis Imperfecta หรือ Detinogenesis Impecfecta ฟันของคนไข้เหล่านี้จะมีสีดำ

ฟันสีน้ำเงิน และฟันสีเขียว

  • โรคเกี่ยวกับตับ คนไข้ที่มีโรคเกี่ยวกับการทำงานการตับ และน้ำดี (ดีซ่าน) เป็นเวลานาน อาจพบว่าฟันเปลี่ยนเป็นสีเขียวออกเหลืองได้ มักพบในคนไข้ที่เป็นทารก หรือเป็นเด็กเล็ก
  • ได้รับโลหะหนักบางประเภทในปริมาณสูงผิดปกติ ฟันสามารถเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินหรือเขียวได้หากคนไข้สัมผัสหรือได้รับโลหะเช่น นิกเกิล หรือทองแดง ปริมาณมาก และต่อเนื่อง

ฟันสีแดงหรือชมพู

  • โรค Guther เป็นหนึ่งในโรคหายากที่มีความผิดปกติของ Enzyme ที่ส่งผลให้มีสารสีแดงไปตกตะกอนในร่างกายรวมทั้งฟันด้วย
  • ผลไม้กลุ่มเบอร์รี่และไวน์ อาหารและเครื่องดื่มที่มีสีเข้มออกแดงน้ำตาล ช หากดื่มประจำและไม่บ้วนปากแปรงฟันให้ดีก็สามารถทำให้ฟันเปลี่ยนเป็นสีแดงชมพูได้
  • ประสบอุบัติเหตุ ฟันที่โดนกระแทก และมีเลือดออกจะมีสีออกแดงชมพูได้

อยากป้องกันฟันเหลือง ทำอย่างไรได้บ้าง

วิธีแก้ฟันเหลือง สามารถทำได้หลากหลายวิธี ทั้งวิธีที่ทำด้วยตนเอง กับวิธีที่ทำโดยทันตแพทย์ เช่น หมั่นแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน

แปรงฟันสม่ำเสมอ

คุณควรแปรงฟันทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2ครั้ง เลือกใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ การแปรงฟันเป็นการขจัดเอาเศษอาหาร และคราบจุลินทรีย์ที่อาจก่อให้ฟันเหลืองออกไป

ใช้ไหมขัดฟัน

การแปรงฟันอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการรักษาสุขอนามัยช่องปาก การใช้ไหมขัดฟันวันละครั้งก่อนนอน เพื่อทำความสะอาดระหว่างซี่ฟัน และใต้เหงือกจะทำให้ฟันของคุณคงความขาวไว้ได้นาน

เลือกรับประทานอาหาร

พยายามหลีกเลี่ยง อาหารหรือเครื่องดื่มสีเข้ม เช่น ซีอิ๊ว ชา กาแฟ ไวน์ น้ำอัดลม หากไม่สามารถเลี่ยงได้ให้รีบบ้วนปากหลังจากรับประทานเสร็จ

หยุดสูบบุหรี่

บุหรี่สามารถทำให้ฟันเหลือง หรือสีคล้ำขึ้นได้ นอกจากนี้การหยุดหรือลดบุหรี่ยังทำให้สุขภาพช่องปาก และสุขภาพโดยรวมของคุณดีขึ้นได้

ใช้หลอด

การใช้หลอดจะช่วยลดการสัมผัสของเครื่องดื่มกับฟันได้ ถือเป็นเทคนิคช่วยป้องกันฟันเหลืองที่ดี

ดื่มน้ำมากๆ

การดื่มน้ำจะช่วยชะล้างเอาเศษอาหาร หรือเจือจางผลกระทบของคราบเหลืองของอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีต่อสีของฟัน

เลือกยาสีฟัน

ยาสีฟันบางชนิดมีส่วนผสมของสารเคมีที่ทำให้ฟันขาวขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม จะมีความเข้มข้นที่ต่ำกว่า ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันที่มีทันตแพทย์ควบคุมดูแล ผลลัพธ์จึงอาจจะไม่ได้เด่นชัดนัก

พบคุณหมอฟันทุก 6 เดือน

สุขภาพช่องปากที่ดีสำคัญต่อการป้องกันฟันเหลืองเป็นอย่างมาก คุณควรมาพบคุณหมอฟันเพื่อตรวจช่องปากอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

ฟันเหลืองรักษาอย่างไร

ขูดหินปูน

การขูดหินปูนกับทันตแพทย์ในช่วงเวลาทุก ๆ 6 เดือน สามารถช่วยขจัดคราบเหลืองที่เกิดจากหินปูนได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้ฟันขาวขึ้นแล้ว ยังทำให้สุขภาพช่องปากดี ป้องกันโรคทางทันตกรรมอื่นๆ ในอนาคตได้อีกด้วย

ฟอกสีฟัน

การฟอกสีฟัน เป็นการรักษาที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาฟันเหลืองโดยตรง ด้วยการใช้แสงและปฏิกิริยาทางเคมีไปกระตุ้นการแตกตัวของสารเม็ดสีในเนื้อฟัน การฟอกฟันขาว มีทั้งฟอกในคลินิก ใช้เวลาเพียง 1 ชม. มีคุณหมอดูแลให้ทุกขั้นตอน ระบบที่นิยมคือ Zoom! ของ Philips และระบบแสงเย็น Cool Light

นอกจากนี้ยังมีแบบฟอกที่บ้านด้วย คุณหมอจะทำถาดฟอกสีฟัน และเลือกความเข้มข้นของน้ำยาฟอกสีให้ ฟันจะค่อยๆ ขาวขึ้นไปเวลา 1-2 สัปดาห์

การขจัดคราบด้วย AirFlow

ฟันเหลืองที่เกิดจากปัจจัยภายนอกเช่น คราบชากาแฟ หรือบุหรี่นั้น เหมาะมากกับการรักษาด้วย AirFlow ซึ่งเป็นการขจัดคราบติดแน่นบนผิวฟันด้วยการพ่นผงละเอียดทางการแพทย์ด้วยลมความเร็วสูง ซึ่งสามารถทำให้ฟันของคุณขาวสะอาด โดยไม่ทำร้ายผิวเคลือบฟัน มักนิยมทำคู่กับการฟอกสีฟัน

ทำวีเนียร์

การทำวีเนียร์ (Dental Veneer) หรือเคลือบฟันเทียม เหมาะมากสำหรับฟันที่มีปัญหาอื่นๆ นอกเหนือจากฟันเหลือง เช่น รูปร่างของฟันไม่สวยงาม พื้นผิวฟันขรุขระ ความยาวของฟันไม่สมส่วน หากความสมบูรณ์แบบของรอยยิ้มคือสิ่งที่คุณตามหา และอยากออกแบบรอยยิ้มของคุณใหม่ให้มีความสวยงามมากๆ การทำวีเนียร์ก็เป็นตัวเลือกในการรักษาที่ดี

ฟันเหลืองแก้ยังไง แนะนำวิธีรักษาฟันเหลือง

พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดฟันเหลือง โดยเฉพาะในบุคคลที่ฟอกสีฟัน หรือทำวีเนียร์เรียบร้อยแล้ว ได้แก่
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีสีเข้มประเภท ชา กาแฟ หรืออาหารที่มีสีเข้ม เช่น แกงต่าง ๆ เพราะสีจากอาหารสามารถทิ้งคราบไว้บนผิวฟันจนเกิดการสะสม ทำให้ฟันเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้ หรือถ้าหากต้องรับประทานจริง ๆ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสฟันกับอาหารให้ได้มากที่สุด และควรดื่มน้ำหรือแปรงฟันทันทีหลังทานเสร็จ นอกจากนี้ อาหารบางอย่างที่ออกฤทธิ์เป็นกรด เช่น มะนาว โซดา ก็สามารถทำปฏิกิริยากับสารเคลือบผิวฟัน และทำให้ฟันเหลืองได้เช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารจากการเผาไหม้สามารถเกาะตามผิวฟันและทำให้ฟันเปลี่ยนสีได้เช่นกัน
  • แปรงฟันให้ถูกวิธี เพราะการแปรงฟันที่แรงเกินไป หรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงที่แข็งเกินไป สามารถทำให้ผิวฟันเกิดการเสียหายได้

ฟันเหลือง จัดฟันได้ไหม

ฟันเหลือง สามารถจัดฟันได้ แต่ควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อรับการตรวจเช็กสภาพของผิวฟันและทำความสะอาดภายในช่องปาก
ฟันเหลือง สามารถจัดฟันได้ แต่ควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อรับการตรวจเช็กสภาพของผิวฟันและทำความสะอาดภายในช่องปาก ควรเตรียมตัวให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับการจัดฟัน ทั้งการตรวจเช็กฟันผุและการขูดหินปูน เพื่อให้การจัดฟันเป็นไปได้อย่างราบรื่น

สรุป

ฟันเหลือง เป็นปัญหาที่ทำให้หลาย ๆ คนสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งการมีฟันเหลืองมักจะมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารในแต่ละวัน รวมไปถึงสีของกระดูกที่เกิดจากกรรมพันธุ์ด้วย การทำให้ฟันขาวขึ้นจึงเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้หลาย ๆ คนมีความมั่นใจในการพูดและยิ้มมากขึ้นนั่นเอง

 

ส่วนใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากอย่างอื่น เช่น ฟันเหยิน, ฟันซ้อน, ฟันเก ฯลฯ ก็สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการจัดฟันได้ โดยการจัดฟันในปัจจุบันมีด้วยกันหลากหลายวิธี เช่น จัดฟันแบบใส, จัดฟันแบบดามอน เป็นต้น หรือถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการสูยเสียฟันซี่สำคัญไปแล้ว ก็สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้หลายวิธี เช่น การใส่ฟันปลอม การทำสะพานฟัน หรือการทำรากฟันเทียม

 

ซึ่งถ้าสนใจจะทำทันตกรรมไม่ว่าจะด้านใดก็ตามสามารถปรึกษาคลินิกทันตกรรม Smile Seasons ได้เลยที่ LINE @smileseasons.dc หรือโทร 02-114-3274

อ้างอิง

บทความโดย

Picture of  ทพญ.วรรณวนัช สิงห์ทอง

ทพญ.วรรณวนัช สิงห์ทอง

ปริญญาโท สาขาทันตกรรมเพื่อความสวยงามและรากเทียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Certificate of Advance Implantology, UCLA, USA.
ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

รีวิวจากคนไข้ของเรา

Affordable price. Easy to book the appointment. Nearby the skytrain, easy to commute.
Napassorn Thammaviwatnukoon Avatar
Napassorn Thammaviwatnukoon
16 Dec 2023
Love❤️ Dr. Pinmuk Supachaiyakit! The dentist Pinmuk is always so kind, professional, courteous and very informative. The front desk staffs were welcoming and helpful. The dental office was nice and clean. Thanks for thanking care of me and my teeth. I highly recommend Smile Seasons Clinic.
Kanyarat Chotkeattikhun Avatar
Kanyarat Chotkeattikhun
01 Dec 2023
Love❤️ Dr. Pinmuk Supachaiyakit! The dentist Pinmuk is always so kind, professional, courteous and very informative. The front desk staffs were welcoming and helpful. The dental office was nice and clean. Thanks for thanking care of me and my teeth. I highly recommend Smile Seasons Clinic.
Kanyarat Chotkeattikhun Avatar
Kanyarat Chotkeattikhun
01 Dec 2023
The dentists at this clinic are not only skilled but also genuinely caring. During my appointment with Dr. Kanoksiri, I received exceptionally thoughtful treatment and clear, helpful recommendations.
Kanokphol Pansailom Avatar
Kanokphol Pansailom
01 Dec 2023

โปรโมชั่นอื่นๆ

ฟันแท้มีกี่ซี่ ขึ้นตอนไหน

รู้จักกับฟันแท้มีกี่ซี่ เริ่มขึ้นตอนไหน พร้อมวิธีดูแลให้ฟันแข็งแรง

ฟันแท้มีกี่ซี่? มาทำความรู้จักกับฟันแท้ให้มากขึ้น พร้อมเคล็ดลับการดูแลฟันแท้ให้แข็งแรงตั้งแต่เด็ก จนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ที่นี่เลย

Read More »
การเคลือบฟลูออไรด์

เคลือบฟลูออไรด์ ตัวช่วยแก้ปัญหาฟันผุ

การเคลือบฟลูออไรด์คืออะไร? บทความนี้จะพาไปไขข้อข้องใจให้คุณเข้าใจถึงประโยชน์ของการเคลือบฟลูออไรด์ว่าสามารถช่วยป้องกันฟันผุได้จริงหรือไม่?

Read More »
ฟันงุ้มเกิดจากอะไร แก้อย่างไรได้บ้าง

ฟันงุ้มเกิดจากอะไร แก้อย่างไรได้บ้าง

ฟันงุ้มเกิดจากอะไร? บทความนี้รวบรวมคำตอบที่คุณกำลังหา พร้อมอธิบายสาเหตุที่พบบ่อยของปัญหาฟันงุ้ม และวิธีการรักษาที่เหมาะสม ไม่ว่าคุณจะเคยจัดฟันมาแล้วหรือยัง

Read More »
สาเหตุหลักของการเกิดคอฟันสึก

สาเหตุหลักของการเกิดคอฟันสึก พร้อมวิธีรักษา

คอฟันสึก ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป! เรามีคำตอบให้คุณว่าทำไมต้องรีบรักษา และวิธีการรักษาที่เหมาะสม พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพช่องปากให้แข็งแรง อ่านต่อเลย

Read More »

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้